ลำดับที่ 4. วงจรโทนคอนโทรล.....................อย่างง่าย
" แหลมสุด ๆ ทุ้มนุ่มนวล อุปกรณ์น้อยชิ้น เหมาะเป็นโทนชุดแรกของนักสร้างเครื่องเสียง "
ถ้ากล่าวถึงโทนสมัยนี้แล้วทุกคนอาจจะเมินหน้าหนี เพราะปัจจุบันนี้โทนส่วนใหญ่จะฟังเครื่องเสียงแบบตรง ๆ โดยไม่มีวงจรปรับแต่งเสียง คั่นกลาง แต่เคยคิดหรือไม่ว่าการฟังเสียงในระบบนี้ ตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือ ลำโพงถ้าหากลำโพงของคุณ มีความไวในการตอบสนองทุกความถี่ที่ได้ดี ก็ได้เลย แต่ในความเป็นจริง เป็นเรื่องยากที่จะหาลำโพงคุณสมบัติได้อย่างนั้น และอีกวิธีหนึ่งซึ่งผู้ออกแบบวงจรปรับแต่งเสียงในอดีต ใช้ แก้ปัญหา ของการตอบสนองความถี่ของลำโพงในบางเสียงคือ ต้องมีวงจรแต่งเสียง เช่นเพิ่มเสียงแหลม เพิ่มเสียงทุ้ม และต่อจากนี้ไปผมขอเสนอวงจร ปรับแต่งเสียงอย่างง่าย ไม่ซับซ้อนมากซึ่งอุปกรณ์ทุกตัวสามารถลองเปลี่ยนเพื่อทดสอบคุณภาพของเสียงได้ดังรูปที่ 1 การทำงานมี 2 ส่วน คือส่วนของแหล่งจ่ายไฟและโทนคอนโทรลเอง ในส่วนของแหล่งจ่ายไฟ มีไดโอด D1-D4 ต่อแบบบริดจ์เรคติไฟร์ สามารถป้อนได้ AC/DC เข้าได้หลังผ่านไดโอดทั้ง 4 แล้ว มี C12 ทำหน้าที่ฟิลเตอร์แรงดัน จากนั้นจะเข้าวงจรควบคุมแรงดัน โดยมี Q4,ZD1,R14 ,C11 ทำหน้าที่รักษาแรงดันคงที่ จากนั้นจะมี C10 คอยฟิลเตอร์อีกที ทางด้านวงจรการปรับแต่งเสียงสัญญาณอินพุตเข้าทาง VR1,VR2 ผ่าน R1,C1 เข้าขาเบสของ Q2 โดยมี R5,R7 เป็นไบอัสการทำงานและสัญญาณจะผ่านเข้า C2 เข้าวงจรเน็ทเวิร์ค ปรับแต่งเสียงทุ้มแหลมโดยมี VR4, VR5 โดยในส่วนของเสียงแหลมมี R9, C5, VR4 ควบคุม ด้านเสียงเบสมี R8, C3 , C4 ,VR3 ควบคุม จากนั้นสัญญาณที่ได ้จากการปรับแต่งเสียงเบส และเสียงแหลมจะถูกส่งผ่าน C6 และขยายสัญญาณขึ้นอีกทีโดยมี Q3 ซึ่งมี R10-R13 C7 ส่วน C8 เป็นตัวป้อนกลับชดเชยความถี่ จากนั้น จะถูกส่งผ่าน C9 ออกเป็นสัญญาณเอ้าท์พุตที่จะป้อนเข้าเพาเวอร์แอมป์ต่อไป
จุดเด่นของโทนชุดนี้
โทนชุดนี้ปรับแต่งความถี่สูงดีมากใครที่ชอบแหลมมาก ๆ แต่ไม่บาดหู สดใสไม่ผิดหวังแน่ครับ จะเห็นว่าชุดนี้ไม่มีลาวด์เนส เนื่องจากการบูสของ เสียงทุ้มและแหลมดีมากอยู่แล้วเราจึงเอาออก เพื่อความลงตัวของเสียงทุ้มและแหลมจะไม่ถูกบูสมากเกินไปด้วยลาวด์เนส ที่ดีที่สุดของโทนชุดนี้ เห็นจะเป็นอุปกรณ์น้อยราคาถูก เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา เอาไว้ศึกษาวงจรโทนคอนโทรลโดยเฉพาะ เพราะเป็นวงจรพื้นฐานของโทนคอนโทรล ก็ว่าได้ การออกแบบเน้นการใช้งานแบบเปลือยครับ เพราะเราใส่ RCA และ DC แจ็คสะดวกในการเดินสายไปยังจุดที่ต้องการ โดยใช้สาย RCA และ ใช้ แหล่งจ่ายไฟจากอแดปเตอร์ ตัวเล็ก ๆ สัก 500 mA ก็เพียงพอ ถ้าต้องการลงกล่องก็ใช้การบัดกรีต่อสายแทน RCA และ DC แจ็คแทนตามความสะดวก รายการอุปกรณ์