ก่อนจะมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 04:58:23 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ก่อนจะมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน  (อ่าน 8160 ครั้ง)
ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน112
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 19, 2007, 10:49:26 pm »

ผมจะมาเล่าความเป็นมาเล็กๆน้อยๆนะครับก่อนนะครับ
แล้วในโอกาสถัดไปหากมีเวลาผมจะทะยอยเขียนสิ่งที่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ อาทิเช่น
คุณสมบัติของเฟอร์นิเจอร์,การจัดหาเครื่องจักร,การจัดการการผลิต
การจัดการการวางแผนการผลิต ช่วงนี้ก็เป็นพื้นฐานไปก่อนนะครับ

   ก่อนจะมาเป็นเฟอร์นิเจอร์มาประดับตกแต่งภายในบ้าน แน่นอนว่าเราต้องทำการโค่นไม้
บางทีอาจจะถึงขั้นโค่นไม้ทำลายป่าหรือเปล่าผมไม่รู้ครับ แต่ที่แน่ๆ ไม้ยางพาราเป็นไม้เศษฐกิจ
ที่นำเงินตราเข้าประเทศมามากพอสมควร

     รูปนี้เป็นการเลื่อยไม้เป็นบ้องๆตามขนาดความยาวที่ต้องการครับในเขตภาคใต้
ตอนบนนี่จะนิยมตัดความยาวของไม้บ้องที่ขนาด1.30เมตรเป็นหลัก และความยาว
ขนาด1.0เมตรจะอยู่ในพื้นที่ตอนกลางและล่างของภาคใต้ครับ

     เมื่อตัดเป็นบ้อง แล้วก็ต้องถูกส่งมายังโรงแปรสภาพหรือโรงเลื่อยนั่นเองครับ
ในการเลื่อยไม้เป็นขนาดทั่วไปที่เรารู้จักกันเช่น ไม้หนา 6หุน,7หุน,1นิ้วจนถึง 2นิ้ว
บางโรงยังสามารถเลื่อยความหนาที่3นิ้วก็ยังมีครับ ส่วนความกว้างนี่จะเริ่มตั้งแต่ 1.5นิ้ว
ไปจนถึงหน้ากว้าง4นิ้ว (ในสมัยผมยังเป็นเด็กเคยเจอหน้ากว้าง 8นิ้ว-10นิ้วก็ยังมีครับ)

รูปนี้ให้เห็นถึงการแปรรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว

เมื่อแปรสภาพเสร็จจะมีการจัดเรียงเป็นขนาดๆไป

ในตอนนี้ไม้ที่จะนำไปผลิตเฟอร์นิเจอร์จะต้องผ่านกระบวนการนี้ครับเรียกว่า อัดน้ำยา
น้ำยาที่ว่านี้เป็นน้ำยากำจัดมอดและแมลงต่างๆ เห็นหลอดไหมครับนั่นเรียกว่า
ถังอัดน้ำยาครับ ในการอัดน้ำยาที่ดี จะต้องใช้แรงดันที่เหมาะสมกับขนาดของไม้ครับ
โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ180ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และอัดน้ำยาทิ้งไว้ประมาณ30-45 นาที

เหมือนตอร์ปิโดเลยครับ ถังบนเป็นถังเก็บน้ำยา ถังด้านล้างเป็นถังอัดน้ำยาครับ

ที่เห็นเป็นห้องๆนั่นเป็นเตาอบไม้ครับ ปัจจุบันได้พัฒนามาไกลพอสมควรครับ
เมื่อ5ปีที่แล้วผมรับจ๊อบวางระบบเตาอบไม้แบบสุญญากาศให้กับรัฐบาล
และเอกชนของประเทศมาเลเซียครับ ขนาดเตาสุญญากาศ
ขนาดเส่นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เมตร ยาว 24 เมตร เตานี้ต้นฉบับเป็นของนอร์เวย์ครับ

ภาพสุดท้ายของตอนนี้เป็นภาพไม้ยางพาราที่ผ่านกระบวนอารอบแห้งมาแล้วครับ


ขอเชิญทุกท่าน แนะนำ ติ ชม และ ขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้การแนะนำ
จะได้นำไปปรับปรุงในเรื่องอื่นๆ ต่อไป ...

            สวัสดีครับ

          ช้าง ณ.ปากพนัง


บันทึกการเข้า

ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน112
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 20, 2007, 07:14:40 am »

เตาอบไม้ระบบสุญญากาศครับ ติดตั้งกันที่ประเทศมาเลเซียรัฐกลันตัน
เตานี้จะต้องทำงานที่ -1 บาร์ครับ สามารถอบไม้ ได้เร็วมาก
หากเป็นไม้ยางพารานี่ไม่เกิน4วัน
หากเป็นไม้สยาแดงนี่ปกติจะอบกันประมาณเกือบเดือนครับแต่
เมื่อมาใช้เตาอบแบบนี้ร่นระยะลงครึ่งหนึ่งเลยครับ ราคาในการซื้อในช่วงนั้น
8-15 ล้านบาทครับ
บันทึกการเข้า
FIR2029
วีไอพี
member
***

คะแนน19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 839


FIR2029@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 20, 2007, 10:13:50 am »

โอ้  ต้องพึ่งเทคโนโลยีพอสมควรเลยนะครับเนี่ย

ใช่ว่าจะเอาไม้เลื่อยแล้วมาประกอบได้เลย
บันทึกการเข้า

การเสียสละของเราเพียดนิด  อาจเป็นหนทางสว่างของใครหลายๆคน
ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน112
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 20, 2007, 06:24:53 pm »

นี่เป็นพื้นๆนะครับ ยุคสมัยนี้งานเทคโนโลยี่การผลิตได้ปรับตัวไปมาก
เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องใช้คนงานประมาณ 300-500 คน
ลงมาเหลือ ไม่เกิน 30คน(เทคโนโลยี่เยอรมัน) แล้วผมจะเล่าให้ฟังนะครับ
บันทึกการเข้า
prom jantapho
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน413
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4845


ทำดีเท่าที่ทำได้


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 22, 2007, 11:08:06 am »

ไม่ยักกะทราบว่า ช้าง ณ.ปากพนัง  เป็นวิศวะกรติดตั้งเครื่องจักรด้วย
เครื่องที่ว่าท่านมาติดตั้งที่ปัตตานีด้วยหรือเปล่าครับเห็นมีอยู่ด้วย  Grin
บันทึกการเข้า

สามารถติดต่อได้ที่ 0841987970
ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน112
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 26, 2007, 02:04:22 pm »

การที่จะทำให้ไม้แห้งได้เท่าที่ผมศึกษามาก็มีดังนี้นะครับ แต่ผมจะไม่ลงในรายละเอียดนะครับไม่งั้นผมเขียนเป็นตำรา กรรมวิธีการอบไม้ แล้วหล่ะครับ  Grin

1. ใช้สารเคมี (Chemical Seasoning)
2. ใช้ไอสารเคมี (Vapor drying)
3. ใช้ไอน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูง(High temperature drying)
4. ใช้ตัวทำละลาย (Solvent seasoning)
5. ใช้ความถี่ไฟฟ้าสูง (High frequency drying)
6. ใช้ไอน้ำแล้วทำสูญญากาศ (Steaming and vacuum)
7. ใช้การต้มภายใต้สูญญากาศ (Boiling under vacuum)
8. ใช้พัดลม (Fanning)
9. ใช้แสงอินฟาเรด (Infared drying)
10. ใช้แผ่นความร้อน (Hot Plate drying)
บันทึกการเข้า
chomyoung
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 08, 2008, 11:17:57 pm »

ผมก็ทำไม้อยู่ครับ(สงขลา)  ตอนนี้ทำเป็นโรงงานแปรรูปเล็กๆ  แปรรูปเฉพาะไม้นอกประเภทนะครับ พวกสะเดาเทียม  แล้วก็กฐินณรงค์   แต่หาตลาดค่อยยากอยากได้ คำแนะนำหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!