ผมจะมาเล่าความเป็นมาเล็กๆน้อยๆนะครับก่อนนะครับ
แล้วในโอกาสถัดไปหากมีเวลาผมจะทะยอยเขียนสิ่งที่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ อาทิเช่น
คุณสมบัติของเฟอร์นิเจอร์,การจัดหาเครื่องจักร,การจัดการการผลิต
การจัดการการวางแผนการผลิต ช่วงนี้ก็เป็นพื้นฐานไปก่อนนะครับ
ก่อนจะมาเป็นเฟอร์นิเจอร์มาประดับตกแต่งภายในบ้าน แน่นอนว่าเราต้องทำการโค่นไม้
บางทีอาจจะถึงขั้นโค่นไม้ทำลายป่าหรือเปล่าผมไม่รู้ครับ แต่ที่แน่ๆ ไม้ยางพาราเป็นไม้เศษฐกิจ
ที่นำเงินตราเข้าประเทศมามากพอสมควร
รูปนี้เป็นการเลื่อยไม้เป็นบ้องๆตามขนาดความยาวที่ต้องการครับในเขตภาคใต้
ตอนบนนี่จะนิยมตัดความยาวของไม้บ้องที่ขนาด1.30เมตรเป็นหลัก และความยาว
ขนาด1.0เมตรจะอยู่ในพื้นที่ตอนกลางและล่างของภาคใต้ครับ
เมื่อตัดเป็นบ้อง แล้วก็ต้องถูกส่งมายังโรงแปรสภาพหรือโรงเลื่อยนั่นเองครับ
ในการเลื่อยไม้เป็นขนาดทั่วไปที่เรารู้จักกันเช่น ไม้หนา 6หุน,7หุน,1นิ้วจนถึง 2นิ้ว
บางโรงยังสามารถเลื่อยความหนาที่3นิ้วก็ยังมีครับ ส่วนความกว้างนี่จะเริ่มตั้งแต่ 1.5นิ้ว
ไปจนถึงหน้ากว้าง4นิ้ว (ในสมัยผมยังเป็นเด็กเคยเจอหน้ากว้าง 8นิ้ว-10นิ้วก็ยังมีครับ)
รูปนี้ให้เห็นถึงการแปรรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เมื่อแปรสภาพเสร็จจะมีการจัดเรียงเป็นขนาดๆไป
ในตอนนี้ไม้ที่จะนำไปผลิตเฟอร์นิเจอร์จะต้องผ่านกระบวนการนี้ครับเรียกว่า อัดน้ำยา
น้ำยาที่ว่านี้เป็นน้ำยากำจัดมอดและแมลงต่างๆ เห็นหลอดไหมครับนั่นเรียกว่า
ถังอัดน้ำยาครับ ในการอัดน้ำยาที่ดี จะต้องใช้แรงดันที่เหมาะสมกับขนาดของไม้ครับ
โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ180ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และอัดน้ำยาทิ้งไว้ประมาณ30-45 นาที
เหมือนตอร์ปิโดเลยครับ ถังบนเป็นถังเก็บน้ำยา ถังด้านล้างเป็นถังอัดน้ำยาครับ
ที่เห็นเป็นห้องๆนั่นเป็นเตาอบไม้ครับ ปัจจุบันได้พัฒนามาไกลพอสมควรครับ
เมื่อ5ปีที่แล้วผมรับจ๊อบวางระบบเตาอบไม้แบบสุญญากาศให้กับรัฐบาล
และเอกชนของประเทศมาเลเซียครับ ขนาดเตาสุญญากาศ
ขนาดเส่นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เมตร ยาว 24 เมตร เตานี้ต้นฉบับเป็นของนอร์เวย์ครับ
ภาพสุดท้ายของตอนนี้เป็นภาพไม้ยางพาราที่ผ่านกระบวนอารอบแห้งมาแล้วครับ
ขอเชิญทุกท่าน แนะนำ ติ ชม และ ขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้การแนะนำ
จะได้นำไปปรับปรุงในเรื่องอื่นๆ ต่อไป ...
สวัสดีครับ
ช้าง ณ.ปากพนัง