จอแสดงผลแบบหลอดภาพ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 10:48:58 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จอแสดงผลแบบหลอดภาพ  (อ่าน 4286 ครั้ง)
song bk
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2007, 07:17:59 pm »

 Cathode Ray Tube (CRT) – “จอซีอาร์ที” หรือจอแสดงผลแบบหลอดภาพ
          เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี
ค.ศ. 1897 โดย นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Karl Ferdinand Braun โดยพัฒนาเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า
Oscilloscope ที่ใช้เป็นเครื่องวัดค่าสัญญาณทางไฟฟ้า เริ่มผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1922 ในรูปแบบของ จอโทรทัศน์ จนถึงทุกวันนี้     
การทำงานของจอ CRT
จะทำงานอยู่ภายในหลอดสุญญากาศ โดยภายในจะมี Heater Element (ไส้หลอด) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดความร้อนขึ้น ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากวงโคจรรอบนิวเคลียสของอะตอม ในโมเลกุลของก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในหลอดภาพ แล้วจึงถูกสนามไฟฟ้าจากแผ่นโลหะที่มีรูที่เจาะเอาไว้วางอยู่ด้านหน้า element นี้ ซึ่งรับแรงดันไฟฟ้าด้วยแรงดันที่สูง (High Volts) ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกตัวของ ion ของก๊าซเฉื่อย แล้วเกิดการเรืองแสงเป็นสีน้ำเงินขึ้นที่บริเวณผิวหน้าของจอภาพ อันเนื่องมาจากพลังงานของลำอิเล็กตรอนที่พุ่งไปตกกระทบผิวจอ โดยเราควบคุมขนาด และตำแหน่งการตกกระทบของอิเล็กตรอนได้ ด้วยการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือใช้สนามแม่เหล็กคล่อมที่ความกว้างของหลอดภาพ ต่อมาได้พัฒนาให้เพิ่มความสามารถด้านความคมชัด และความละเอียดของสี ด้วยการใช้ปืนอิเล็กตรอน (Electron Gun) พร้อมทั้ง เพิ่มจำนวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นที่บริเวณคอของหลอดภาพ เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนพุ่งผ่านคอไปแล้ว จะถูกควบคุมด้วยการกราดตรวจ (Scan) ลำแสงอิเล็กตรอนในการพุ่งไปตกกระทบผิวจอหลอดภาพ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยการใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าให้เบี่ยงเบนไปตามความต้องการ หลังจากอิเล็กตรอนพุ่งไปตกบนผิวจอภาพ ที่มีการฉาบเคลือบผิวด้วยสารฟอสฟอร์ (Phosphor
– สารเคมีที่จะเรืองแสงเมื่อมีอิเล็กตรอนมาตกกระทบ) ทำให้เกิดเป็นจุดแสงที่สว่างและมืดบนจอได้
สำหรับจอสี ลำของอิเล็กตรอนที่ยิงออกมาก่อนจะถึงฟอสฟอร์จะต้องผ่านส่วนที่เรียกว่า หน้ากาก (Shadow Mask) ซึ่งแผ่นโลหะมีรูอยู่ตามจุดของฟอสฟอร์ เมื่อทำหน้าที่ช่วยให้ลำแสงอิเล็กตรอนมีความแม่นยำสูงขึ้นแล้ว ระยะระหว่างรูบนหน้ากาก (Shadow Mask) ก็คือ ระยะระหว่างแต่ละจุดที่จะปรากฏบนจอด้วย โดยเราจะเรียกว่า dot pitch จอภาพที่มีระยะ dot pitch ต่ำจะมีความคมชัดสูงกว่า
แต่ละจุดบนจอภาพสี จะประกอบด้วยฟอสฟอร์ 3 จุด คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน อย่างละหนึ่งจุด
การยิงอิเล็กตรอนจะเริ่มจากมุมซ้ายบนและไล่ไปตามแนวนอน เมื่อสิ้นสุดจอก็จะกลับไปเริ่มต้นที่แถวถัดไป
ซึ่งการย้ายแนวอิเล็กตรอน จากท้ายแถวหนึ่งไปยังจุดเริ่มต้นของแถวถัดไปนี้ เราเรียกว่า
การกราดตรวจแบบแรสเตอร์ (Raster Scanning)
                                                                                                                    ขอบคุณวรสารซัมซุง


บันทึกการเข้า

kongmee
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 236



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2007, 10:25:52 pm »

 Cheesyได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว Cheesy
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!