มีวิธี ทำ ป๊อปคอน บ้างใหมครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 04:44:03 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มีวิธี ทำ ป๊อปคอน บ้างใหมครับ  (อ่าน 38416 ครั้ง)
rakung
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105


มรสุมคือเกียรติยศ ของนักเดือนเรือ

rakung9@hotmail.com
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2007, 12:06:56 pm »

ท่านใดมี วิธีทำป๊อปคอน  บ้างครับ เศรฐกิจมันซบเซ่าอยากทำเป๊น
อาชีพหลัก และจะเอาอาชีพซ่อมเป็นงานที่รัก  ผมอยากทราบแห่ลง ขายอุปกรณืด้วยครับ เพราะหาไม่ใด้ครับ Grin


บันทึกการเข้า

ชีวิตมันสั้นเกินกว่าจะไล่ตามคนที่ไม่คิดจะมองเรา

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2007, 12:47:11 am »

popcorn นำเข้ามาจากอเมริกาขายเป็นถุงๆละ22.68 kgs ราคา 620 บาท ส่วนมากจะขายส่งถ้าสั่งมากมีส่วนลด
ข้าวโพดคั่ว  (Pop corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  ซี เมย์ส อีเวอร์ตา  Zea mays everta  เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็ก  มีแป้งประเภทแข็งอยู่ภายใน  ภายนอกห่อหุ้มด้วยผิวเหนียวและยืดตัวได้  เมล็ดมีความชื้นภายในอยู่พอสมควร  ถูกความร้อนจะเกิดแรงดันภายในเมล็ดระเบิดตัวออกมาอาจมีลักษณะกลมหรือหัวแหลมก็ได้มีสีต่าง ๆ กัน  เช่น เหลือง  ขาว  ม่วง  เป็นต้น
ร้านจำหน่ายอุปกรณ์  ไทคัง เทรดดิ้ง บจก
8/2-3 ซอยพัฒนเวศม์ 3
10110 Bangkok, ประเทศไทย   Tel:02 - 7112535  02 - 7113697 02 – 7113144
อีกร้านหนึ่ง  ไฟโก บจก  43/524-6 พหลโยธิน
10220 Bangkok, ประเทศไทยTel: 5213824    Fax: 5520833
จำจำหน่าย เครื่องทำข้าวโพดคั่ว  (Popcorn) ติดต่อ คุณ แจ็ค / โทร. 08-9793 -7333
จำหน่าย เครื่องทำข้าวโพดคั่วมือสอง ติดต่อ คุณ เอส / โทร. 08-9793 -7333
ท่านสามารถหาซื้อเครื่องผลิตได้ตามร้านต่างๆ เช่น
1. กล้วยน้ำไทการช่าง
โทร. 0-2249-5620, 0-2249-5235, 0-2671-6844-5
แฟกซ์ 0-2249-5620
2. บริษัท จักรวาลภัณฑ์ จำกัด
โทร. 0-2968-3041-9 แฟกซ์ 0-2526-7918

                     ข้าวโพดคั่วที่มีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวที่เราชอบกินกันนั้นเกิดขึ้นระหว่างที่ให้ความร้อนเมื่อเอนโดสเปิร์ม (endosperm) ได้รับความร้อนแล้วแตกออกมาจากผนังผล (pericarp) หรือผนังเมล็ดข้าวโพดนั่นเอง
        เมื่อเนื้อในเมล็ด (kernel) ได้รับความร้อน น้ำบางส่วนที่เกาะกับเอนโดสเปิร์มจะกลายเป็นไอน้ำ โมเลกุลในสถานะนี้ (ไอน้ำ) จะมีพลังงานมากกว่าและมีการชนกับผนังผลบ่อยครั้งทำให้เกิดแรงดันขึ้น นอกจากนี้เอนโดสเปิร์มยังมีแป้ง (starch) อีกด้วย เมื่อเนื้อในเมล็ดได้รับความร้อนแล้ว แป้งจะกลายเป็นของเหลวแล้วเยลลี่ (jelly) มากขึ้น ที่อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ผนังผลจะแตกออก (ทำให้เกิดเสียง "ป๊อป" ขึ้นมา) และความดัน ไอน้ำ และแป้งจะออกมา การลดอุณหภูมิและการแห้งอย่างรวดเร็วของแป้งจะทำให้เกิดข้าวโพดคั่วที่มีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวขึ้นมา แต่ถ้าคุณลองเจาะรูตามเมล็ดข้าวโพดหรือใช้ความร้อนสูงๆ เช่น 200 C เป็นเวลา 90 นาทีก่อนคั่วจะทำให้เราไม่ได้ข้าวโพดคั่วตามต้องการ เพราะความดันและไอน้ำจะออกตามรูที่เราเจาะอย่างรวดเร็วและปริมาณน้ำที่มีอยูในเมล็ดมีน้อยเกินไป
เมื่อเอนโดสเปิร์มภายในเมล็ดข้าวโพดคั่วแตกออกมาแล้ว ความร้อนจะทำให้ข้าวโพดคั่วแห้ง เนื่องจากแป้งที่แตกออกมาไม่มีน้ำอยู่เลย มันจะดูดน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ข้าวโพดคั่วนิ่มและติดกับลิ้นหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่มีความชุ่มชื้นหรือมีน้ำอยู่

         เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ถ้าคุณทำข้าวโพดคั่วในภาชนะเปิด ข้าวโพดคั่วที่ได้จะนิ่ม เหนียว ไม่อร่อย และไม่เหนียวติดลิ้นเรา เนื่องมาจากว่ามันดูดความชื้นจากอากาศนั่นเองครับ
กรุบๆ กรอบๆ ยิ่งเคี้ยวยิ่งมันจริงๆ สำหรับอาหารว่างยอดนิยม ป๊อปคอร์น หรือ ภาษาไทยก็คือ "ข้าวโพดคั่ว"

ต้นกำเนิดของข้าวโพดคั่วมีที่มาจากชาวอินเดียนแดง ทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดนานาชนิด สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่เมื่อ 5,600 ปีมาแล้ว
คนอินเดียนแดงได้แบ่ง ข้าวโพดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ข้าวโพดหวานสำหรับรับประทานโดยทันที ข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดอินเดียน ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ มีปริมาณน้ำในเมล็ดข้าวโพดมาก ทำไห้เมื่อนำไปคั่วแล้ว น้ำในเมล็ดข้าวโพดจะขยายตัวเป็นไอ ทำให้เมล็ดข้าวโพดแตกฟูเป็นสีขาว
วิธีคั่วข้าวโพดที่คนอินเดียนแดงคิดค้นขึ้นมี 3 วิธีด้วยกันคือ
วิธีแรก นำข้าวโพดอินเดียนแดงทั้งฝักมาเสียบไม้ แล้วปิ้งบนกองไฟ จากนั้นคอยเก็บรวบรวมเมล็ดข้าวที่กระเด็นออกมา
วิธีที่ 2 คือ แกะเมล็ดข้าวโพดออกจากฝักก่อนแล้วจึงโยนเข้ากองไฟอ่อนๆ
วิธีที่ 3 จะยุ่งยากกว่า 2 วิธีแรก คือจะเริ่มจากการคั่วทรายในหม้อให้ร้อนแล้วจึงใส่เมล็ดข้าวโพดลงไป ข้าวโพดที่แตกแล้วจะกระเด็นขึ้นมาบนผิวหน้าของทราย
จนในปี 1907 มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ทำข้าวโพดคั่วขึ้น แรกๆ นั้นตัวเครื่องมีขนาดใหญ่และไม่ค่อยจะปลอดภัยเท่าไหร่ ต่อมาก็มีการพัฒนาการตัวเครื่องให้เล็กลง มีความปลอดภัยสูงและใช้งานได้ง่าย
จนในปี 1907 มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ทำข้าวโพดคั่วขึ้น แรกๆ นั้นตัวเครื่องมีขนาดใหญ่และไม่ค่อยจะปลอดภัยเท่าไหร่ ต่อมาก็มีการพัฒนาการตัวเครื่องให้เล็กลง มีความปลอดภัยสูงและใช้งานได้ง่าย
เมื่อมีเครื่องทำข้าวโพดคั่วแล้วก็ทำให้การทำข้าวโพดคั่วง่ายขึ้น แถมข้าวโพดยังมีราคาถูกอีกด้วย คนอเมริกันจึงนิยมรับประทานข้าวโพดคั่วมากขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930 อันเป็นยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ โดยต่อมาในปี 1947 โรงภาพยนตร์หลายโรงในสหรัฐฯ เริ่มนำข้าวโพดคั่วมาขายอย่างแพร่หลาย ทำให้ธุรกิจการทำข้าวโพดคั่วกลายเป็นธุรกิจใหญ่ทำเงินได้มาก เป็นผลดีต่อทั้งชาวนาผู้ปลูกข้าวโพดและต่อผู้ทำธุรกิจข้าวโพดคั่ว
                    นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสค้นพบหลักฐานข้าวโพดคั่วในซากเมืองโบราณหลายแห่งเช่น เมืองอินคาในอเมริกาใต้ โดยพบหม้อดินปั้นพิเศษสำหรับคั่วข้าวโพด โดยฝังหม้อในทรายที่ร้อนจัด จากนั้นโรยเมล็ดข้าวโพดลงไปแล้วปิดฝา ความร้อนจากทรายทำให้ข้าวโพดแตกกลายเป็นข้าวโพดคั่ว
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำข้าวโพดคั่วมาร้อยเป็นเครื่องประดับสำหรับหัวหน้าเผ่าหรือนักรบ แม้แต่ในเม็กซิโกปัจจุบันยังมีการนำพวงข้าวโพดคั่วมาประดับเทวรูปด้วย
                  ชาวพื้นเมืองอเมริกันเป็นผู้พัฒนารูปแบบข้าวโพดคั่วอย่างเป็นทางการมากว่าพันปีแล้ว และแพร่หลายในยุโรปราวศตวรรษที่ 15 เมื่อโคลัมบัสบันทึกไว้ว่าชนพื้นเมืองอเมริกานำช่อดอกไม้และเครื่องประดับศีรษะที่ทำด้วยข้าวโพดคั่วมาขายลูกเรือของเขา 
                 ในปลายศตวรรษที่ 19 อเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการจำหน่ายข้าวโพดคั่วเป็นธุรกิจ ข้าวโพดที่จะนำมาทำข้าวโพดคั่วต้องเป็นพันธุ์พิเศษโดยเฉพาะ เรียกว่า Zea mays L. Var. everta เมล็ดมีเปลือกแข็ง แต่เนื้อในเมล็ดนุ่ม
                 มีการปลูกข้าวโพดเป็นการค้าสำหรับข้าวโพดคั่วครั้งแรกในอเมริกา ราวปี ค.ศ.1887 ส่วนเครื่องทำข้าวโพดคั่วเกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1885 โดยนายชาลส์ เครเตอส์ ชาวเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ต่อมาปี ค.ศ.1925 มีการผลิตเครื่องคั่วข้าวโพดแบบไฟฟ้าเป็นผลสำเร็จ ลักษณะเป็นเครื่องแก้วและเครื่องไฟฟ้าสีโครเมียม ทำให้ข้าวโพดคั่วได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นไปอีก
                  ประกอบกับเมื่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ในอเมริกาเติบโตในช่วงศตวรรษที่ 20 มีการเปิดโรงภาพยนตร์หลายแห่ง และมีการนำเครื่องทำข้าวโพดคั่วไปทำข้าวโพดคั่วขายให้แก่ผู้เข้าชมในโรงด้วย โดยเริ่มนำมาขายในปีค.ศ. 1912 เป็นต้นมา ทำให้ข้าวโพดคั่วกลายเป็นสัญลักษณ์ควบคู่กับความบันเทิงในรูปแบบนี้จนกระทั่งปัจจุบัน และเมื่อโทรทัศน์เริ่มแพร่หลาย กินข้าวโพดคั่วหน้าจอโทรทัศน์ก็ยังเป็นที่นิยมของชาวอเมริกันด้วย 
                   ของอร่อยๆ อย่างนี้ ในไทยก็ฮิตไม่แพ้เขาเหมือนกัน แต่โปรดระวังความอ้วนให้ดี เพราะมีทั้งเนยและแป้ง

              ส่วนผสม ข้าวโพดหวาน
ข้าวโพดเมล็ดแห้ง    1 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย    1 ถ้วยตวง
เกลือ    1/2 ช้อนโต๊ะ
เนยหรือมาการีน    2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.   คั่วข้าวโพดให้เมล็ดแตกเป็นดอก
2.   ผสมน้ำตาลทราย เกลือ และเนยเข้าด้วยกัน เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนเหนียว
3.   นำมาราดบนข้าวโพดคั่ว คลุกให้น้ำตาลเคลือบทั่วกัน ผึ่งไว้พอเย็น จึงบรรจุถุงพลาสติก หรือภาชนะที่แห้งสะอาด ปิดสนิท
             ข้าวโพดคั่วเค็ม
ข้าวโพดเมล็ดแห้ง    1 ถ้วยตวง
เกลือ    1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ    1/2 ถ้วยตวง
วิธีทำ
1.   คั่วข้าวโพดให้เมล็ดแตกเป็นดอก
2.   ต้มเกลือกับน้ำพอเดือด กรองแล้วนำมาพรมบนข้าวโพดคั่วให้ทั่ว นำมาคั่วอีกครั้ง เพื่อให้น้ำเกลือแห้งเร็ว ข้าวโพดจะกรอบ
3.   บรรจุใส่ถุงพลาสติก หรือภาชนะที่แห้ง สะอาด ปิดสนิท
   การจำแนกทางพฤกษศาสตร์
          การจำแนกแบบนี้ถือเอาลักษณะของแป้งและเปลือกหุ้มเมล็ดเป็นหลัก จำแนกออกเป็น ๗ ชนิด คือ
          (๑) ข้าวโพดหัวบุบ (dent corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส อินเดนทาทา (Zea  mays  indentata)  เมล็ดตอนบนมีรอยบุ๋ม เนื่องจากตอนบนมีแป้งอ่อนและตอนข้าง ๆ เป็นแป้งชนิดแข็ง เมื่อตากเมล็ดให้แห้ง แป้งอ่อนจะยุบหดตัวลง จึงเกิดลักษณะหัวบุบ ดังกล่าว ขนาดของลำต้น ความสูง เหมือนข้าวโพดไร่ทั่ว ๆ ไป สีของเมล็ดอาจเป็นสีขาว สีเหลือง หรือสีอื่น ๆ  แล้วแต่พันธุ์ นิยมปลูกกันมากในสหรัฐอเมริกา
          (๒) ข้าวโพดหัวแข็ง (flint corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส อินดูราทา (Zea  mays indurata) เมล็ดมีแป้งแข็งห่อหุ้มโดยรอบ หัวเรียบไม่บุบ  เมล็ดค่อนข้างกลม มีปลูกกันมากในเอเชียและอเมริกาใต้  ข้าวโพดไร่ของไทยที่นิยมปลูกกันอยู่เป็นชนิดนี้ทั้งสิ้น  สีของเมล็ดอาจเป็นสีขาว สีเหลือง สีม่วง หรือสีอื่นแล้วแต่ชนิดของพันธุ์
          (๓) ข้าวโพดหวาน (sweet corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส  แซคคาราทา (Zea mays saccharata) นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย  เพื่อรับประทานฝักสด เพราะฝักมีน้ำตาลมาก ทำให้มีรสหวาน เมื่อแก่เต็มที่หรือแห้งเมล็ดจะหดตัวเหี่ยวย่น เนื่องจากน้ำตาลไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแป้งได้ (รายละเอียดอ่านเรื่องข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อน)
          (๔) ข้าวโพดคั่ว  (pop  corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส อีเวอร์ทา (Zea mays everta) เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีแป้งประเภทแข็งอยู่ใน  ภายนอกห่อหุ้มด้วยเยื่อที่เหนียวและยืดตัวได้ เมล็ดมีความชื้นภายในอยู่พอสมควร เมื่อถูกความร้อนจะเกิดแรงดันภายในเมล็ดระเบิดตัวออกมา  เมล็ดอาจมีลักษณะกลมหรือหัวแหลมก็ได้ มีสีต่าง ๆ กัน เช่น เหลือง ขาว ม่วง
          (๕) ข้าวโพดข้าวเหนียว (waxy corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส เซอราทินา (Zea mays ceratina) เมล็ดมีแป้งอ่อนคล้ายแป้งมันสำปะหลัง  นิยมปลูกเพื่อรับประทานฝักสดคล้ายข้าวโพดหวาน แม้จะไม่หวานมาก แต่เมล็ดนิ่ม รสอร่อย ไม่ติดฟัน  เมล็ดมีสีต่าง ๆ  กัน เช่น  เหลือง ขาว ส้ม ม่วง หรือมีหลายสีในฝักเดียวกัน
          (๖) ข้าวโพดแป้ง (flour corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  ซี เมย์ส อะมิโลเซีย (Zea  mays  amylocea) เมล็ดประกอบด้วยแป้งชนิดอ่อนมาก เมล็ดค่อนข้างกลม  หัวไม่บุบ  หรือบุบเล็กน้อย  นิยมปลูกในอเมริกาใต้  อเมริกากลาง และสหรัฐอเมริกา ชาวอินเดียนแดงนิยมปลูกไว้รับประทานเป็นอาหาร
          (๗) ข้าวโพดป่า  (pod  corn) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส ทูนิกา (Zea mays tunica)  มีลักษณะใกล้เคียงข้าวโพดพันธุ์ป่า มีลำต้นและฝักเล็กกว่าข้าวโพดธรรมดา  ขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็กเท่า ๆ กับเมล็ดข้าวโพด  มีขั้วเปลือกหุ้มทุกเมล็ด และยังมีเปลือกหุ้มฝักอีกชั้นหนึ่ง  เหมือนข้าวโพดธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมล็ดมีลักษณะต่าง ๆ กัน  ข้าวโพดชนิดนี้ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปลูกไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2007, 12:49:22 am »

มาแล้วๆๆๆ ซิงค์เกอร์   Grin
บันทึกการเข้า
TongTang-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน985
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3404



« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2007, 12:59:12 am »

 Lips Sealed  กลับมาแล้วครับเชพใหญ่..  Embarrassed

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!