ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:04:45 am » |
|
ว่าจะไม่เขียนบทความนี้แล้ว เพราะคิดว่าเพื่อนช่างหลายท่านคงชำนาญดีอยู่แล้ว .. แต่ก็ยังมีสมาชิกมือใหม่บางท่านไต่ถามมา จึงนำมาลงให้เพื่อเพิ่มความรอบรู้แก่ช่างมือใหม่นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:12:53 am » |
|
งานบัดกรีคงหนีไม่พ้นเครื่องมือให้ความร้อนแก่ชิ้นงานเพื่อให้ถึงจุดหลอมเหลวของวัสดุยึดติดที่นียมใช้ เช่นตะกั่ว ..เงิน 1.หัวแร้ง (solder iron) คือเครื่องมือชิ้นแรกที่แนะนำ ..ในงานซ่อมทีวีสมัยนี้ไม่นิยมใช้หัวแร้งปืน เพราะอุปกรณ์เล็กกว่าสมัยก่อน และประกอบบนpcb.ที่ทนความร้อนสูงมากนักไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมใช้หัวแร้งแช่ ปลายแหลมดังภาพ ..หัวแร้งที่ใช้ควรมีขนาดวัตต์30-100วัตต์ 30วัตต์จะใช้ในงานบัดกรีงานชื้นเล็ก 100วัตต์จะใช้ในงานบัดกรีงานชื้นใหญ่หรือดูดตะกั่ว ..หัวแร้งควรเลือกใช้ของดีๆพอสมควร จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ปลายสึกช้า ได้คุณภาพจุดบัดกรีที่ดี ในภาพเป็นยี่ห้อ HAKKO ของแท้ ตัวสีแดง30วัตต์ประมาณ200กว่าบาท ตัวสีฟ้าปกติจะ 30 วัตต์แต่เมื่อกดสวิทซ์สีเหลืองจะได้ 100 วัตต์ตัวนี้ราคาประมาณ500กว่าบาท .
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:15:58 am » |
|
และควรจะมีแท่นวางหัวแร้ง หาซื้อได้หลายแบบตามใจชอบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:29:53 am » |
|
เมื่อปลายหัวแร้งใช้งานนานๆปลายหัวแร้งมักสกปรก ห้ามใช้กระดาษทรายขัดปลายหัวแร้งเพราะจะทำให้สารเคลือบแข็งเสื่อมสภาพ ใช้งานไม่นานปลายหัวแร้งจะกุดครับ ... วิธีง่ายที่สุดเสียบหัวแร้งให้ร้อน แล้วใช้ทิชชูเช็ดเบาๆก็เพียงพอ หรือบางท่านจะเช็ดกับฟองน้ำเปียกหมาดๆที่แถมมากับฐานวางหัวแร้งก็ได้ ปลายหัวแร้งที่พร้อมใช้งาน ควรมีปลายแหลมไม่บิ่น มีตะกั่วเคลือบเป็นมัน ไม่มีเศษสกปรกเกาะปลายหัวแร้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:31:40 am » |
|
ในกรณีที่ซื้อหัวแร้งมาใหม่ หรือปลายหัวแร้งสกปรก ให้ไล้ปลายหัวแร้งด้วยตะกั่วก่อนใช้งาน ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:41:14 am » |
|
2. ตะกั่วบัดกรี..นิยมใช้ 2 ขนาดคือเส้นเล็กและเส้นใหญ่ (ในภาพเป็นชนิดเส้นใหญ่) ตะกั่วบัดกรีทำจากตะกั่วและดีบุก เพราะมีจุดหลอมละลายต่ำกว่าโลหะชนิดอื่น ตะกั่วบัดกรี 60/40 มีส่วนผสมของดีบุก 60% และตะกั่ว 40 % ในภาพเป็นตะกั่วที่มีฟลั๊กอยู่ในแกนแล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้ฟลั๊กภายนอกให้เลอะเทอะอีกต่อไป..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:53:48 am » |
|
3.ลวดซับตะกั่ว
..จุดประสงค์เพื่อซับตะกั่วออกจากจุดบัดกรี อาจจะเพื่อถอดอุปกรณ์ หรือบัดกรีเลอะเทอะ ออกจากแผ่นปริ๊นท์..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:56:39 am » |
|
ไม่จำเป็นต้องหาซื้อลวดซับตะกั่วสำเร็จที่วางขาย เพราะราคาแพง หรือบางครั้งหาซื้อไม่ได้ .. ..วิธีทำลวดซับตะกั่วใช้เอง ใช้สายRG58เหมาะสมดี เพราะเปลือกโลหะชิลด์ไม่เล็ก-ใหญ่เกินไป วิธีทำดังภาพครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 11:59:39 am » |
|
จากนั้นรีดลวดให้แบน จุ่มในน้ำยายางสน เท่านี้ก็จะได้ลวดซับตะกั่วใช้งานแล้วครับ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:03:58 pm » |
|
4.ยางสน..เป็นยางของต้นสน ช่วยในการบัดกรีให้ง่ายขึ้น และช่วยเคลือบงานบัดกรีหรือลายทองแดงไม่ให้หมองเพราะเกิดออกไซต์ ยางสนหาซื้อได้ที่ร้านขายยาแผนโบราณ หรือร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างบางแห่งก็มีขาย ..วิธีนำมาใช้ ให้ผสมกับทินเนอร์ ในอัตราส่วนยางสน 1 ส่วน ทินเนอร์ 4 ส่วนโดยประมาณ(แล้วแต่ต้องการความเข้มข้น) ทิ้งไว้ประมาณ1ชั่วโมงก็พร้อมนำมาใช้ครับ ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:18:12 pm » |
|
5.ทินเนอร์..เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี แต่สารระเหยอย่าสูดดมเพราะสารพิษชนิดหนึ่ง ประโยชน์ในงานซ่อมเช่นล้างแผ่นปริ๊นท์ให้สะอาด ,ผสมกับยางสนเป็นตัวช่วยงานดูดซับตะกั่ว .. ..การใช้งานควรแบ่งใส่ขวดหรือกระป๋องเล็กๆ และมีฝาปิดกันการระเหย ..ทินเนอร์จัดเป็นสารไวไฟ ควรหลีกเลี่ยงความร้อนและประกายไฟ หลังเลิกงานควรจัดเก็บให้เรียบร้อยพ้นมือเด็ก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:26:26 pm » |
|
6.เครื่องดูดตะกั่ว..ปัจจุบันมีราคาถูก 30-100 บาทก็พอใช้งานครับ.. เลือกซื้อได้ตามต้องการ .. ใช้ดูดตะกั่วได้ดีเช่นกัน แต่ไม่เหมาะกับลายปริ๊นท์ขนาดเล็ก เพราะบางครั้งผู้ดูดตะกั่วจ่อปลายหัวดูดแนบชิ้นงานเกินไปจะทำให้ลายปริ๊นท์ขาดได้ ..ข้อควรระวัง เศษผงตะกั่วที่ดูดออกมาจากงานซ่อม ต้องจัดทิ้งอย่าให้ตกบนพื้นโต๊ะซ่อมหรือชิ้นงาน หากตกในแผ่นปริ๊นท์จะทำให้ลัดวงจรได้ และเศษผงตะกั่วบางชิ้นมีขนาดเล็กมากอย่าให้เข้าระบบทางเดินอาหาร ตะกั่วเป็นโลหะหนักสามารถละลายเข้าเส้นเลือดของคน จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:34:32 pm » |
|
จัดเก็บอย่างนี้ก็จะช่วยให้เศษตะกั่วไม่เรี่ยราด โต๊ะทำงานสะอาดปราศจากจากเศษผงตะกั่ว ..เมื่อช่างจิตใจแจ่มใส งานซ่อมก็มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:47:23 pm » |
|
7.เครื่องเป่าลมร้อนในเครื่องใช้อิเล็กฯสมัยใหม่มักใช้อุปกรณ์ติดตั้งบนผิวหน้าปริ๊นท์ SMD(SurFace Mount Device Components ) อย่างยิ่งอุปกรณ์ที่มีหลายขาเช่น ic cpu ควรมีเครื่องมือช่วยถอด เครื่องเป่าลมร้อนจะนำมาใช้ในงานนี้..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:48:56 pm » |
|
หัวแร้งปลายจิ๋วที่แถมมากับเครื่องเป่าลมร้อนสามารถปรับระดับความร้อนให้เหมาะกับงาน.. ใช้การได้ดีทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:50:12 pm » |
|
ชุดนี้สำหรับเป่าลมร้อน .. สามารถเปลี่ยนหัวให้เหมาะสมกับชิ้นงานได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2007, 12:55:49 pm » |
|
เกือบลืมอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ด้อยราคาแต่มากด้วยประโยชน์ครับ นั่นคือ ...พู่กัน ครับ อิๆ ..บางท่านหาพู่กันไม่ได้ ก็ใช้แปรงทาสีขนาดเล็กหรือแปรงสีฟันแทนก็ได้ ชอบอย่างไหนใช้อย่างนั้น .. ..แปรงเล็กๆนี้ จะใช้ล้างเศษคราบสกปรกออกจากแผ่นปริ๊นท์หลังหรือก่อนบัดกรี โดยใช้ทินเนอร์เป็นตัวชำระล้างเศษสกปรก หลังจากสิ้นสุดงานบัดกรีแล้วควรจะล้างปริ้นท์ให้สะอาดทุกครั้ง จะเป็นการยกระดับฝีมือในงานซ่อมของตัวท่านเองได้อีกทางครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
prom jantapho
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
คะแนน 413
ออฟไลน์
กระทู้: 4845
ทำดีเท่าที่ทำได้
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2007, 01:49:07 pm » |
|
เกือบลืมอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ด้อยราคาแต่มากด้วยประโยชน์ครับ นั่นคือ ...พู่กัน ครับ อิๆ ..บางท่านหาพู่กันไม่ได้ ก็ใช้แปรงทาสีขนาดเล็กหรือแปรงสีฟันแทนก็ได้ ชอบอย่างไหนใช้อย่างนั้น .. ..แปรงเล็กๆนี้ จะใช้ล้างเศษคราบสกปรกออกจากแผ่นปริ๊นท์หลังหรือก่อนบัดกรี โดยใช้ทินเนอร์เป็นตัวชำระล้างเศษสกปรกครับ ในส่วนผมที่ใช้อยู่คือแปลงสีฟันเก่าครับ สามารถถูได้สะอาดหมดจดเหมือนกัน แล้วใครจะเลือกใช้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สามารถติดต่อได้ที่ 0841987970
|
|
|
TW99
member
คะแนน 10
ออฟไลน์
กระทู้: 87
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2007, 11:49:11 am » |
|
กลเม็ดเคล็ดลับที่มีค่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ความรู้ไม่มีวันหมด
|
|
|
drdr61♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
คะแนน 292
ออฟไลน์
กระทู้: 2663
ดูสิ่งที่มากระทบใจ อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: มกราคม 19, 2008, 09:03:22 am » |
|
ไม่มีแว่นขยายแบบติดกับตาเหรอครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนเราต่างที่มา ต่างที่ไป ย่อมคิดและทำอะไรที่ต่างกัน ยอมรับและเข้าใจ จะสงบสุข ขายอุปกรณ์ไวเลส และสายอาศไวเลส wifi
|
|
|
sor_mix
member
คะแนน 1
ออฟไลน์
กระทู้: 34
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2008, 08:30:35 pm » |
|
ขอบคุณมากๆครับ แจ่มเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
fanfan
member
คะแนน 2
ออฟไลน์
กระทู้: 41
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2008, 09:19:52 am » |
|
ขอบคุณ คุณเล็ก มากครับ ที่เห็นความสำคัญมือใหม่หรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง บทความมีประโยชน์มากครับอยากให้มีบทความอื่นๆอีก เช่น พื้นฐานการซ่อมพัดลม ตู้เย็น ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในบอร์ด ณ ปัจจุบันไม่สมบูรณ์ เนื่องจากโหลดภาพไม่ได้แล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
santiu10
member
คะแนน 3
ออฟไลน์
กระทู้: 36
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: เมษายน 09, 2008, 03:34:54 am » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 09, 2008, 08:11:00 am » |
|
แสดงการใช้หัวเป่าลมร้อน และใช้หัวแร้งธรรมดาในการถอด หากไอซีติดกาวไว้จะถอดยากกว่าอาจใช้เส้นลวดเล็กๆสอดใต้ขาไอซี เมื่อให้ความร้อนจนกระทั่งตะกั่วละลายแล้ว ค่อยๆยกเส้นลวดออกช้าๆขาไอซีก็จะหลุดจากจุดบัดกรีตามมา http://www.leksound.net/EON49%20FLASH/4-51/solder/5.swf
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: เมษายน 09, 2008, 08:12:32 am » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
คะแนน 1346
ออฟไลน์
กระทู้: 18843
คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: เมษายน 09, 2008, 11:12:35 am » |
|
ก่อนบัดกรีไอซี ..ล้างจุดบัดกรีให้สะอาดด้วยทินเนอร์และใช้น้ำยายางสนผสมทินเนอร์ลงให้ทั่วจุดบัดกรีก่อนนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
คะแนน 808
ออฟไลน์
กระทู้: 3581
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2008, 10:11:47 am » |
|
มีประโยชน์ดี ครับดีมากๆๆ เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
taoybb
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2008, 10:20:39 pm » |
|
แต่ที่พี่บอกว่าลวดซับตะกั่วราคาแพง ผมว่าไม่แพงนะครับ อมร ขายขดละ 20-25บาทเอง ใช้ดีด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|