เรื่องของลำโพงและการต่อใช้งาน...
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 08:18:58 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของลำโพงและการต่อใช้งาน...  (อ่าน 9912 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 12:14:08 pm »

ลำโพงเป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ลำโพงมีหลายแบบ

ซึ่งมีหลักการและโครงสร้างแตกต่างกัน ลำโพงที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้คือ แบบไดนามิค

(Dynamic Speaker) 6.11.1 ชนิดของลำโพง ลำโพงในปัจจุบัน แบ่งกว้างๆ ได้ดังนี้

1) ลำโพงฮอร์น (Horn) ลำโพงประเภทนี้ใช้พวำฟเบอร์หรือพวกโลหะเป็นแผ่นสะเทือน

(Voice Coil) จึงทำให้เกิดเสียงดังมากและลำโพงปากแตร ลำโพงประเภทนี้มีความทนทาน

ต่อการใช้งานหนักได้เป็นอย่างดี ทนแดดทนฝน (แต่ต้องระวังไม่ให้ส่วนที่เป็นลำโพงตก

กระแทกแรงๆ จะทำให้แม่เหล็กภายในลำโพงบิดงอ ซึ่งจะทำให้ลำโพงขาดบ่อย )

จึงเหมาะกับการใช้งานกลางแจ้งหรืองานกระจายเสียงสาธารณะที่ต้องการความดังไกล

2) ลำโพงกรวยกระดาษ ( Paper Cone Speaker ) ลำโพงประเภทนี้มีใช้ตามเครื่องรับวิทยุ

ทั่วๆ ไป หรือนำมาใส่ไว้ในตู้เย็นเพื่อตั้งกับพื้นหรือตั้งโต๊ะ หรือติดตามฝา ลำโพงแบบนี้ทำไว้

สำหรับรับคลื่นความถี่แต่ละช่วงเช่น Woofer (วูฟเฟอร์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ต่ำได้ดี

จึงเรียกว่าลำโพงเสียงทุ้ม Mid range (มิดเรนจ์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ในช่วงกลางๆ

จึงเรียกว่าเสียงกลาง Tweeter (ทวีตเตอร์) ตอบสนองคลื่นคามถี่สูงได้ดี ลำโพงแบบนี้ส่วนมาก

มีขนาดเล็กเราเรียกว่าลำโพงเสียงแหลม

6.11.2 การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1) ความสามารถในการรับความดังของลำโพงมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt (W))

ความสามารถในการรับ ความดังของลำโพง หมายความว่า ที่ลำโพงจะมีตัวเลขบอกไว้ว่า

40W หรือ 60 W หรือ 100W การต่อลำโพงจะต้องคำนึงถึงตัวเลขเหล่านี้คือ

ถ้าเครื่องขยายเสียงของเรามีความดัง 100W เราต้องใช้ลำโพงซึ่งรวมกันแล้วได้ 100 W

หรือมากกว่านี้ จะใช้น้อยกว่าไม่ได้ จะทำให้ลำโพงขาดได้ในกรณีนี้ต้องใช้ลำโพง 40W ถึง 3 ตัว

หรือใช้ลำโพง 6W อย่างน้อย 2 ตัว

2) ความต้านทานของลำโพง ความต้านทานของลำโพง หมายความว่า ความต้านทานในการ

ไหล ของกระแสไฟฟ้า (ซึ่ง Watt ของเครื่องขยายเสียงคงที่) ถ้าความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้า

จะไหลได้มากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าคามต้านทานมากกระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง

ที่เครื่องขยายจะมีจุดความต้านทานให้เลือกต่อ เราจะต้องต่อให้ความต้านทานของ

เครื่องขยายเสียงเท่ากับความต้านทานของลำโพงหรือมากกว่า การคำนวณความต้านทาน

ของลำโพงคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้

วิธีต่อลำโพง การต่อลำโพงเพื่อใช้งานทำได้ 3 วิธีคือ

1) การต่อแบบขนาน คำนวณได้จากสูตร

R = 1/R1 + 1/R2 +1/R3 - - - - - - - - - - - + 1/Rn

เช่น ลำโพง 16 ohm 4 ตัว ถ้าต่อแบบขนาน จะต้องต่อที่เครื่องเสียงกี่โอห์ม?

1/R = 1/16 + 1/16 + 1/16 + 1/16 - - - - - - - - - = 4/16 R = 16/4 = 4 ต้องต่อที่ขยาย 0

โอห์ม และ 4 โอห์ม

หมายเหตุ การต่อลำโพงแบบขนานนี้ถ้าตัวใดตัวหนึ่งขาดตัวอื่นก็ยังคงดังอยู่

2) ต่อแบบอนุกรม คำนวณได้จากสูตร

R = 8 + 8 = 16 โอมห์ ต้องต่อเครื่องขยายที่จุด 0 โอมห์ และ 16 โอมห์

หมายเหตุ การต่อแบบอนุกรม ถ้าลำโพงตัวใดตัวหนึ่งไม่ดังหรือขาด ลำโพงตัวอื่นก็

ไม่ดังด้วย


3) การต่อแบบผสม คำนวณโดยใช้สูตรแบบขนานและแบบอนุกรม ถ้าส่วนใดต่อแบบขนาน

ก็ใช้สูตรแบบขนานส่วนใดต่อ แบบอนุกรมก็ใช้สูตรการต่อแบบอนุกรม เช่น ลำโพง 8 โอมห์ 4 ตัว

ควรต่อแบบใดจึงจะได้ค่าความต้านทานของลำโพงและเครื่องขยายตรงกันหรือใกล้เคียงกันที่สุด อธิบาย ถ้าต่อแบบขนานทั้งหมดทั้งหมดจะได้ 1/R = 1/8 +1/8 + 1/8 +1/8 =4/8 =2 โอมห์

(ต่อที่ 0 กับ 4 โอห์มได้) ถ้าต่อแบบอนุกรมจะได้ R = 8+8+8+8=32 โอมห์ ซึ่งอาจจะไม่มีที่ต่อ

ควรแบ่งลำโพงนี้ออกเป็น 2 ชุด ๆ ละ 2 ตัว โดยให้แต่ละ ตัวต่ออนุกรมกันแล้วนำมาต่อแบบขนาน

ดังรูป 

นำเอาชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มาต่อขนานกันจะได้ 1/R = 1/16+1/16=8 โอมห์

หมายเหตุ ที่ต่อลำโพงของเครื่องขยายจะมีค่าความต้านทานดังนี้เสมอคือ


บันทึกการเข้า

somkiat1052
member
*

คะแนน21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 434


โอที มิวสิค


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 25, 2007, 12:18:51 pm »

 Smileyคม ชัด ลึก Smiley
บันทึกการเข้า

สร้างสรรค์ความบันเทิง ให้กับงานรื่นเริงของท่าน
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!