วิเคราะห์จุดเสียทีวี(ที่พบบ่อย)ไม่จำกัด ยี่ห้อ-รุ่น
โดยทั่วไปแล้ว ทีวีหลากหลายยี่ห้อ-รุ่น มีการออกแบบมาไม่ต่างกันนัก เมื่อนำมาเปรียบเทียบแล้ว ลักษณะวงจรและอะไหล่คล้ายๆกัน ...จะยกตัวอย่าง ภาคขยายสัญญาณภาพ-สีภาคสุดท้าย ที่ติดอยู่ที่คอหลอดภาพ หรือเรียกง่ายๆว่า*ปริ๊นซ์ซ๊อคเกตหลอด*ลักษณะการออกแบบมีทั้งใช้*ทรานซิสเตอร์ล้วน*ใช้ไอซีล้วนๆและ*ทรานซิสเตอร์ผสมไอซี
*ส่วนหนึ่ง*..ของอาการเสียที่พบบ่อย เช่น*ไม่มีแสง,แสงจ้า,สีเพี้ยนมาไม่ครบสีหายไปบางสี,เปิดแล้วตัด*.เป็นต้น.ในทีวีรุ่นใหม่ๆนั้น มักจะใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบหลัก รองลงมาก็จะมีทรานซิสเตอร์เข้ามาแซมบ้าง ภาคขยายในส่วนนี้ ได้รับแรงไฟB+สูงๆ100กว่าโวลท์เข้ามาป้อนให้มันทำงาน ฉนั้นจึงไม่ต่างจากภาคจ่ายไฟที่ทำงานหนัก และมีอุณหภูมิความร้อน
ค่อนข้างสูง โอกาสที่อะไหล่จะเสียอันเนื่องมาจากความร้อนจึงมีมาก เมื่อเช็คทางเดินของไฟB+ที่ต่อจ่ายมาให้ภาคนี้ ก็ปรากฏว่าไม่ได้ต่อโดยตรง แต่ต่อผ่านรีซิสเตอร์ตัวหนึ่ง เพื่อจัดกระแสและแรงไฟให้เหมาะสมก่อนนำไปเลี้ยงวงจรIC เมื่อใดวงจรทำงานหนัก Rตัวนี้ก็จะรับภาระหนักตามไปด้วย จึงมีโอกาสเสียได้ง่าย
sak2005@thaimail.com