กาเมสุมิจฉาจาร
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กาเมสุมิจฉาจาร  (อ่าน 2933 ครั้ง)
ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน112
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2007, 05:59:26 am »

ความว่า “กาเมสุมิจฉาจาร” หมายถึง “การล่วงกาเม [แก่บุคคลอันมีผู้ปกครอง] โดยมิชอบ” พระบรมสุคตจึงตรัสถึง “สิ่งอันบุคคลปรารถนาเสมอกัน” ว่าบุคคลทั้งหลายย่อมปรารถนาในเบญจศีล คือ ไม่อยากถูกฆ่า ไม่อยากถูกลักทรัพย์ฉ้อฉล ไม่อยากถูกละเมิดคนในปกครอง ไม่อยากฟังคำเท็จโป้ปด ไม่อยากเป็นคนบ้าเสียสติ

ข้อ “กาเมสุมิจฉาจาร” ระดับฆราวาส ถือเป็นการละเมิดศีลต่อเมื่อล่วงละเมิดทางกามแก่บุคคลในปกครองของผู้อื่น ดังรายละเอียดเมื่อครั้งนางอุตตราเทพธิดา กระทำปฏิสันถารด้วยพระมหาโมคคัลลานมหาเถระ ครั้งพระมหาเถระจาริกไปยังดาวดึงสเทวโลก

ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระพบนางอุตตราเทวธิดา จึงถามว่า “ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้ จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ”

นางอุตราเทวธิดาจึงกล่าวตอบว่า “ดีฉันอยู่ครองเรือน ไม่มีความริษยา ความตระหนี่และการตีเสมอ ดีฉันไม่เป็นคนมักโกรธ อยู่ในโอวาทของสามี เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ในวันอุโบสถ ดีฉันถืออุโบสถประกอบไปด้วยองค์ ๘ ตลอด วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ วันรับ-วันส่ง ดีฉันสำรวมในศีลทุกเมื่อ มีความระมัดระวังชอบให้ทาน จึงครองวิมานอยู่

ดีฉันเว้นขาดจากปาณาติบาต มุสาวาท อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร และเว้นไกลจากการดื่มน้ำเมา ยินดีในสิกขาบท ๕ รอบรู้อริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระยศ ผู้มีพระจักษุ ดีฉันนั้นมียศด้วยยศเสวยบุญของตน มีความสุข มีอนามัยก็ด้วยศีลของตนเอง

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉันและโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน

ดูกรพระมหาเถระเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสามัญญผลอันใดอันหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสกทาคามิผลแล้ว”

ความแปลในพระอรรถกาพระไตรปิฎก อธิบายความบทพระคาถาอันแสดงขอบเขตของศีลกาเมสุมิจฉาจาร มีคาถา “อติจารา” เป็นต้น แสดงเอาไว้โดยละเอียดว่า

"ความประพฤติล่วงขอบเขตของโลก ด้วยอำนาจความในฐานะที่ไม่ควรละเมิด ชื่อว่ามิจฉาจาร หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑๐ จำพวกได้แก่หญิงที่มารดารักษา หญิงที่บิดารักษา หญิงที่บิดามารดารักษา หญิงที่พี่ชายรักษา หญิงที่พี่สาวรักษา หญิงที่ญาติรักษา หญิงที่โคตรสกุลรักษา หญิงที่ธรรมเนียมรักษา หญิงที่มีอารักขา หญิงที่มีสินไหมแก่ผู้ละเมิด ๑๐ จำพวก ได้แก่ หญิงที่เขาซื้อมาเป็นภริยา หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยสมัครใจ หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยโภคสมบัติ หญิงที่หอบผ้าหนีตามผู้ชาย หญิงที่แต่งงาน หญิงที่ชายสวมเทริด หญิงที่เป็นทาสีและภริยา หญิงที่เป็นคนงานและภริยา หญิงเชลย หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วขณะ ชื่อว่าอคมนียฐาน ฐานที่ไม่ควรละเมิด สำหรับชายทั้งหลาย

ส่วนชายอื่น ๆ ก็ชื่อว่าอคมนียฐานในหญิงทั้งหลาย เฉพาะสำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือหญิงมีอารักขาและหญิงมีสินไหมรวม ๒ และหญิง ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ชายซื้อมาเป็นต้น อคมนียฐานนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในบทว่ามิจฉาจารนี่ โดยลักษณะเจตนาก้าวล่วงอคมนียฐาน ที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่าอติจาร เจตนางดเว้นจากอติจารนั้น”


ข้อความเหล่านี้กล่าวโดยสรุปได้ว่า บุรุษไม่ควรล่วงละเมิดทางเพศต่อสตรี ๒๐ ลักษณะ ดังนี้

๑. หญิงที่มารดารักษา

๒. หญิงที่บิดารักษา

๓. หญิงที่ทั้งบิดาและมารดารักษา

๔. หญิงที่พี่ชายรักษา

๕. หญิงที่พี่สาวรักษา

๖. หญิงที่ญาติรักษา

๗. หญิงที่โคตรสกุลรักษา

๘. หญิงที่ธรรมเนียมรักษา

๙. หญิงที่มีอารักขา

๑๐. หญิงที่มีสินไหมแก่ผู้ละเมิด

๑๑. หญิงที่เขาซื้อมาเป็นภริยา

๑๒. หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยสมัครใจ

๑๓. หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยโภคสมบัติ

๑๔. หญิงที่หอบผ้าหนีตามผู้ชาย

๑๕. หญิงที่แต่งงาน

๑๖. หญิงที่ชายสวมเทริด

๑๗. หญิงที่เป็นทาสีและภริยา

๑๘. หญิงที่เป็นคนงานและภริยา

๑๙. หญิงเชลย

๒๐. หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วขณะ (เช่น หญิงนครโสเภณีที่ชายอื่นจับจองแล้วในเวลานั้น บุรุษอื่นไม่พึงละเมิดแย่งชิง หรือลักลอบร่วมรัก)

สตรีเหล่านี้เป็น “อคมนียฐาน” หมายถึง หญิงผู้อยู่ในฐานที่ไม่ควรละเมิดสำหรับชายทั้งหลาย (บุรุษไม่ควรร่วมรักต่อสตรีเหล่านี้)

บุรุษที่เป็น “อคมนียฐาน” หมายถึง ชายผู้อยู่ในฐานที่ไม่ควรละเมิดสำหรับหญิงทั้งหลาย มีดังต่อไปนี้

๑. ชายที่มารดารักษา

๒. ชายที่บิดารักษา

๓. ชายที่ทั้งบิดาและมารดารักษา

๔. ชายที่พี่ชายรักษา

๕. ชายที่พี่สาวรักษา

๖. ชายที่ญาติรักษา

๗. ชายที่โคตรสกุลรักษา

๘. ชายที่ธรรมเนียมรักษา

๙. ชายที่มีอารักขา

๑๐. ชายที่มีสินไหมแก่ผู้ละเมิด

๑๑. ชายที่เขาซื้อมาเป็นสามี

๑๒. ชายที่ยอมเป็นสามีโดยสมัครใจ

๑๓. ชายที่ยอมเป็นสามีโดยโภคสมบัติ

๑๔. ชายที่หอบผ้าหนีตามผู้หญิง

๑๕. ชายที่แต่งงาน

๑๖. ชายที่หญิงสวมเทริด

๑๗. ชายที่เป็นทาสาและสามี

๑๘. ชายที่เป็นคนงานและสามี

๑๙. ชายเชลย

๒๐. ชายที่หญิงอยู่ร่วมชั่วขณะ

เมื่อสิ้นความเหล่านี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระคาถาว่า

ตํ หิ ตสฺส สกํ โหติ

ตญฺจ อาทาย คจฺฉติ

ตญฺจสฺส อนุคฺคํ โหติ

ฉายาว อนุปายินี ฯ

บุญนั้นแลย่อมเป็นของเขา

เขาพาบุญนั้นไป

และบุญนั้น ย่อมติดตามเขาไป

เหมือนเงาตามไป ฉะนั้น ฯ




บันทึกการเข้า

gasin
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2007, 10:04:07 pm »

พระสูตรนี้พึ่งได้อ่าน    Cheesy   ผมจะลาบวช  เพื่อปฎิบัติทางจิตสักระยะ   10เมษายน 2550  กำลังหาสถาที่สับปายะ Embarrassed
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: