ยาฆ่าพยาธิ ฤทธิ์ต้านไวรัสและร่วมต้านมะเร็ง และร่วมรักษาพาร์กินสันยาไอเวอร์เมคติน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 08:17:01 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยาฆ่าพยาธิ ฤทธิ์ต้านไวรัสและร่วมต้านมะเร็ง และร่วมรักษาพาร์กินสันยาไอเวอร์เมคติน  (อ่าน 607 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2024, 10:49:05 am »

Ivermectin Tablets



ยาที่ได้รับการรับรองในเรื่องความปลอดภัยและหมดสิทธิบัตร
ราคาถูกเข้าถึงได้ทั่ว โดยที่ปรากฏว่ามีสรรพคุณนอกเหนือ
จากที่เคยรู้กันและนำมาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป
เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ
ในการเป็น repurpose drug

และอีกทั้งยาพื้นบ้านสมุนไพรไทย
และยาแผนตะวันออก
รวมทั้งวิธีควบการรักษาอื่นๆควรต้องเปิดใจ
และศึกษาอย่างจริงจังและในที่สุดสามารถ
ร่วมใช้ด้วยกันกับยาแผนปัจจุบันตะวันตก

ตัวอย่างเช่นยาฆ่าพยาธิ
ยาไอเวอร์เมคตินตัวนี้ Satoshi ōmura และ William C. Campbell
ได้รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและอายุรกรรม ในปี 2015
ในการคันพบ ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมาก
ในการรักษาโรคพยาธิต่างๆ และช่วยชีวิตคนในทวีปแอฟริกาได้มากมาย
ในช่วงระยะเวลาต่อมามีการศึกษาฤทธิ์และกลไกของยาตัวนี้
จนกระทั่งได้พบว่ายาตัวนี้มีสรรพคุณในการยับยั้งการติดเชื้อ
รวมกระทั่งถึงการรักษาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะที่เป็น
กลุ่ม RNA อาทิเช่น ไวรัสโควิด
จนกระทั่งมีการนำมาใช้ในหลายทวีป
ในประเทศอินเดีย แอฟริกา แม้กระทั่ง ในญี่ปุ่น
อังกฤษและสหรัฐอเมริกา

แต่อย่างไรก็ตามได้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง
และมีการเซ็นเซอร์รวมทั้งมีการเพิกถอนใบประกอบอาชีพของแพทย์
และองค์กรกลางของสหรัฐ FDA ได้กล่าวดูถูกถากถาง
แต่ในที่สุดแพ้คดีต่อศาลสูงสุดของสหรัฐ
ให้ลบการประณาม ข้อความในสื่อทั้งหมด
 ที่ให้ร้ายยาฆ่าพยาธิดังกล่าว และ
แพทย์ชนะคดี

เย็นวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2024
คดีในศาลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
โดยศาลได้ตัดสินให้ FDA ของสหรัฐอเมริกาซึ่งนำโดย
Robert Califf ซึ่งเป็นแพทย์โรคหัวใจ
ถอดถอนคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งหมด
เกี่ยวกับยา ivermectin ยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้
ตามมาตรฐานชุมชนในการดูแลรักษาโรคโควิด-19
โดยมีประวัติความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมและหลักฐานคุณประโยชน์
ในการศึกษาไม่น้อยกว่า 101 รายการ

ในช่วงปี 2021 สิ่งที่เรียกว่า
"สงครามกับยาไอเวอร์เมกติน" FDA ของสหรัฐอเมริกา
ได้โพสต์ทวีตอันเป็นเท็จและทำให้เข้าใจผิด
และการส่งข้อความสาธารณะเพื่อห้ามปรามแพทย์ เภสัชกร
และผู้ป่วยจากการใช้ยา และส่งผลให้แพทย์
ที่สั่งใช้ถูกสั่งให้ยุติการทำงาน
ถอดถอนใบอนุญาต
และนำมาสู่การฟ้องร้อง
ซึ่ง FDA แพ้ในที่สุด

ช่วงเวลาก่อนโควิด ระยะที่มีการระบาด
และหลังจากที่การระบาดสงบลง
มีความสนใจในกลไกของยาฆ่าพยาธิตัวนี้

ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อมะเร็งหลายชนิดได้

ทั้งในด้านการระงับการเจริญเติบโต
การแพร่กระจาย และยับยั้งการสร้างเส้นเลือด
ที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งต่างๆ
ทั้งนี้ยังรวมถึงผ่อนเบา
สถานการณ์ดื้อยาของมะเร็งชนิดต่างๆ
ต่อการรักษาและยาเคมีบำบัด
และมีการใช้ผสมควบรวมกัน
ทั้งนี้เพื่อควบคุมมะเร็งได้ดีขึ้น

กลไกสำคัญที่มีการศึกษาไปแล้วนั้น
คือความสามารถที่จะทำให้มะเร็งตายโดยกระบวนการ
ที่เรียกว่า programmed cell death autophagy และ
pyroptosis โดยผ่านเส้นทางของ PAK1 kinase และอื่นๆ

จุดประสงค์ของการศึกษายานี้กับมะเร็ง
เพื่อช่วยให้เป็นยาประกอบกับยาเคมีบำบัด
เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างบทความบางส่วน
ที่ศึกษายาตัวนี้กับมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น

มะเร็งเต้านมโดยเฉพาะในกลุ่มที่เรียกว่า
triple negative โดยทีไม่มี estrogen, progesterone receptor
และ human epidermal growth factor receptors 2 (HER2)
และเป็นมะเร็งที่เติบโตและลุกลามเร็วที่สุด
โดยที่ไอเวอร์เมคตินทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม
ในระดับเหนือพันธุกรรม (epigenetic regulator)
และยังทำให้มะเร็งชนิดนี้กลับมาตอบสนอง
กับยาปกติ tamoxifen

การศึกษาหลายรายงานยังพบว่าไอเวอร์เมคติน
ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ดีขึ้นโดยการปรับสภาวะแวดล้อม
ของเซลล์มะเร็ง(tumor microenvironment )
จากการปล่อย high mobility group box-1 protein (HMGB1)
ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบเซลล์ภูมิคุ้มกัน
ที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์มะเร็ง

ในส่วนมะเร็งกระเพาะอาหารพบว่าไอเวอเมคติน
สามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์ผ่าน
Yes-associated protein 1 (YAP1)
และกระบวนการนี้ยังใช้อธิบายผลต่อมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี

และยายังช่วยมะเร็งที่ดื้อ gemcitabine
ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดสำหรับรักษา
มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดเซลล์ตาย
ในกระบวนการapoptosis จาก
การขัดขวาง
Wnt/beta catenin pathway

นอกจากนั้นยังมีผลช่วยในกรณีของมะเร็งของไต (renal cell carcinoma)
โดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติทั้งนี้โดยการขัดขวางหน้าที่ของ mitochondria

ยายังมีส่วนช่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
โดยที่เพิ่มการออกฤทธิ์ของ ยาต้าน ฮอร์โมนแอนโดเจน enzalutamide
และปรับเซลล์มะเร็งที่ดื้อ ยาdocetaxel ให้กลับมาตอบสนองใหม่

มะเร็งของเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย ยาช่วยฆ่ามะเร็ง
ในขนาดยาที่ไม่สูง และไม่กระทบเซลล์ปกติ
ทั้งนี้โดยการเหนียวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ
และมีผลส่งเสริมการออกฤทธิ์ของ
ยา cytarabine และ daunorubicin

นอกจากนั้นยังมีผลกับมะเร็งชนิดไม่เฉียบพลัน
chronic myeloid leukemia และช่วยการทำงาน
ของยา dasatinib ให้ดีขึ้น

มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่
ยามีส่วนช่วยในการทำให้ยาเคมีบำบัด
ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน

เนื้องอกสมอง ยามีส่วนช่วยรักษา glioblastoma
ผ่านกลไกที่ทำให้เซลล์ตายและยับยั้งการสร้างเส้นเลือด
มาเลี้ยงก้อนเนื้องอกและการกระจายของเซลล์มะเร็ง

อย่างไรก็ตามยาไอเวเมคติน
ไม่สามารถผ่านผนังกั้นหลอดเลือดกับสมองได้ดี
ดังนั้น อาจเป็นข้อจำกัดในการใช้ยานี้กับเนื้องอกในสมอง
ยกเว้นแต่ว่าต้องสามารถเปิดให้มีรูหรือช่องว่าง
ของผนังกั้นนี้ได้อย่างพอเพียงโดยที่ไม่เกิดขึ้นอย่างถาวร

มะเร็งในช่วงโพรงจมูกทางด้านหลัง มะเร็งปอด
และ มะเร็งร้ายแรงของผิวหนัง melanoma
ยาดังกล่าวนี้สามารถช่วยการรักษา
ที่เป็นมาตรฐานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

เหล่านี้เป็นตัวอย่างของยาที่มีสรรพคุณมากหลาย
นอกเหนือจากที่ค้นพบตั้งแต่ต้น
กลายเป็นที่เราเรียกว่า repurpose drug

และน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาวการณ์ของสมุนไพรไทย
และรวมกันชงและกัญชา ที่ครอบครัวของผู้ป่วยที่ได้รับ
การวินิจฉัยแล้วว่ารักษาไม่ได้และให้ประคับประคองอย่างเดียว
ได้นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมาน
นอนไม่ได้กินไม่ไหว แต่สามารถมีชีวิตอย่างเกือบปกติ
และใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวโดยทุกคนค่อยๆ ยอมรับ
และในที่สุด แม้ผู้ป่วยจะจากไป แต่ไม่ได้ทนทุกข์ทรมาน

ทั้งนี้ ผู้ป่วยเหล่านี้ต่างได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีนทั้งชนิดกิน ฉีด
แต่ไม่สามารถบรรเทาอาการได้
ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยมะเร็งเป็นจำนวนมาก
ที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันชนิดของมะเร็ง
รวมกระทั่งถึงระยะลุกลามขั้นสุดท้าย

เมื่อได้ยากันชงกัญชา
โดยการให้ที่ถูกต้องและเหมาะสม
กลับมีชีวิตยืนยาวได้มากกว่าปกติ
ตามที่คาดคะเนจากการรักษาแบบมาตรฐาน

ควรหรือไม่ที่จะเริ่มพิจารณาอย่างจริงจัง
ที่จะนำสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งการแพทย์แผนตะวันออก
เช่นแพทย์แผนจีน เข้ามาศึกษาและยกระดับความเข้าใจ
รวมทั้งสามารถระบุปฏิกิริยา รวมทั้งข้อห้ามใช้
เมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ตัวไหนบ้างเพื่อประโยชน์สูงสุด
ของผู้ป่วยและเป็นการประหยัด
และทำให้ประชาชนคนป่วยเข้าถึงได้อย่างเต็มที่

ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
มหาวิทยาลัยรังสิต

โค๊ด:
Cr:  https://mgronline.com/qol/detail/9670000074387?fbclid=IwY2xjawEpBCVleHRuA2FlbQIxMQABHZW3AUO-0LFOwAXFm5TLYgBGU08M0Aoq1IkEV54oztKUKTBlcpTIu_q1aw_aem_KY-W5rK7gUREQc-JiQIsrg

 ping!


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!