ตอนนี้ระบาดทั่วประเทศไทย
ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ เข้ามารุกรานแหล่งน้ำไทยกว่า 18 ปี
ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศและการประกอบอาชีพของชาวประมงอย่างหนัก
ปลาหมอคางดำ หรือ Blackchin tilapia
เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศ
มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกา
สำหรับปลาหมอคางดำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัว
ให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ดี
โดยสามารถอาศัยอยู่ในสภาพน้ำ
ที่มีความเค็มสูงได้ แต่ก็สามารถ
อยู่ในน้ำจืดได้เช่นกัน
สำนักข่าวอิศรา รายงานถึงกรณีการนำเข้า
ปลาหมอสีคางดำจากต่างประเทศ
มาเลี้ยงในประเทศไทย ว่า
- ปี 2549 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและ
ความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC)
มีมติอนุญาตให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
นำเข้าปลาหมอสีคางดำจากสาธารณรัฐกานา ทวีปแอฟริกา
เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลแบบมีเงื่อนไข
- ปี 2553 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
นำเข้าปลาหมอสีคางดำ จำนวน 2,000 ตัว
มาเลี้ยงที่ศูนย์ทดลองที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
จากนั้นปลาหมอสีคางดำได้ทยอยตายเกือบทั้งหมดภายใน 3 สัปดาห์
บริษัทจึงทำลายและฝังกลบซากปลา
โดยการโรยด้วยปูนขาว และแจ้งให้กรมประมงทราบด้วยวาจา
โดยไม่ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการ
และเก็บซากปลาส่งให้กับกรมประมงตามเงื่อนไข
การอนุญาตของคณะกรรมการ IBC
- ปี 2555 เกษตรกรในพื้นที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
พบการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นครั้งแรก
ณ ขณะนี้ ระบาดไปทั่วทุกจังหวัด ตามแนวชายฝั่งทะเล