ด้วงแรดมะพร้าว กินยอดมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันตายได้ ลักษณะต้นที่ด้วงทำลายในระยะแรก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 03:42:37 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ด้วงแรดมะพร้าว กินยอดมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันตายได้ ลักษณะต้นที่ด้วงทำลายในระยะแรก  (อ่าน 2023 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2024, 10:10:21 am »

https://108kaset.com/2024/06/30/coconut-rhinoceros-beetle/
ด้วงแรดมะพร้าว กินยอดมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันตายได้ ลักษณะต้นที่ด้วงทำลายในระยะแรก
#ด้วงแรดมะพร้าว  #กินยอดมะพร้าว  #ปาล์มน้ำมัน
---

เตือน!! "ด้วงแรดมะพร้าว" กินยอดเน่าต้นมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันตายได้ และวิธีสังเกตุต้นที่ด้วงทำลายในระยะแรก

  ด้วงแรดมะพร้าว หรือ ด้วงมะพร้าว (อังกฤษ: Coconut rhinoceros beetle, Indian rhinoceros beetle, Asian rhinoceros beetle) เป็นด้วงกว่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctes rhinoceros มีลำตัวสีน้ำตาลแดงเกือบดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างของส่วนหัว อก ขา และด้านล่างของลำตัว ตัวผู้มีเขาคล้ายนอแรดที่ส่วนหัวค่อนข้างยาว ตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้แต่มีเขาสั้นกว่า และที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนเยอะกว่าตัวผู้ และมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ไม่มาก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 37-45 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ โดยด้วงกว่างชนิดนี้ถือเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญมากของพืชจำพวกปาล์มและมะพร้าวในทวีปเอเชีย โดยตัวเต็มวัยจะเจาะกินยอดอ่อนในเวลากลางคืนทำให้ยอดอ่อนแตกออกมาเห็นใบหักเสียหาย..
ส่วนทางมะพร้าวหรือปาล์มที่ตัดทิ้งไว้บนดินภายในสวน ก็เป็นแหล่งเพาะอาศัยของตัวอ่อน โดยหลังจากวางไข่แล้วฟักเป็นตัวหนอนก็จะเจริญเติบโตกัดกินอยู่ด้านล่างหรืออยู่ในดิน ไข่มีทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวในระยะเวลา 7-8 วัน หนอนมีสีขาวนวลมีอายุ 3-4 วัน มีส่วนหัวเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เป็นดักแด้ประมาณ 1 เดือน ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 เดือน นับว่าเป็นด้วงกว่างที่มีระยะเวลาเจริญเติบโตเร็วมาก

ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช โดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด

ถ้าโดนทำลายมากๆ จะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อนทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด.. ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่พบตามพื้นดินในบริเวณที่มีการกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะกัดกินและทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต [embed]https://www.youtube.com/watch?v=SWLfNUCv3ho[/embed]
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่ แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดู หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว เผาทำลายท่อนมะพร้าวเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว ตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องใช้แล้วราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่ได้

2. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium sp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาวัสดุ เช่น ใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต

3. การใช้สารเคมี
3.1 ต้นมะพร้าวอายุ 3 - 5 ปี ซึ่งยังไม่สูงมากนัก ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6 - 8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว
3.2 ใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน 60% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ 1- 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 - 20 วัน ควรใช้ 1 - 2 ครั้ง ในช่วงระบาด


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!