https://www.thaimotocar.com/2023/11/02/tou-evมิเตอร์ไฟฟ้า TOU คนใช้รถ EV ต้องรู้
#มิเตอร์ไฟฟ้า #TOU #คนใช้รถ #EV
----
อัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use ) คือ อัตราค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงเวลาของการใช้ แบ่งเป็นช่วงที่คนต้องการใช้ไฟเยอะ กับ ช่วงที่คนต้องการใช้ไฟน้อยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับมิเตอร์ค่าไฟแบบธรรมดาแล้ว ควรต้องใช้ไฟ 400 หน่วยขึ้นไป โดยอัตราส่วนการใช้ไฟ คือ Off : On Peak ที่ 80:20 ถึงจะประหยัดกว่า
อัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use) คือ อัตราค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงเวลาของการใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. ช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง (On Peak) อัตราค่าไฟฟ้า 5.7982 บาท
วันจันทร์ ศุกร์ เวลา 09.00 22.00 น.
2. ช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) อัตราค่าไฟฟ้า 2.6369 บาท ต่อหน่วย
วันจันทร์ ศุกร์ เวลา 22.00-09.00 น.
วันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 00.00-24.00 น. ของวันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
(สำหรับแรงดันไฟต่ำกว่า 22 กิโลโวลท์)
ซึ่งอัตราค่าไฟราคานี้ ยังไม่รวม ค่า ft, VAT และค่าบริการต่างๆ
มิเตอร์ TOU คุ้มไหม ค่าไฟลดลงแค่ไหน ?
โดยภาพรวมจากตารางแล้ว มิเตอร์นี้ เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ 400 หน่วยขึ้นไป แต่ต้องมีสัดส่วนใช้ไฟตอน Off-Peak (ช่วงกลางคืนและวันหยุด) มากกว่าช่วง On-Peak ถึงจะคุ้มค่าแก่การเปลี่ยน ซึ่งยิ่งใช้ไฟกลางคืนเยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งคุ้มเร็วขึ้นเท่านั้น
และถ้าจะใช้งาน On-Peak ในอัตราส่วนที่สูงกว่านี้ก็จะต้องใช้ไฟ Off-Peak เยอะขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน เพื่อให้ยอดยังคงอัตราส่วนเดิม ซึ่งจะทำให้ TOU ถูกกว่าแบบปกติ
ฉะนั้น ถ้าเราจะเปลี่ยน TOU จริง ๆ ก็คือ จะต้องเป็นบ้านที่ใช้ไฟเยอะมาก ๆ หรือ ใช้ตอน Off-Paek ซึ่งก็คือหลังสี่ทุ่ม ถึงเก้าโมงเช้าเยอะมาก ๆ ถึงจะคุ้มค่า (หรือก็คือพนักงานออฟฟิศ ที่วันธรรมดาตอนกลางวันออกไปทำงาน และตอนกลางคืนกลับมาใช้ไฟบ้านนั้นเอง) ซึ่งราคาเหล่านี้มาจากเว็บไซต์ของ กฟน.
ติดตั้งมิเตอร์ TOU ราคา เท่าไหร่ ?
สามารถยื่นเรื่องได้ที่แผนกบริการ การไฟฟ้านครหลวงเขต ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายด้านเครื่องวัดฯ TOU ตามระดับแรงดันที่เชื่อมต่อกับระบบของ กฟน. โดยจะมีค่าเปลี่ยนมิเตอร์ 700 บาท และ ค่ามิเตอร์ TOU 6,000 บาท ซึ่งรายการเหล่านี้ ยังไม่รวมค่าสายไฟเข้าบ้าน และค่าติดตั้งสายดิน.