การแจกเงินดิจิตอล....บรรเทิงเลยหละ ♫
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 11:00:57 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การแจกเงินดิจิตอล....บรรเทิงเลยหละ ♫  (อ่าน 2460 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2023, 10:33:40 am »

เงินที่รัฐบาลจะแจกคนละ 10,000 บาท จำนวน 560,000 ล้านบาท

เอาไปสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอะไรได้บ้าง?!

งบประมาณสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ 120,000 ล้านบาท
ท่าเรือแหลมฉบัง เฟสสาม 110,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 100,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีแดง 96,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีชมพู 53,000 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 50,000 ล้านบาท
สถานีรถไฟกลางบางซื่อ 16,000 ล้านบาท


เงินที่รัฐบาลกำลังจะแจกนี้
สร้างโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
ของประเทศที่กล่าวมาทั้งหมด

แถมยังเหลือเงินทอน



บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2023, 10:40:53 am »

นักการเมือง ยื่นปลา พระราชา ยื่นเบ็ด

"...พูดอีกนัยหนึ่ง การแจกเงินโดยผู้รับไม่ต้องออกเหงื่อออกแรง
ให้เกิดโภชน์ผลการผลิตใดๆ คือการบ่มเพาะนิสัย 'หวังพึ่ง' ให้กับชาวบ้าน
ดังที่คุณโภคิน พลกุล คนเคยรักพรรคเพื่อไทย เตือนไว้อย่างมีน้ำหนักว่า
“การขับเคลื่อนนโยบายทั้งระบบ
ไม่ใช่ประชานิยมแบบที่ทำให้ประชาชนเป็น  ขอทาน
ต้องไม่ทำให้ประชาชนเป็น   ขอทาน”

วิธีการแจกเงินแบบให้เปล่า จึงเท่ากับดูถูกประชาชนว่า
ไม่มีน้ำยาที่จะพึ่งพาตนเอง ในความเป็นจริง 
ประชาชนทั่วทั้งประเทศมีศักยภาพที่จะสร้างมูลค่า
ทางเศรษฐกิจให้กับครอบครัวและชุมชน
อย่างเป็นจริงอยู่แล้วมากมาย..."

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ทรงมีพระราชดำรัสไว้ เมื่อ 4 ธันวาคม  2541 ว่า

“เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา
แต่ควรจะให้เบ็ดตกปลา
และสอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า”
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2023, 10:28:44 am »

เงินสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานน่ากระจายออกต่างจังหวัดบ้างนะครับ  THANK!! wav!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2023, 10:42:55 am »

ผู้นำ ถ้าเอาคำว่า ประชาชนเป็นตัวตั้ง

เค้าจะมอง ป่า ทั้ง ป่า

ไม่ใช่อยู่ใต้ต้นไม้แล้ว แหกปาก ถ่ายรูปผลงาน



บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2023, 08:32:35 am »

เพียงเดือนเศษๆ กับนโยบายเงินดิจิทัล
ความมุ่งมั่นดื้อดึงที่จะทำโครงการนี้
ทั้งๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิเคราะห์ค่อนประเทศไม่เห็นด้วย
นอกจากทำให้นักลงทุนกังวลถึงภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้น
ที่ไม่คุ้มกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะได้รับ
ยังทำให้เห็นได้อีกว่า การตัดสินใจโดยไม่ฟังเสียงรอบข้าง
โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ แถมยังอาจจะ
การโยกย้ายหากข้าราชการไม่เห็นด้วย
ยังเป็นเรื่องที่น่ากลัวในการบริหารรัฐนาวาในยามนี้อีกด้วย
บริษัทที่ให้ credit rating อย่าง S&P, Moody และ Fitch
จึงออกมาพร้อมหน้าพร้อมตาเตือน
และพร้อมที่จะลด credit rating
หากใช้นโยบายทางการคลังที่ไม่เหมาะสม

ดังนั้น นักลงทุนจึงเทขายพันธบัตรรัฐบาลไทยอย่างหนักจน
yield ขึ้นมากว่า 70 basis point
(รวมผลกระทบจากการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น) แล้ว
เพียงระยะเวลาเพียงเดือนเศษ
จนมาอยู่ในระดับเดียวกันกับเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว
ส่วนค่าเงินบาทกำลังลงไป test low เมื่อ 16 ปีที่แล้ว
ในขณะที่ราคาหุ้นไทยตกไปแล้วกว่า 13%
นี่กำลังจะทำให้หนี้สินรัฐบาล 7.6 ล้านล้านบาท
ที่มีค่าดอกเบี้ยจ่ายกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท
กำลังจะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น
หากต้อง rollover


Cr: Nat Luengnaruemitchai
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2023, 09:59:42 am »

บ้านเมืองกำลังมีภัยทางความมั่นคงด้านเศรษฐกิจเสถียรภาพประเทศ
ถึงขั้น “ล่มจม-ล้มละลาย” ได้ง่ายๆ
แต่เราๆ ชาวบ้าน ประหนึ่ง ”ฝูงปลากระหายเหยื่อ”!
ในภาวะ “ล่อแหลม”
เป็นปรากฏการณ์ “น่าดีใจ” ที่มีคณะชนชั้นปัญญาชน
นักวิชาการ ครูบาอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์
นำโดย ๒ อดีต “ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ”

“ดร.วิรไท สันติประภพ” และ “ดร.ธาริษา วัฒนเกส”

เมื่อเห็นรัฐบาลเศรษฐาจะใช้เงิน ๕๖๐,๐๐๐ ล้านบาท
เป็นเหยื่อเกี่ยวเบ็ด “ตกปลาการเมือง”
ท่ามกลางความเริงร่าของ “ปลาตาบอด” ที่รอตอดเหยื่อ

ปัญญาชนเหล่านั้น เป็นผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์
รู้ทันเล่ห์พรานเบ็ด ที่สำคัญ รักชาติ-บ้านเมือง
 มองเห็นมหันตภัยนั้น

ถ้าเขา “อยู่เฉย” ก็ไม่มีใครว่าได้
ทั้งเขาเหล่านั้น ก็จะไม่เปลืองเนื้อ-เปลืองตัวด้วยซ้ำ!

แต่นักวิชาการ-ครูอาจารย์เศรษฐศาสตร์ ๙๙ ท่าน
ทนเห็นความวิบัติอันจะเกิดกับประเทศกับฝูงมัสยาหลงเหยื่อไม่ได้!
ท่านจึงอุทิศตน “เข้าชื่อ-ประกาศนาม”

“ออกแถลงการณ์” เรียกร้องให้รัฐบาล “ยกเลิก”
นโยบายแจกเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท
พร้อมชี้แจงเหตุผลโดยสรุป

1.ไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้น
การบริโภคภายในประเทศ
รวมถึงไม่มีความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคส่วนบุคคล

แต่ควรเน้นการใช้จ่ายของภาครัฐในการสร้างศักยภาพ
ในการลงทุนและการส่งออกมากกว่า

และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
ยังเป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอีก
หลังเริ่มลดลงได้ในปีนี้ มาอยู่ที่ 2.9%
ท่ามกลางราคาพลังงานที่สูง
และมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง

เพราะฉะนั้น การกระตุ้นการบริโภคในช่วงนี้
จะทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้น
และอาจนำมาซึ่งสภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด

เหตุผลที่ 2 เงินงบประมาณของรัฐที่มีจำกัด
                ย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ

เงินจำนวนมากถึง 560,000 ล้านบาทนี้
ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

ซึ่งล้วนที่จะสร้างศักยภาพการเติบโตในระยะยาว
แทนการกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ
ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างหนี้สาธารณะให้เป็นภาระคนรุ่นหลัง

3.การที่ผู้กำหนดนโยบายหวังว่านโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ “เป็นสิ่งที่เลื่อนลอย”

เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงิน 560,000 บาท
เข้าระบบเป็นการคาดหวังเกินจริง

เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือแจกเงิน
มีค่าต่ำกว่า 1 และต่ำกว่าตัวทวีคูณทางการคลัง
สำหรับกาารใช้จ่ายโดยตรงและการลงทุนภาครัฐ

4.ไทยอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมานาน
และการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนี้
ก็จะยิ่งทำให้ไทยเสียค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอีก

เพราะก่อนหน้านี้เงินเฟ้อสูงขึ้น
การก่อหนี้จำนวนมาก ทั้งออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจ
หรือสถาบันการเงิน ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับดอกเบี้ยทั้งนั้น

หนี้สาธารณะของรัฐอยู่ที่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท
หรือ 61.6% ของจีดีพี เป็นภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง
เมื่อต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่ ย่อมมีผลต่อภาระเงินงบประมาณรัฐในแต่ละปี

5.นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น

คือ หลังจากทั่วโลกเผชิญทั้งโรคระบาด
และเศรษฐกิจถดถอย หลายประเทศพยายาม
ลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง

เพื่อสร้างที่ว่างทางการคลังได้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต
แต่นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สวนทาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง…..

เมื่อไทยมีรายรับจากภาษีเพียง 13.7% ของจีดีพี ถือว่าต่ำมากๆ

6.การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ใ
ห้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี
เป็นนโยบายที่ไม่สร้างความเป็นธรรม

เศรษฐี มหาเศรษฐี ที่อายุมากกว่า 16 ปี
ล้วนได้รับเงินทั้งที่ไม่มีความจำเป็น

7.ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
การเตรียมตัวทางการคลังเป็นสิ่งจำเป็น

ภาระการใช้จ่ายด้านสวัสดิการและสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ผู้บริหารประเทศที่มองการณ์ไกลจึงควรใช้งบประมาณให้คุ้มค่า
และรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการคลังอย่างเคร่งครัด

ด้วยเหตุผลทั้งหมดต่างๆ ข้างต้น
นักวิชาการ และคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
แก่ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป

เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้นั้นน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป
และสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงิน
เพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยระยะสั้นๆ
โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว

และควรทำแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้มีรายได้น้อย
ไม่เหวี่ยงแหครอบคลุมคนทุกกลุ่ม

นั่นแถลงการณ์สรุป……..

ผมอยากนำทั้ง ๙๙ รายชื่อ
มาบันทึกด้วยขอบคุณแทนคนไทย-ประเทศไทย
เอาเท่าที่เนื้ออำนวยก่อนก็แล้วกัน

    ดร.วิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
    ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
    ดร.บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
    รศ.ดร.อัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
    ดร.ธัญญา ศิริเวทิน อดีตรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ

อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ มธ.

    รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์
    รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
    ศ.ดร.ปราณี ทินกร
    ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ
    ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา
    รศ.ดร.สุกัญญา นิธังกร
    รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ
    รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
    ศ.ดร.พลายพล คุ้มทรัพย์ อดีตรองอธิการบดีและรองคณบดีเศรษฐศาสตร์ มธ.
    ผศ.ปภัสสร เลียวไพโรจน์ อดีตรองอธิการบดีและอดีตอาจารย์เศรษฐศาสตร์ มธ.
    รศ.ดร.ลิลี่ โกศัยกานนท์ อดีตรองอธิการฯและอดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ มธ.
    ผศ.ดร.วัชรียา โตสงวน อดีตรองอธิการฯมธ.

คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.

    ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี
    ผศ.ดร.ธีรวุฒิศรีพินิจ
    อจ.พงศ์พลิน ยิ่งชนม์เจริญ
    ผศ.ชล บุนนาค
    ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
    ผศ.สุวรรณี วัธนจิตต์
    อจ.พีรพัฒน์ เภรีรัตนสมพร
    อจ.กุศล เลี้ยวสกุล
    รศ.ชูศรี มณีพฤกษ์
    ผศ.จรินทร์ พิพัฒนกุล
    ผศ.จินตนา เชิญศิริ
    รศ.ดร.ดาว มงคลสมัย
    รศ.ดร.ภาวดี ทองอุไทย
    รศ.ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร
    รศ.ดร.เกรียงไกร เตชกานนท์
    รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
    รศ.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน
    ผศ.ดร.โอม หุวะนันทน์
    รศ.พรพิมล สันติมณีรัตน์
    รศ.ดร.เพลินพิศ สัตย์สงวน
    รศ.ดร.เลิศศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย
    รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย
    ผศ.มณีรัตน์ ภิญโญภูษาฤกษ์
    รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ
    รศ.ดร.สมนึก ทับพันธุ์
    รศ.ดร.เยาวเรศ ทับพันธุ์
    อจ.สุพรรณ นพสุวรรณชัย

เศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

    ดร.สินาด ตรีวรรณไชย
    ผศ.ดร.โสภิณ จิระเกียรติกุล
    ดร.พิชญา บุญศรีรัตน์
    ผศ.สุกำพล จงวิไลเกษม

เศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรฯ

    ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ
    ผศ.ดร.ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล
    รศ.ดร.กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย
    รศ.ดร.โสมสกาว เพชรานนท์
    ผศ.ดร.ธนสิน ถนอมพงษ์พันธ์
    รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล
    ผศ.ดร.สันติ แสงเลิศไสว
    ผศ.ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย
    ผศ.ดร.อัฉรา ปทุมนากุล

เศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่

    อ.ดร.จีราภา อินธิแสง โธฌีม
    รศ.ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์
    ผศ.ดร.กรรณิการ์ ดวงเนตร

เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ

    รศ.ดร.ธัชนันท์ โกมลไพศาล
    อ.ดร.อติกา ทิพยาลัย
    รศ.ดร.กรรณิการ์ ดำรงค์พลาสิทธิ์
    ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
    ผศ.ดร.จาริต ติงศภัทิย์
    รศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี
    รศ.จันทร์ทิพย์ บุญประกายแก้ว
    วิรัตน์ วัตนศิริธรรม อดีตเลขฯสภาพัฒน์ฯ
    ดร.จิตริยา ปิ่นทอง อดีตเอกอัครราชทูต
    ภัสสร เวียงเกตุ อดีตรองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
    รศ.ดร.โกวิทย์ กังสนันท์ ม.ราชพฤกษ์
    ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
    ผศ.ดร.วิศาล บุปผเวส สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
    ผศ.ดร.ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    ศ.ดร.วุฒิ ศิริวัฒน์นานนท์ วิศวกรมโยธา ม.เทคโนโลยีซิดนีย์
    รศ.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม ม.รังสิต
    ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ โรงพยาบาลเทพประทาน
    เกริกไกร จีระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
    ……………..

นักข่าวถามเศรษฐา คำตอบท่านมีว่า……

“ไม่ครับ…เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่แจก ๕.๖ แสนล้าน”!

เปลว สีเงิน


โค๊ด:
https://plewseengern.com


 ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ คณาจารย์
รวมตัวคัดค้าน รัฐบาลแจกเงิน
โดย ลงทุนแมน

“ไม่มีใครเสกเงินได้ ไม่มีเงินที่งอกจากต้นไม้
ไม่มีเงินที่ลอยมาจากฟ้า ไม่ว่าจะแอบซ่อนมาในรูปแบบใดก็ตาม
สุดท้ายแล้วประชาชนจะต้องจ่ายคืนเสมอ”

นี่อาจเป็นข้อสรุปของเรื่องนี้ ที่เป็นข่าวใหญ่วันนี้
แถลงการณ์นำโดย
ดร.วิรไท สันติประภพ และ ดร.ธาริษา วัฒนเกส
อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
พร้อมด้วยนักวิชาการ และคณาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์
ที่เราเห็นชื่อแล้วต้องอึ้ง
เพราะล้วนแต่เป็นครูบาอาจารย์ชื่อดังที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้ง
ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ สงขลานครินทร์

เรียกได้ว่าแทบจะยกอาจารย์ในคณะเศรษฐศาสตร์ทั่วประเทศมาแล้ว
ตัวแถลงการณ์ มีใจความหลักคือ เรียกร้องให้รัฐบาล ยกเลิก
นโยบายแจกเงินดิจิทัล 560,000 ล้านบาท
เพราะมองว่าเป็นนโยบายที่จะทำให้ประเทศไทยได้ ไม่คุ้มเสีย
และการที่ผู้กําหนดนโยบายหวังว่า นโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ

“เป็นสิ่งที่เลื่อนลอย”

ใช่แล้ว อ่านไม่ผิด ในแถลงการณ์
ผู้ที่มีประสบการณ์อย่างอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ
และนักวิชาการ คณาจารย์ทั้งหลายกล้าใช้คำนี้
ก็คงต้องมั่นใจมากว่า มันเลื่อนลอยจริง ๆ
แล้วแถลงการณ์นี้ ให้เหตุผลว่าอะไรบ้าง
ลงทุนแมนจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

1) คำแถลงการณ์นี้ได้ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยกําลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว
โดยสํานักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 ในปีนี้
และร้อยละ 3.5 ในปีหน้า
จึงไม่มีความจําเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจํานวนมากเพื่อกระตุ้น
การบริโภคภายในประเทศ

สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมามี
 “การบริโภคส่วนบุคคล” เป็นตัวจักรสําคัญอยู่แล้ว
โดยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การบริโภคขยายตัวถึงร้อยละ 7.8 ซึ่งสูงที่สุด ใน 20 ปี
คิดเป็นกว่า 2 เท่าของค่าเฉลี่ย 10 ปี คาดว่าปีนี้ทั้งปี
การบริโภคจะขยายตัวร้อยละ 6.1 และร้อยละ 4.6 ในปีหน้า

ดังนั้นแถลงการณ์จึงระบุว่า ไม่มีความจําเป็น
ที่รัฐจะกระตุ้นการบริโภคส่วนบุคคลในตอนนี้
สิ่งที่รัฐต้องทำ ควรจะเน้นการใช้จ่ายของภาครัฐ
ในการสร้างศักยภาพในการลงทุน และการส่งออกมากกว่า

นอกจากนี้ การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ
ยังอาจจะเป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอีก
หลังจากที่เงินเฟ้อได้ลดลงจากร้อยละ 6.1
มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.9 ในปีนี้
ท่ามกลางราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง
การกระตุ้นการบริโภคในช่วงเวลานี้
จะทําให้เงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectation) สูงขึ้น
และอาจนําไปสู่ภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด

2) เงินงบประมาณของรัฐที่มีจํากัด ย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ
เงินจํานวนมากถึงประมาณ 560,000 ล้านบาทนี้
ทําให้รัฐเสียโอกาสที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้าง Digital Infrastructure
หรือในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ซึ่งล้วนแต่จะสร้างศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาว
แทนการใช้เงินเพื่อการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น ๆ
ซึ่งไม่สมเหตุสมผล ต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้เป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไป
“ค่าเสียโอกาสสําคัญ” คือ การใช้เงินสร้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้ประชาชน

3) การกระตุ้นเศรษฐกิจให้รายได้ประชาชาติ (GDP) ขยายตัว
โดยรัฐแจกเงินจํานวน 560,000 ล้านบาท เข้าไปในระบบ
เป็นการคาดหวังที่เกินจริง
เพราะปัจจุบัน ข้อมูลเชิงประจักษ์จากงานวิจัย
ทําให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ เชื่อว่าตัวทวีคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier)
ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอน
หรือการแจกเงิน “มีค่าต่ำกว่า 1” และต่ำกว่าตัวทวีคูณ
ทางการคลังสําหรับการใช้จ่ายโดยตรง และการลงทุนของภาครัฐ
การที่ผู้กําหนดนโยบายหวังว่า นโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
“จึงเป็นสิ่งที่เลื่อนลอย”
ไม่มีใครเสกเงินได้ ไม่มีเงินที่งอกจากต้นไม้
ไม่มีเงินที่ลอยมาจากฟ้า
ไม่ว่าจะแอบซ่อนมาในรูปแบบใดก็ตาม
สุดท้ายแล้วประชาชนจะต้องจ่ายคืนเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นลักษณะจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น และ/หรือราคาสินค้าแพงขึ้นเพราะเงินเฟ้อ
อันเนื่องจากการเพิ่มปริมาณเงิน

4) เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น มาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก
การก่อหนี้จํานวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจ
หรือกู้จากสถาบันการเงินของภาครัฐ
ก็ล้วนแต่จะทําให้รัฐบาลและคนทั้งประเทศ
ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้น
หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท
หรือร้อยละ 61.6 ของรายได้ประชาชาติ (GDP)
จะต้องมีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นในยามที่ต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่
ซึ่งจะมีผลต่อภาระเงินงบประมาณของรัฐในแต่ละปีอยู่แล้ว
นี่ยังไม่นับ จํานวนเงินค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
จากการแจกเงิน Digital คนละ 10,000 บาทนี้ด้วย
ถ้ารวมด้วยก็จะมีภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปอีก

5) ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤติล็อกดาวน์
และภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่าง
ก็จําเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลัง และสร้างหนี้จำนวนมาก
เพื่อใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข กระตุ้นเศรษฐกิจ
และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
แต่หลังจากวิกฤติล็อกดาวน์และภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป
หลายประเทศได้แสดงเจตนารมณ์ที่ฉลาด รอบคอบ
โดยลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (Fiscal Consolidation)
ทั้งนี้เพื่อสร้าง “ที่ว่างทางการคลัง” (Fiscal Space)
ไว้รองรับวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาทนี้
ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย
ที่มีอัตราส่วนรายรับจากภาษี เพียงร้อยละ 13.7
ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ มาก

การทํานโยบายการคลังโดยไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวัง
และไม่คํานึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ยังจะส่งผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของประเทศ
ซึ่งจะทําให้ต้นทุนการกู้เงินของทั้งภาครัฐบาล
และภาคเอกชนไทย สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นด้วย

6) การแจกเงินคนละ 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี
เป็นนโยบายที่สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างยิ่ง
เศรษฐีและมหาเศรษฐี ที่อายุเกิน 16 ปี ล้วนได้รับเงินช่วยเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจําเป็น

7) สําหรับประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างประเทศไทย
การเตรียมตัวทางด้านการคลัง เป็นสิ่งจําเป็น
ขณะที่จํานวนคนในวัยทํางานลดลง แต่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภาระการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุข จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ผู้บริหารประเทศที่มองการณ์ไกลจึงควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า
รักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด
ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ข้างต้น บรรดานักวิชาการและคณาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์
จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก “นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาท”
แก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับนั้น
น้อยกว่าต้นทุนที่เสียไปอย่างมาก
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจก เงิน
เพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้น ๆ โดยไม่คํานึงถึงวินัย
และเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว
แม้รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่ต้องไม่ทําลายความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว
หากจําเป็นที่จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มคนรายได้น้อย
ก็ควรทําแบบเฉพาะเจาะจงแทนการเหวี่ยงแหครอบคลุมคนทุกกลุ่ม
เพราะเสถียรภาพทางการคลังของไทย
และความสามารถในการจัดเก็บภาษี ไม่เอื้อให้ประเทศทําเช่นนั้น...
.......
หลังจากอ่านบทความนี้จบ ก็ทำให้ลงทุนแมนคิดได้ว่า
มนุษย์เราเกิดมา ถ้าให้แบ่งเป็น 2 ขั้ว
ขั้วที่ 1 คือ กล้าทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ตัวเองได้ผลประโยชน์
ขั้วที่ 2 คือ กล้าทำในสิ่งที่ให้สังคมโดยรวมได้ผลประโยชน์

มนุษย์ขั้วที่ 2 นั้น เขามักจะไม่มองถึงแค่ปัจจุบัน แต่จะมองถึง
หลักความยั่งยืน ที่ผลรวมทั้งหมดในอนาคตที่จะเกิดขึ้น
มันจะได้มากกว่า สิ่งที่จ่ายไปในวันนี้
ส่วนมนุษย์ขั้วแรกนั้น ไม่สนใจหรอก ว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร
เพราะเขามักจะคิดว่า เขาอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึงวันนั้น
ไม่ต้องสนใจอนาคต สิ่งที่มนุษย์ขั้วนี้จะทำก็คือ
ทำอะไรก็ได้ให้ผลประโยชน์วนกลับมาที่ตัวเขาให้เร็วที่สุดในปัจจุบัน
สำหรับแถลงการณ์ในวันนี้ ของนักวิชาการ และคณาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย
เชื่อว่าพวกเขาได้ใช้ความรู้ และประสบการณ์เท่าที่มีอยู่ ในการคิด
วิเคราะห์ ถึงโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศ
และมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูง ว่ามันจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีในอนาคต
พวกเขาจึงกล้าที่จะเลือกเป็นมนุษย์ขั้วที่ 2 ถึงแม้ว่าคนที่เขากำลังคัดค้านจะมีอำนาจมากในตอนนี้
ที่เขากล้าก็อาจเป็นเพราะว่า เขาคิดว่าจะทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่ามันจะดีต่อสังคม
และเขาอาจเติบโตมากับความเชื่อในความรับผิดชอบต่อสังคม
ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะดูเหมือนว่ามีโอกาสน้อยมาก
ที่รัฐบาลจะเปลี่ยนใจในการแจกเงินดิจิทัล 560,000 ล้านบาท
แต่ขอให้รู้ไว้ว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะกดปุ่มนี้จะเป็นผลการกระทำ
ที่ทุกคนในประเทศต้องมารับการกระทำครั้งนี้ไปจนถึงรุ่นลูกหลาน
สุดท้ายนี้ คงต้องถามกลับไปที่คนมีอำนาจในการกดปุ่มอีกครั้ง

ว่าคุณอยากเป็นมนุษย์ขั้วที่ 1 หรือขั้วที่ 2
“ถ้าแพทย์รักษาผู้ป่วยผิดพลาด อาจสร้างผลกระทบกับชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
ถ้าวิศวกรสร้างตึกผิดพลาด อาจจะหมายถึงชีวิต
คนหลายสิบหรือหลายร้อยคนที่ใช้งาน
แต่ถ้านักเศรษฐศาสตร์ทำนโยบายเศรษฐกิจผิดพลาดแล้ว

อาจจะกระทบต่อชีวิตของคนหลายสิบล้านคนทั้งประเทศ”
~ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์
อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
******
ก่อนที่อดีตผู้ว่าแบงค์ชาติและคณาจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ทั่วประเทศ
จะรวมตัวกันออกแถลงการณ์คัดค้านนโยบายแจกเงินหมื่นดิจิทัลของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
ผมได้ออกมาวิจารณ์เรื่องนี้ผ่านบทความ
"อีโก้ของพรรคเพื่อไทยเรื่องแจกเงินหมื่ดิจิทัล
กับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ไม่เป็นใจเลย"
อยู่ก่อนแล้ว
โค๊ด:
https://www.thaipost.net/x-cite-news/460053/
ตอนนี้คือโอกาสทองที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะก้าวลงอย่างสง่างาม
และไม่เสียหน้าแล้วนะครับ
ปรับแก้-ยกเลิกการแจกเงินหมื่นดิจิทัลในรูปแบบเดิมที่ใช้หาเสียงเถิดครับ
ด้วยความปรารถนาดี
~ สุวินัย ภรณวลัย
Suvinai Pornavalai

บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2023, 10:59:48 am »

ดิจิตอลท่าจะแท้ง
รัฐบาลออกอาการกลัวๆกล้าๆยึกๆยักๆ
ไม่กล้าเดินหน้าเต็มสูบอย่างที่โม้
เงินก็ยังหาไม่ได้ ตัดงบก็ไม่ได้
จะกู้เงินก็มีปัญหา
เงินนอกระบบก็ติดขัด
ตอบไม่ได้ว่าทำไมต้องแปลง
เอาเงินสดไปแลกเงินทิพย์
หกเดือนแลกกลับมาเป็นเงินสด
ทำไปทำไม
แถมติดขัดระบบซุปเปอร์แอป
ใครเขียน ใครจ้าง ใครจะรับผิดชอบระบบ
ประการสำคัญ คนจ้องจับผิดเยอะไปหมด
ไม่ตรงไปตรงมา มีรูโหว่
อาจผิดกฏหมายหลายฉบับ
หนีทางโน้น ติดทางนี้
คนทำไม่กล้าตัดสินใจ หาคนรับผิดชอบ
รอนายกนั่งทุบโต๊ะ
ต่างคนต่างถอย หัวหมู่ทะลวงฟันหาไม่มี
ตัวอย่างจำนำข้าวชัดเจน
คุกๆๆๆๆ
ถอยดีกว่า. ไม่เอาดีกว่า

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!