มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ ผู้อาศัย "แอชตัน อโศก" มีสิทธิเลิกสัญญา-ขอเงินคืนได้ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000068236
จากกรณีศาลปกครองสูงสุดพิพากษา สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง
โครงการคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศก ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทย่อยของ
บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน)
เนื่องจากโครงการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผิดข้อกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ทำให้ผู้ซื้อคอนโดฯ แอชตัน อโศก กว่า 700 ราย ได้รับผลกระทบ
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม
นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างอาคารผิดกฎหมาย
เกิดจากรัฐไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่บังคับใช้กฎหมายตั้งแต่ต้น
ปล่อยให้ผู้ประกอบการสร้างอาคารที่ผิดกฎหมาย เมื่อเปิดใช้อาคารแล้ว
และศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตฯ ผู้เสียหายจากการที่อาคารต้องถูกรื้อถอนนั้น
คือ ผู้บริโภค เพราะฉะนั้นคนที่ต้องออกมารับผิดชอบ คือ ผู้ประกอบการ
ต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้ผู้บริโภคในทุกกรณีก่อน
ส่วนการที่ผู้ประกอบการจะไปเรียกร้อง
กับหน่วยงานที่อนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นเรื่องคนละส่วนกัน
ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
กล่าวว่า กรณีนี้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ผู้บริโภคซื้อห้องแล้วอยู่อาศัยไม่ได้ตลอดไปตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อ
ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนมีสิทธิ์ยกเลิกสัญญา
และขอให้บริษัทคืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย
ซึ่งทางมูลนิธิฯ จะช่วยเหลือในเรื่องของการดำเนินคดี
กับบริษัทที่เป็นเจ้าของโครงการ
รองผู้อำนวยการมูลนิธิฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า มูลนิธิฯ ต้องการเตือน
คนที่กำลังจะซื้อคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่พิเศษควรจะตรวจสอบข้อมูลให้ดี
เช่น การตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่ดำเนินการขายและก่อสร้าง
และ การตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตของผู้ประกอบการ เป็นต้น
เพราะอาจพบปัญหา เช่น อาจจะไม่ได้ห้อง เพราะคอนโดไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง
หรือซื้อแล้วอาจจะถูกรื้อถอน เพราะเป็นการก่อสร้างที่ผิดกฎหมาย
เนื่องจากปัจจุบันคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพฯ
อาจจะมีการสร้างแบบผิดกฎหมายและถูกร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
และไม่ได้ถูกระงับการสร้างชั่วคราวในระหว่างตรวจสอบ
ทำให้มีการสร้างต่อไปเรื่อยๆ จนเปิดใช้อาคาร
สุดท้ายหากศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สั่งรื้อถอน คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้บริโภค
ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ ยินดีช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้
ในการเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้ประกอบการ
โดยผู้บริโภคที่มีปัญหาสามารถร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตามรายละเอียด ดังนี้
1. แจ้งชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้
2. เอกสารซื้อขายคอนโด
3. เอกสารใบเสร็จรับเงิน
4. เอกสารการเป็นเจ้าของห้องชุด (ในกรณีที่โอนกรรมสิทธิ์แล้ว)
ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค mail :
complaint@consumerthai.orgสำหรับผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิในเรื่องต่างๆ
สามารถปรึกษาและร้องเรียนได้ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
4/2 ซอยวัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ติดต่อร้องทุกข์ (ศูนย์พิทักษ์สิทธิ) โทร 02-248-3737, 089-788-9152
วันทำการจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.
หรือ
complaint@consumerthai.org