ส่วนประกอบถังดับเพลิงแรงดันต่ำ ข้างในถังมีอะไรบ้าง?.
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 04:18:54 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ส่วนประกอบถังดับเพลิงแรงดันต่ำ ข้างในถังมีอะไรบ้าง?.  (อ่าน 1246 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 24, 2023, 11:57:13 am »

https://www.pohchae.com/2022/06/27/fire-sampeng-2/
ส่วนประกอบถังดับเพลิงแรงดันต่ำ ข้างในถังมีอะไรบ้าง?
#ส่วนประกอบ  #ถังดับเพลิง  #แรงดันต่ำ  #ข้างในถัง
-----------

ถังดับเพลิงในปัจจุบันจะมีถังอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน “Stored Pressure Type”ซึ่งก็คือภายในถังได้บรรจุแรงดันไว้เสร็จสรรพ สามารถฉีดใช้งานได้ทันทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน อีกชนิดหนึ่งคือ”Cartridge Operated Type”ซึ่งจะมีถังก๊าซแยกต่างหากกับตัวถังดับเพลิง ต้องปล่อยแรงดันในถังก๊าซเข้าไปในตัวถังดับเพลิงก่อน จึงจะสามารถฉีดใช้งานได้ (ประเทศไทยไม่มีผลิต)

โดยข้อดีของ Stored Pressure Type คือสามารถใช้งานได้ง่าย, และมีราคาถูกกว่าแบบ Cartridge Operated มาก แต่จำเป็นต้องบำรุงรักษา ตรวจสอบอะไหล่ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอยู่เป็นประจำ และควรส่งถังกลับมาทำความสะอาดและบรรจุสารเคมีใหม่ทุกๆ 5ปี


รูปตัวอย่างเครื่องดับเพลิงแบบมีท่ออัดก๊าซ (Cartridge Operated Type)
– รูปด้านซ้าย ถังแรงดันแบบซ่อนอยู่ในถังดับเพลิง
– รูปด้านขวา ถังดับเพลิงยี่ห้อ ANSUL จะเป็นถังแรงดันอยู่ภายนอกซ่อนอยู่ในกล่องพลาสติกสีดำ

△ส่วนประกอบภายนอกของถังดับเพลิง แบบอัดแรงดัน Stored Pressure Type

ส่วนประกอบภายนอกของถังดับเพลิง จำเป็นต้องตรวจเช็คให้อยู่ในสภาพดีอยู่เป็นประจำ
1. คันบีบ ต้องไม่ชำรุด ไม่เป็นสนิม ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเวลายกถังหรือเคลื่อนย้าย
2. หัววาล์ว ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ดี แน่น แข็งแรง
3. เกจ์แรงดัน เช็คในแน่ใจว่าแรงดันไม่ตก ในเข็มอยู่ในแถบสีเขียว หากอยู่นอกเหนือแถบสีเขียวควรส่งถังมาตรวจสอบโดยด่วน
4. สายฉีด ต้องไม่ผุกร่อนหรือฉีกขาด โดยเฉพาะปลายสายฉีด ต้องไม่มีเศษสกปรกหรือแมลงมาอุดตัน
5. ตัวถัง ตรวจสอบให้ทั่วให้แน่ใจว่าตัวถังไม่มีแผลถลอกจนเห็นเนื้อเหล็กหรือเป็นสนิม ซึ่งอาจทำให้ตัวถังไม่สามารถรับแรงดันที่บรรจุได้ดีเพียงพอ
(การตรวจเช็คสามารถทำตามป้ายTAG คู่มือตรวจเช็ค ที่มาพร้อมถังดับเพลิงได้)

ภายในถังดับเพลิงประกอบไปด้วย..
1. หัววาล์วและท่อส่ง
ส่วนประกอบนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นจุดที่กักเก็บแรงดัน ถังดับเพลิง ต้องได้ตามแบบมาตรฐาน หัววาล์วต้องมีความแข็งแรง ทนแรงดันและแรงกระแทกได้ดี..

2. ผงเคมีแห้ง
สารเคมีที่บรรจุ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Monoammonium Phosphate (NH4H2PO4) ผสมกับสารประกอบอื่นๆเพื่อให้ผงเคมีมีความลื่นไม่เกาะตัว ไม่อุดตันเมื่อฉีดใช้งาน หรือเรียกกันว่า ABC Powder มีประสิทธิภาพในการดับไฟได้ดี สามารถดับได้ทั้ง Class A,B,C ทั้งนี้ความเข้มข้นของสารเคมีขึ้นอยู่กับ Fire Rating ของแต่ละรุ่น

สารเคมีอีกประเภทหนึ่งที่มีใช้กัน จะมีส่วนผสมหลักคือ Sodium Bicarbonate (NaHCO3) หรือเรียกกันว่า BC Powder สามารถดับได้เฉพาะไฟ Class B และ C สารเคมีชนิดนี้มีราคาถูกกว่าแต่ประสิทธิภาพในการดับไฟจะด้อยกว่า ABC Powder ทั้งนี้สารเคมีทั้ง2ชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อคนแต่ฝุ่นผงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองบ้างเล็กน้อย

วิธีสังเกตุความแตกต่าง
สารเคมีประเภท BC (Sodium Bicarbonate) จะมีรหัส Fire Rating เฉพาะค่า B เท่านั้น เช่น 1B และ 2B
สารเคมีประเภท ABC (Monoammonium Phosphate) จะระบุทั้ง A และ B เช่น 2A-2B, 4A-10B, 10A-40B

3. ก๊าซที่บรรจุ
ก๊าซที่บรรจุอยู่ในถังดับเพลิง จะใช้เป็นก๊าซไนโตรเจน Nitrogen(N2) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือเมื่อโดนความร้อน ก๊าซจะไม่ขยายตัว ทำให้แรงดันไม่เพิ่มขึ้น ต่างกับออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซต์หากโดนความร้อนจะมีการขยายตัวทำให้แรงดันอาจพุ่งขึ้นสูงหรือลงต่ำกว่ากำหนด

หลักการทำงานของเครื่องดับเพลิง
เมื่อบีบคันบีบ จะทำให้หัววาล์วเปิดหน้าวาล์วปล่อยแรงดันออกจากถังดับเพลิง โดยที่แรงดันจะทำหน้าที่ผลักให้ผงเคมีแห้งที่อยู่ภายในถังถูกดันให้ผ่านท่อส่ง วาล์ว และออกมายังสายฉีด..

ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์เวอร์ชั่นใหม่ของพวกเราได้ที่ > https://www.pohchae.com/2023/06/24/fire-extinguisher-components/



บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2023, 12:40:09 pm »

ถังดับเพลิงชนิดCo2(คาร์บอนไดออกไซด์) ใช้งานต้องระวังเพราะแรงดันภายในสูงมาก
https://www.pohchae.com/2023/06/24/co2-fire-extinguishers/
#ถังดับเพลิงชนิดCo2   #คาร์บอนไดออกไซด์   #ระวัง     #แรงดันภายในถังสูงมาก
--------------


ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) คือ ถังดับเพลิงที่มีน้ำยาทำมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ และไม่นำไฟฟ้า นำมาบรรจุในถังดับเพลิงสีแดงที่ทนแรงดันสูง แรงดันประมาณ 800-1200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (800-1200PSI) หากถามว่าแรงดันมากขนาดไหน ให้นึกถึงลมยางรถยนต์จะมีแรงดันเพียง 30-50 PSI เท่านั้น

ตัวถังดับเพลิงCo2จะหนักและหนากว่าถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ และที่ปลายสายฉีด จะเป็นกระบอก หรือกรวย สามารถดับไฟ โดยการคลุมดับและตัดออกซิเจน โดยการฉีดเข้าใกล้ฐานไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5-2 เมตร และที่ตัวถังจะไม่มีเกจ์วัดแรงดันจึงสามารถเช็กคุณภาพได้ด้วยน้ำหนัก คือ ลดเกิน 20% คือมีปัญหา..

เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีน้ำหนักมากกว่าอากาศถึง 1.5 เท่า ขณะใช้งาน จะทำให้ปริมาณของก๊าซออกซิเจน หรือปริมาณไอเชื้อเพลิงในอากาศลดลงถึงจุดที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ ทำให้ไฟดับลง

เมื่อใช้งานแล้วจะไม่มีคราบสกปรกหลงเหลือหลังฉีด  แต่จะมีเสียงค่อนข้างดังเมื่อใช้ ถังดับเพลิง Co2 มักนิยมใช้ภายในอาคารที่ต้องการความสะอาด หรือมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เป็นสื่อของกระแสไฟฟ้า และเมื่อใช้งานแล้วสามารถนำถังดับเพลิงกลับมาใช้ได้อีก..

วิธีการใช้งานนั้นง่าย เพียงแค่ ดึง ปลด กด ส่าย เช่นเดียวกับถังดับเพลิงชนิดอื่น ๆ เช่น ถังดับเพลิงน้ำยาโฟม

ถังดับเพลิง Co2 สามารถใช้ดับไฟประเภท B และ C ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    Class B ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิงต่าง ๆ
    Class C ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจากแผงวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า

ถังดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเหมาะสำหรับในสถานที่ต่อไปนี้ เช่น ห้องไฟฟ้า, ห้องเซฟเวอร์, ห้องที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, สถานที่ที่ต้องการความสะอาด..

ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์เวอร์ชั่นใหม่ของพวกเราได้ที่ >  https://www.pohchae.com/2023/06/24/co2-fire-extinguishers/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!