มาอีกแล้ว จอม โปรเจ็กต์ (project) รถไฟฟ้าโมโนเรล แลนด์มาร์คแห่งใหม่ จ.ปทุมฯ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 03:23:28 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาอีกแล้ว จอม โปรเจ็กต์ (project) รถไฟฟ้าโมโนเรล แลนด์มาร์คแห่งใหม่ จ.ปทุมฯ  (อ่าน 2210 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2022, 09:38:38 pm »


---------------------------------------------------
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี
 10 พ.ค.65

มาอีกแล้ว จอม โปรเจ็กต์ (project)

ปทุมธานี บิ๊กแจ๊สเดินหน้าลุย
เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าโมโนเรล
พร้อมเลนปั่นจักรยานลอยฟ้า
เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ประเทศไทย
    เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม 2565
ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
เป็นประธานการประชุมเดินหน้าการดำเนิน
โครงการระบบขนส่งมวลชนลอยฟ้าจังหวัดปทุมธานี
(Pathumthani Sky Railway)
หรือรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบแขวนรางเดี่ยว
เพื่อพัฒนาเมืองแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด
เพื่อการรองรับการขยายตัวจังหวัดปทุมธานี
โดยมี นางรุจศลักษณ์ ธูปกระจ่าง ตั้งวงษ์เลิศ เลขานุการนายก อบจ.ปทุมธานี ,
ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต ,
ดร.สุรพงษ์ เป้ากลาง ประธานหอการค้าจังหวัดปทุมธานี ,
นายชวลิต ครองสิน อดีตประธานสภาอุตสาหกรรม,
นายไพจิตร โพธิ์จันทร์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงปทุมธานี ,
นางสาวบุษณี แพร่วิศวกิจ โยธาธิการและผังเมืองปทุมธานี ,
นายสมจิตร์ ทองบริสุทธิ์ ธนารักษ์จังหวัดปทุมธานี ,
หัวหน้าส่วนราชการ, ผู้บริหารท้องถิ่น ,
และสมาชิก สภา อบจ. ทั้ง 36 เขต 7 อำเภอในจังหวัดปทุมธานี
ร่วมแสดงความคิดเห็นตามที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
จะดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนลอยฟ้าจังหวัดปทุมธานี
(Pathumthani Sky Railway)
เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
เพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ตรงต่อเวลา ปลอดภัย
สามารถเข้าถึงได้ทุกคน อีกทั้งยังช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
ซึ่งจะลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว
สร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้วยรูปแบบของระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย
และส่งเสริมทัศนียภาพของเมืองเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการคมนาคมขนส่ง
โดยเส้นทางระบบขนส่งมวลชนลอยฟ้าจังหวัดปทุมธานี
รถไฟฟ้าโมโนเรลแบบแขวนรางเดี่ยว
มีเลนปั่นจักรยานอยู่บนรางของรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าอยู่ด้วยล่าง
 มี 2 เฟสประกอบด้วย เฟสแรก 2 เส้นทาง คือ

เส้นทางฟิวเจอร์รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะทาง 33.25 กิโลเมตร
และเส้นทาง คลองสาม-สถานีคูคต
ระยะทาง 16.45 กิโลเมตร

ส่วนเฟสที่ 2 คือเส้นทางสถนนีรังสิต-เมืองปทุมธานี
ระยะทาง 10.7 กิโลเมตร รวมระยะทาง 60.4 กิโลเมตร

     ด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธุปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า
เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลเราได้ประชุมกันมาหลายครั้งแล้ว
มีรายละเอียดที่เยอะ แต่เดินหน้าไปเยอะมาก
รวมถึงมีหลายหน่วยงานที่จะต้องบูรณาการร่วมกัน
เช่นพื้นที่ของธนารักษ์ แขวงทางหลวง ชลประทาน
จึงจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันจึงต้องประชุม
ต้องมีการค้นคว้าวิจัย รายละเอียดในการจัดสร้าง

ในส่วนผู้ลงทุนไม่มีปัญหาทั้งกลุ่มของญี่ปุ่นและจีน
ที่มีความพร้อมจะมาลงทุนที่เรา

ในส่วนของเราจะต้องเตรียมความพร้อมโดยใช้งบของ อบจ.
ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย ข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ทั้งหมด
โดยเราให้ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นผู้ศึกษาวิจัยที่ใช้งบของ อบจ.
แต่งบของ อบจ.คงไม่เพียงพอ
อยู่ระหว่างการต่อรองในการใช้งบประมาณ
หากเราไม่เริ่มตั้งแต่จุดนี้ก็จะเริ่มต้นไม่ได้โดยเด็จขาด
เราต้องยอมให้จุดนี้เพื่อให้มีการเริ่มต้นจน
ถึงให้มีการก่อสร้างได้ภายใน 1-2 ปีนี้


ส่วนโครงการจะเสร็จในอีก 3-4 ปี ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
วันนี้มีความคืบหน้าไปเยอะ เราได้เชิญประธานหอการค้า
ประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสภาการท่องเที่ยว
ผอ.เขตแขวงการทาง และอีกหลายหน่วยงาน
มีร่วมแสดงความคิดเห็น ผมถือว่าวันนี้
ก็ประสบความสำเร็จที่ทุกคนได้รับรู้
และทุกคนก็อยากได้โครงการนี้ให้เกิดขึ้น
ซึ่งโครงการนี้เป็นจุดสำคัญเป็นไฮไลท์ของจังหวัดปทุมธานี
เพราะว่าทั้งสายที่เราทำให้จังหวัดปทุมธานี
เราสามารถไปเชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่คูคต
กับสถานีสีแดงที่นครรังสิต
พี่น้องประชาชนจะสะดวกในการเดินทางรวม
ถึงสามารถใช้เป็นเส้นทางในการเข้ากรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้การออกแบบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลด้านบน
จะเป็นเลนปั่นจักรยานลอยฟ้าที่สามารถปั่นเชื่อมโยง
ในระยะทางกว่า 60 กิโลเมตร พี่น้องชาวปทุมธานี
รวมถึงชาวต่างจังหวัดสามารถ
เดินทางเข้ามาปั่นจักรยานออกกำลังกายได้
ไม่ต้องไปเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ.

ภาพ/ข่าว สมาคมนักข่าวจังหวัดปทุมธานี
อังคาร 10 พ.ค.65


บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2022, 09:42:14 pm »


-----------------------------------------------------------
เมื่อ พฤหัส 1 กรกฎา 2564

ภารกิจพลิกโฉมเมือง‘ปทุมธานี’ เนรมิตรถไฟฟ้า4สายใหม่
แก้รถติด เชื่อม‘กรุงเทพฯ’ไร้รอยต่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังวิกฤต ระส่ำระสายใน
หลายพื้นที่ของประเทศไทย

โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
มียอดติดเชื้อรายวันพุ่งทะลุหลักพันติดกันหลายวัน

“ปทุมธานี” เป็นหนึ่งในจังหวัดมียอดติดโควิดพุ่งหลักร้อยต่อเนื่องทุกวัน
รวมสะสมตั้งแต่ระลอกวันที่ 1 เมษายน-28 มิถุนายน 2564 พุ่ง 7,535 ราย

‘บิ๊กแจ๊ส’บริหาร‘วัคซีน’ควบคู่‘แก้ปัญหารถติด’
ปัจจุบัน “บิ๊กแจ๊ส-พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง”
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
กำลังจัดสรรวัคซีน จัดคิวฉีดให้ชาวปทุมธานี
หลังประกาศซื้อวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม”
จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 500,000 โดส
เริ่มปักเข็มแรกตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนเป็นต้นไป

แม้โควิดยังรุมเร้า
แต่การพัฒนาจังหวัดไม่หยุด
ยังคงเดินหน้าคู่ขนาน

จากภารกิจบริหารวัคซีนโควิด “บิ๊กแจ๊ส”
กำลังเดินหน้าแก้ปัญหาการจราจร ซึ่งวิกฤต
ไม่แพ้มหานคร “กรุงเทพฯ”

เตรียมเดินหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา หรือโมโนเรล
เชื่อมกับรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี
ที่รัฐบาลทุ่มเม็ดเงินกว่าแสนล้าน
สร้างจากกรุงเทพมหานครมาถึงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
เพื่อเชื่อมการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ

สายแรกรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
ที่เปิดบริการตลอดสายเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา

ล่าสุดถึงคิวรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต
และบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเปิดหวูดวิ่งปลายเดือนกรกฎาคมนี้

“ปัญหาจราจรในพื้นที่ปทุมธานี ยังไม่ได้รับการแก้ไข
โดยเฉพาะถนนรังสิต-องครักษ์ ถนนลำลูกกา-คูคต และคลองหลวง
จึงให้บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด ทำการสำรวจว่ารถไฟฟ้าโมโนเรล
จะสร้างเส้นทางไหนได้บ้างเพื่อแก้ปัญหารถติด
ต้องเร่งคือรังสิต-องครักษ์ที่รถติดมากสุด”

นี่คือสิ่งที่ “บิ๊กแจ๊ส” คิด ซึ่งรถไฟฟ้าโมโนเรล
เป็นหนึ่งใน 11 นโยบายหาเสียง
และกำลังผลักดันให้เป็นจริง

เมื่อศักยภาพของจังหวัดปทุมธานีในวันนี้
เป็น “เกตเวย์” ของกรุงเทพมหานคร
เป็นหนึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ
เป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน เมืองการศึกษา
มีคนอยู่อาศัยมากกว่า 1 ล้านคน
จึงทำให้การจราจรวิกฤตไม่ต่างจากใจกลางเมือง

ดังนั้น การมีรถไฟฟ้าโมโนเรลเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายหลัก
ให้สามารถเดินทางยิงตรงเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว
น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ จูงใจคนมาใช้ระบบขนสาธารณะ
แทนรถส่วนตัว ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรไปได้บ้าง

ดึงเอกชนลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรล 4 เส้นทาง
“เสวก ประเสริฐสุข” รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
กล่าวว่า นโยบายของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ที่จะพัฒนาจังหวัดปทุมธานี
มีหลายโครงการจะเดินหน้าควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19

ปัญหาการจราจรก็เป็นนโยบายสำคัญ
อยู่ระหว่างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาความเหมาะสม
โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล จะเป็นโมเดล
คล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน)
ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดำเนินการก่อสร้าง
เพื่อเป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อ
กับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว

ขีดแนวไว้ 4 เส้นทาง เส้นทางแรก
จากสถานีรังสิตของสายสีแดง
ผ่านหน้าเทศบาลนครรังสิต ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค
จากนั้นเลาะไปตามคลองด้านข้างถนนรังสิต-องครักษ์
ไปสิ้นสุดที่คลอง 6 หรือคลอง 7
จะให้แนวเข้าไปเชื่อมกับสวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่
และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย

เส้นทางที่ 2 แนวจะฉีกจากเส้นทางแรก
เลียบไปกับถนนรังสิตคลอง 3 วิ่งไปตามถนนคลองหลวง
ผ่านวัดพระธรรมกาย ยกข้ามถนนพหลโยธิน
ไปสิ้นสุดที่สถานีธรรมศาสตร์รังสิตของสายสีแดง

เส้นทางที่ 3 จากศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค
วิ่งตัดตรงไปทางสนามกีฬาธูปะเตมีย์ และ
สิ้นสุดที่แยก คปอ. เชื่อมกับสายสีเขียว

และ เส้นทางที่ 4 จากสถานีรังสิตสายสีแดง
ไปตามถนนรังสิต-ปทุมธานี มุ่งหน้าบางพูน
ผ่านโรงพยาบาลเซนต์คาร์ลอส ข้ามแม่น้ำ ไปสิ้นสุดถนนราชพฤกษ์
ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่ทำการใหม่ของ อบจ.ปทุมธานี
กำลังจะเริ่มถมดินปลายปีนี้
และก่อสร้างภายในปี 2565
วงเงินกว่า 500 ล้านบาท

“เสวก” เปิดโมเดลรูปแบบการลงทุน
จะเป็นรูปแบบรัฐและเอกชนร่วมลงทุน หรือพีพีพี
ขณะนี้มีเอกชน 3 รายสนใจจะร่วมลงทุน
ประเดิมเส้นทางแรก
จากสถานีรังสิต-เทศบาลนครรังสิต-ฟิวเจอร์พาร์ค-รังสิตคลอง 6 และคลอง 7
 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
อีก 3 เดือนจะสรุปแบบก่อสร้าง

เงินลงทุน แต่การดำเนินการยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน (7ชั่วโคตร)

เช่น การขออนุญาตกรมทางหลวง
ขอใช้พื้นที่ถนนรังสิต-องครักษ์
เพื่อก่อสร้างทางวิ่งยกระดับจะเลาะไปตามคลองรังสิต
เนื่องจากพื้นที่เกาะกลางถนนในอนาคต
กรมทางหลวงมีแผนจะสร้างถนนสองชั้น
(แผนมีมา 10 กว่าปีแล้ว หายเข้ากลีบเมฆ)
จึงไม่สามารถใช้พื้นที่ได้ นอกจากนี้ยังต้องทำรายงาน
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการอีกด้วย

“จะเร่งให้เริ่มงานก่อสร้างภายในปลายปี 2566
ใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปี เมื่อแล้วเสร็จช่วยแก้ปัญหารถติด
บนถนนรังสิต-องครักษ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
เพราะอยู่ใกล้กับสวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่ เนื้อที่ 300 กว่าไร่
กำลังก่อสร้างจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปี
ยังมีสวนสนุกดรีมเวิลด์อีกด้วย”

“เสวก” บอกว่า การที่จังหวัดเลือกรถไฟฟ้าโมโนเรล
มาแก้ปัญหารถติด เนื่องจากพื้นที่ถนนด้านล่าง
ไม่สามารถจะขยายได้อีก ถ้าทำต้องเวนคืนที่ดิน
และใช้งบประมาณก่อสร้างสูง
ขณะที่รถไฟฟ้าเป็นทางยกระดับ สร้างเป็นเสาเดี่ยว
ต้นทุนต่ำกว่า ตอบโจทย์การเดินทางได้มากกว่า
ซึ่งย่านรังสิตตั้งแต่คลอง 1 ถึง
คลอง 6 มีคนอยู่อาศัยมากถึง 200,000 คน

อัพเกรดถนนปรับ‘ภูมิทัศน์เมือง’รับนักท่องเที่ยว
นอกจากรถไฟฟ้าที่กำลังเร่งรัด “เสวก” เล่าว่า
อบจ.ยังมีแผนปรับปรุงถนนลาดยาง
ให้เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด
โดยจะเสริมความหนาผิวถนนเพิ่มอีก 20 เซนติเมตร
เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัว
(โม้ ไปงั้น ราคาคุย ถนนหน้าหมู่บ้านชมฟ้าคลอง2
ยังกะ นรก ไม่เห็นหมามอง เลยสักตัว)

“ปัจจุบันปทุมธานีมีถนนลาดยางอยู่ 50% ต่อไปจะไม่มีแล้ว
เราจะปรับเป็นคอนกรีตให้หมด ในปี 2564
ได้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทปรับปรุง
เริ่มประมูลก่อสร้างแล้ว 10 โครงการ
คิดเป็นมูลค่างาน 200 ล้านบาท
และจะจัดสรรงบประมาณเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆ ไป”

รองบ อิ่มกันหละ

นอกจากนี้จะปรับภูมิทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยา
ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ไม่ให้มีผักตบชวา
โดยได้ซื้อเรือใหญ่ 2 ลำเก็บผักตบชวา
ซื้อแบ๊กโฮวิ่งในแม่น้ำได้เพื่อตกแต่งริมแม่น้ำให้สวยงาม
และมีแผนจะติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่าง
ตลอดแนวสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
รวมระยะทาง 40 กิโลเมตร ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้ว
อยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ

“แบบก่อสร้างจะตอกเสาเข็มลงไปในแม่น้ำ
และทำเสาไฟฟ้าติดดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปทุมธานี
อยู่บนผิวน้ำ จะติดตั้งหลาย 1,000 ต้น
ใช้เงินลงทุนต้นละ 30,000-40,000 บาท
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณด้วยว่าจะได้รับหรือไม่
ยังเป็นเพียงแนวคิดว่าเราจะทำ
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวริมแม่น้ำของจังหวัด”

ภาษีประชาชนช่วยกัน "ถลุง" หน่อย

จากแม่น้ำเจ้าพระยา “เสวก” บอกอีกว่า
จะตกแต่งคลองรังสิตให้มีความสวยงามเช่นกัน
แต่จะไม่มีการสร้างท่าเรือเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือ
เหมือนคลองแสนแสบ เนื่องจากคลองรังสิตแนว
จะคู่ขนานไปกับถนน ซึ่งประชาชนจะใช้รถยนต์ส่วนตัว
หรือรถโดยสารสาธารณะ จะไม่นิยมนั่งเรือโดยสาร


อีกทั้งยังมีแผนจะพัฒนาบึงพระราม 9
อยู่บริเวณรังสิตคลอง 5
หลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เนื้อที่ประมาณ 1,700 ไร่ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
พักผ่อน ออกกำลังกาย เป็นปอดของคนปทุมธานี

“ต่อไปปทุมธานีจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุด
และมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุด เพื่อดึงคนไทยและต่างชาติ
มาท่องเที่ยวหลังโควิดคลี่คลาย บรรยากาศต่างๆ
 คงจะกลับมาคึกคักมากขึ้น” เสวกกล่าวย้ำ

ลงทุน‘รถไฟฟ้า-รถแทรม’เชื่อมสายสีแดง-สีเขียว
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของภาคเอกชน
มีหลายรายสนใจจะพัฒนาระบบฟีดเดอร์ “มารุต ศิริโก”
กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (AMR)
ผู้ออกแบบติดตั้งระบบรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า
บริษัทสนใจจะร่วมลงทุนรถไฟฟ้ากับ อบจ.ปทุมธานี
เป็นระบบ Sky Shuttle (รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
เหมือนรถไฟฟ้าสายสีทอง

จึงเสนอแนวคิดโครงการให้ อบจ.ปทุมธานีพิจารณา
เพื่อเป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมกับสาย
สีแดง โดยเส้นทางที่บริษัทสนใจ คือ
สร้างจากสถานีรังสิตของสายสีแดง
ผ่านเทศบาลนครรังสิตมายังฟิวเจอร์พาร์ค
ระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร
ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท
ต่อมาทางนายก อบจ.ให้คิดเป็นภาพรวมทั้งจังหวัด
จึงได้เสนอเพิ่มอีกเส้นทางคือ
จากฟิวเจอร์พาร์คลงมาทางสนาม
กีฬาธูปะเตมีย์ไปถึงแยก คปอ.เพื่อเชื่อมกับสายสีเขียว
ขณะที่ อบจ.ก็มีแนวคิด
จะต่อขยายไปถึงรังสิต-องครักษ์คลอง 6
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“สิ่งที่เราคิด คือ คนปทุมธานีสามารถนั่งรถไฟฟ้าเข้ากรุงเทพฯได้สองทาง
ทั้งสายสีแดงและสายสีเขียว จึงเสนอ 2 เส้นทางดังกล่าว
ในช่วงแรกสร้างจากสถานีรังสิตของสายสีแดง
มาถึงฟิวเจอร์พาร์คก่อน จากนั้นถึงขยายเส้นทางไปถึงรังสิตคลอง 6”

“มารุต” อธิบายว่า เนื่องจากการขยายเส้นทาง
ออกไปถึงรังสิต-องครักษ์ ต้องศึกษารายละเอียด
ดูพฤติกรรมการเดินทางของคนด้วย เพื่อให้การลงทุนรถไฟฟ้า
ตอบโจทย์คนใช้บริการจริงๆ รวมถึงมูลค่าเม็ดเงินที่จะใช้ลงทุน
ซึ่งต้นทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบนี้
อยู่ที่กิโลเมตรละ 500 ล้านบาท รวม 15 กิโลเมตร
ใช้เงินลงทุน 7,500 ล้านบาท
ถ้ารวมงานระบบอีก 2,000 ล้านบาท
จะเฉียด 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ต้องรอดูผลการศึกษารายละเอียดที่
อบจ.ปทุมธานีให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาด้วยเช่นกัน



“เราเห็นความสำเร็จของสายสีทอง เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับ
ที่เราทำระบบให้ คิดว่าถ้าทำแล้วน่าจะเป็นทางเลือกใหม่
ในการเดินทางกับจังหวัดปทุมธานี เพราะใช้เงินลงทุนไม่สูง
เรามีพันธมิตรจีนที่สนใจร่วมลงทุน
พร้อมจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้สามารถ
นำบางส่วนมาผลิตที่ไทยได้ ทำให้ต้นทุนถูกลง โดยจะให้
รังสิตเป็นโมเดลนำร่อง”
เป็นไอเดียของภาคเอกชนที่สนใจนำเสนอต่อรัฐ



อีกรายที่ไม่ยอมตกขบวนบริษัท
ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
ผู้รับสัมปทานโทลล์เวย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564
ได้เข้าหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
นำเสนอแนวคิดระบบการเชื่อมต่อกับสถานีรังสิต
เพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง
ที่จะเปิดใช้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้

โดยจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษารายละเอียด
สนใจจะลงทุนใน 3 เส้นทาง ได้แก่

1.สถานีรังสิตผ่านฟิวเจอร์พาร์คไปถึงรังสิตคลอง 7
2.สถานีรังสิตผ่านฟิวเจอร์พาร์ควิ่งไปตามถนนพหลโยธิน
ไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
3.สถานีรังสิตผ่านฟิวเจอร์พาร์คไปทาง
สนามกีฬาธูปะเตมีย์ สิ้นสุดที่แยก คปอ. เชื่อมกับสายสีเขียว

“ธานินทร์ พานิชชีวะ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท
ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
หลัง สนข.มีแผนจะทำระบบฟีดเดอร์ในรัศมี 3 กิโลเมตร
ของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง
เพื่อให้เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก
บริษัทมีความสนใจจะลงทุน
อยู่ระหว่างศึกษาเลือกระบบเทคโนโลยีให้เหมาะสม
กับพื้นที่ มี 3 ระบบคือ
ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (ART)
รถไฟฟ้าล้อเหล็ก (รถแทรม) และรถโดยสาร
ใช้พลังงานไฟฟ้า (EV Bus)

ภายในปีนี้ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ
รอผลสำรวจรายละเอียดเส้นทางว่าเส้นทางไหนดีที่สุด
มีคนใช้บริการมากน้อยแค่ไหน
จากนั้นถึงจะเป็นขั้นตอนการเดินหน้าโครงการ
เช่น เงินลงทุน ผู้ร่วมลงทุน การขออนุญาตหน่วยงานต่างๆ
คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง(7 ชั่วโคตร)

ยกระดับถนนรังสิต-องครักษ์จาก‘ทางลอยฟ้า’สู่‘ทางด่วนสายใหม่’

ในอนาคต (ไม่รู้เมื่อไหร่?) จังหวัดปทุมธานียังมีถนนลอยฟ้าสายใหม่
ที่สร้างจากปทุมธานี-รังสิต-องครักษ์ ซึ่งโครงการนี้
“สราวุธ ทรงศิวิไล” อธิบดีกรมทางหลวง บอกว่า
กรมทางหลวงได้ศึกษาและออกแบบโครงการเสร็จแล้ว
มีระยะทาง 20.3 กิโลเมตร
 เป็นทางยกระดับอีกชั้นสร้างบนถนนสาย 305 (รังสิต-องครักษ์)
ใช้เงินเวนคืนและก่อสร้างประมาณ 11,000 ล้านบาท

แนวเริ่มต้นบริเวณจุดบรรจบทางหลวงหมายเลข 3100
(ถนนเลียบคลองรังสิต) บริเวณโค้งเมืองเอก
จากนั้นแนวเส้นทางโครงการจะไปทางทิศตะวันออก
ขนานกับแนวคลองรังสิตประยูรศักดิ์
ไปบรรจบกับถนนรังสิต-องครักษ์
โดยแนวจะเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งเหนือโดยตลอด
ไปสิ้นสุดบริเวณกิโลเมตรที่ 16+700 ช่วงคลอง 7
เป็นถนนตัดใหม่ขนาด 4-6 ช่องจราจร

“จะสร้างตอม่อบนคันคลอง
ผิวจราจรจะลอยอยู่เหนือคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์
และแนวที่มาบรรจบกับถนนรังสิต-องครักษ์
แนวจะวางตัวอยู่เกาะกลางถนน จนสิ้นสุดโครงการ”

ถามว่าโครงการจะเดินหน้าได้เมื่อไหร่ “สราวุธ” บอกว่า
หลังกรมทางหลวงได้บูรณาการร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศ ไทย (กทพ.)
จะมอบโครงการให้ กทพ.เป็นผู้ก่อสร้างเป็นทางด่วน
โดยขยายเส้นทางไปเชื่อมกับทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด
กับวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก
เชื่อมโยงการเดินทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก
ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะผลักดันโครงการ
คาดว่าจะเริ่มเดินหน้าได้ภายในปี 2565
เนื่องจากผลการศึกษาทำไว้หลายปีแล้ว
กทพ.ต้องทำการทบทวนเงินลงทุนโครงการใหม่ให้เป็นปัจจุบัน

เป็นภาพการพัฒนาเมือง มาพร้อมการลงทุน
โครงข่ายคมนาคมสายใหม่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
ที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ส่วนจะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน ยังต้องติดตาม

ประเสริฐ จารึก

โค๊ด:
https://www.matichon.co.th/columnists/news_2802502

นั่งเทียน เขียนไปเรื่อย 15 ปีแล้ว
ที่ได้ยิน อภิมหา โปรเจค
แล้ว ก็หายไปกับสายลม
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2022, 09:52:34 pm »

project จะมีทุกปี จอม สร้างภาพ

คนทำงาน เค้าจะไม่ ดีแต่พูด หรอก

 
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2023, 09:21:45 am »

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 15.00 น.
ที่ ห้องประชุมมังกรทอง ชั้น 11 อาคารสำนักงานเทศบาลนครรังสิต
      ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต
ร่วมประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นต่อในการจัดทำ
ระบบนำส่งผู้โดยสาร (Feeder) เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง
บริเวณสถานีรถไฟรังสิต
โครงการจัดช่องเดินรถโดยสารพิเศษเฉพาะ (Bus Lanes)
ชิดเกาะกลางถนน โครงการเพิ่มรถโดยสาร
จากสถานีรถไฟฟ้ารังสิต ถึง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
และทาสี ตีเส้น ปรับปรุงถนนจราจร
โครงการเพิ่มรถโดยสารจากรถไฟฟ้ารังสิต ถึงแยก คปอ.
โดยหน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     โดยมี พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
นายพิเชษฐ์ เจียมบูรเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด
ร้อยตำรวจเอก ทองพูล คำทอง รองสารวัตรจราจร สภ.ธัญบุรี
รศ.ดร.ภาวินี เอี่ยมตระกูล ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัย
และนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์
ผศ.ปณิตา สงวนทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
นายชั้น รักสูงเนิน ผู้แทนภาคประชาชน
ร่วมการประชุมประชาคมในครั้งนี้


เทศบาลนครรังสิตร่วมเดินหน้า MOU
รถไฟฟ้าโมโนเรล แก้ไขปัญหารถติดเพื่อประโยชน์ประชาชน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. ที่
ห้องประชุมหงส์มังกร ชั้น 12 อาคารจอดรถ
สำนักงานเทศบาลนครรังสิต ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

      พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเป็นประธานลงนาม MOU
ความร่วมมือเพื่อดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดปทุมธานี
รถไฟฟ้าโมโนเรลแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด
ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ
และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดปทุมธานี
โดยมีนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้า
ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นสักขีพยานในการลงนาม

    โดยการบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU)

ว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดปทุมธานี
ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ
และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดปทุมธานี
ระหว่าง จังหวัดปทุมธานี มีนายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
เป็นผู้แทนผู้ว่าจังหวัดปทุมธานี , องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ,
เทศบาลนครรังสิต ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต ,
กรมการขนส่งทางราง มีนายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)
และ สำนักงานจังหวัดปทุมธานี ที่ทำการปกครองจังหวัดปทุมธานี
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี
ที่ทำการปกครองอำเภอ (อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา)
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ปทุมธานี สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี
โครงการชลประทานปทุมธานี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี
สำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี
เทศบาลเมืองคูคต หอการค้าจังหวัดปทุมธานี
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี
ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
 รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 22 หน่วยงาน
ร่วมลงนามเพื่อเป็นกรอบแห่งความร่วมมือในการขับเคลื่อน
เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดปทุมธานีได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผ่านความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดปทุมธานีอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่มีการเชื่อมต่อระบบการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในจังหวัดปทุมธานี
การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแต่ละหน่วยงาน

     ด้าน พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า
โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ที่มีความสำคัญ
กับจังหวัดปทุมธานีที่จะพลิกฟื้นปทุมธานี
โดยเฉพาะปัญหาเรื่องรถติดต้องแก้ไขให้เป็นระบบ
ในช่วง 2 ปีที่ผมทำงาน อบจ.มา โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัด
ประธานหอการค้า ขนส่ง ด้านท่องเที่ยว อุตสาหกรรมจังหวัด
และหลาย ๆ ฝ่ายที่ประชุมกันมา 2 ปี วันนี้ได้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว
เราไม่ได้พูดลอย ๆ แล้วโกหกประชาชน วันนี้ถือว่าเป็นการนับหนึ่ง
ที่ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมกัน เพราะว่าการที่รถไฟฟ้าโมโนเรล
จะเกิดได้ไม่ใช่มาจาก อบจ.เพียงหน่วยงานเดียว
แต่เกิดมาจากทุกหน่วยงานมาร่วมกัน
เพราะในพื้นที่ที่เส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน
จะต้องทำ MOU กันทั้งหมด กว่า 22 องค์กรหน่วยงาน

วันนี้ต้องขอบคุณจริง ๆ  ที่ท่านภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ
ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ท่านให้ความสำคัญเดินทางมาร่วมเป็นสักขีพานด้วยตัวท่านเอง
ท่านให้ความสำคัญ แสดงให้เห็นว่าทาง อบจ.กับ รฟม. จับมือกัน
อย่างเหนียวแน่นแน่นอนโครงการนี้
ขอให้ประชาชนสบายใจเลยว่าเกิดได้ และผมมั่นใจว่าเกิดได้ 100 เปอเซ็นต์

เพราะว่างบประมาณที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยทาง อบจ.ได้เตรียมพร้อมไว้แล้ว

ผู้ที่จะมารับช่วงลงทุนทั้ง 5 เฟส พร้อมแล้ว ทั้งกลุ่มทุนจะประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น

เราได้จับมือคุยกันแล้ว ผมมองว่าในรัฐบาลหน้า หากผ่าน ครม.ได้ทุกอย่างจบ

ผมดีใจอย่างยิ่งที่เราจะยกจังหวัดปทุมธานีให้ขึ้นเป็นจังหวัดน่าอยู่ 1 ใน 3 ให้ได้

ซึ่งในปี 2570 สวนสัตว์แห่งประเทศไทยจะมาอยู่ที่คลองหก อำเภอธัญบุรี

ซึ่งปี 2570 จะสร้างเสร็จตามที่พระองค์ท่าน (ร.10) พระราชทานที่ดิน 300 ไร่
เมื่อเราได้ดำเนินการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อให้พี่น้องประชาชนเดินทางได้สะดวก
ไม่เจอกับปัญหารถติด ต่อจากนี้จะมีความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ
จะเรียนให้พี่น้องประชาชนให้ทราบต่อไป
และขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า การ MOU ในวันนี้จะไม่วูบวาบ
ทำให้หายไป ต้องมีคืบหน้าในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

   ส่วน นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า
ในส่วนที่ท่าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
ได้มีความคิดริเริ่มรถไฟฟ้าโมโนเรลที่จังหวัดปทุมธานี
ในส่วนของ รฟม.จะมารับไม้ต่อหลังจากที่มีการศึกษาความเหมาะสมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบรอง
นโยบายภาครัฐจะให้เอกชนร่วมทุนโดยจะต้องมีการดำเนินการต่อไป
ตามที่มีการประชุมร่วมลงทุน จะมีการคัดเลือกเอกชนที่สนใจมาลงทุนในระบบรถไฟฟ้า
ทาง รฟม.จะมีการเริ่มดำเนินการตั้งแต่จุดนั้นไป
และคัดตัวเอกชนร่วมลงทุนในการก่อสร้าง
ที่ผมได้ดูจากการดำเนินการแบบออกเป็น 3 ส่วน
โดยจะดำเนินการในส่วนแรกก่อนคือตั้งแต่

สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงรังสิต

มุ่งหน้าไปยังสวนสัตว์ใหม่ที่คลองหก อ.ธัญบุรี
คาดว่าจะใช่ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง
ขอยืนยันกับชาวจังหวัดปทุมธานีทุกท่านว่า
การดำเนินการรถไฟฟ้าโมโนเรลของจังหวัดปทุมธานี
มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นมา
โดยเส้นทางที่จะดำเนินการนั้นถือว่าเป็นเส้นทางหลัก
ที่จะเชื่อมต่อฝั่งตะวันออกและตะวันตกของจังหวัดปทุมธานี
สามารถนำความเจริญให้กับจังหวัดปทุมธานีอย่างยั่งยืนต่อไป.

 
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2023, 12:03:49 pm »

"เดินหน้าระบบFeeder
เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงรังสิต"
กรรมาธิการอุตสาหกรรมระบบราง รัฐสภา
ดันกลุ่ม “ไทยทีม : ThaiTEAM” เข้าสู่ระบบ
ขับเคลื่อนด้วยรัฐสภาเพื่อยกระดับการพัฒนา
อุตสาหกรรมระบบรางของไทยสู่มืออาชีพ
เดินหน้าปั้นระบบรองเชื่อมโยงสายหลัก
นำร่องป้อนสายสีแดง-สายสีเขียว
(สถานีรังสิต-ฟิวเจอร์พาร์ค -สถานีรถไฟฟ้าคูคต)
ด้านบิ๊กแจ๊ส-นายกอบจ.ปทุมธานี
พร้อมผนึกมธ.-มทร.ธัญบุรีร่วมขับเคลื่อน
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 3 ครั้งที่ 2
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ
เมื่อวันอังคารที่  1 มิถุนายน 2564
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) นั้น

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ส.ส.ลพบุรี เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ
ได้อภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณปี 2565 ในเรื่องเกี่ยวกับโอกาส
การใช้งบประมาณด้านระบบราง โดยเฉพาะระบบรองที่เหมาะสำหรับ
เป็นเส้นทางการเชื่อมโยง(ฟีดเดอร์)กับระบบหลัก
ที่ลงทุนไม่สูงมาก สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการไทยสามารถทำได้
โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศทั้งหมด

ทั้งนี้นายประทวนได้กล่าวถึงแนวทางการจุดประกายเพื่อสร้างโอกาส
ให้ “กลุ่มไทยทีม : ThaiTEAM” ที่เกิดจากการรวมตัวกัน
ของผู้ประกอบการไทยในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ
บริษัท เอเอ็มอาร์เอเซีย จำกัด (มหาชน),
บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด,
บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน)
ร่วมกับสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (ไทยซับคอน)
ซึ่งมีผู้ประกอบการของสมาคมฯไม่น้อยกว่า 400 รายนั้นว่า
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามในครั้งนี้
เพราะโจทย์มีความชัดเจน และหลังจากนี้การพัฒนาระบบราง
โดยกลุ่มไทยทีมจะเข้าไปขับเคลื่อนผ่านระบบรัฐสภามากขึ้น

โดยสาระสำคัญที่นายกรัฐมนตรีได้ตอบการอภิปรายว่า
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนไปแล้วกว่า 2.1 ล้านล้านบาท
จำนวน 162 โครงการ กว่า 70% เป็นการกู้มาเพื่อการลงทุนวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท
เพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศ ส่งเสริมการจ้างงานและมุ่งยกระดับ
ความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งได้เห็นการพัฒนาในหลายๆด้าน
ตลอดช่วงที่ผ่านมาแล้ว อาทิ รถไฟ รถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆในกทม.-ปริมณฑลและภูมิภาค
ตลอดจนถนน สะพาน หรือบ้านผู้มีรายได้น้อยล้วนจัดอยู่ในแผนงานโครงการทั้งสิ้น

นอกจากนั้นยังมีระบบประปา ไฟฟ้า พลังงานที่จะกระจายความเจริญ
ไปสู่ภูมิภาคต่างๆตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมาและยังจะมีเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย
ตามกรอบระยะเวลาและงบประมาณที่มีอยู่
โดยเฉพาะระบบถนนได้ให้นโยบายแก่กระทรวงคมนาคม
ในการซ่อมแซมและขยายเส้นทางเก่าที่มีความจำเป็น
พร้อมสร้างถนนสายใหม่ที่ไม่ผ่านแหล่งชุมชน
เพื่อขยายความเจริญและเพิ่มพื้นที่ทางเศรษฐกิจ

นายประทวนกล่าวต่อว่า กลุ่มไทยทีมจะเน้นไปในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรม
เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
ก็จะมีความเป็นไปได้สูงเนื่องจากขณะนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)
บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัดและการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)
ได้พัฒนารถไฟฟ้าขนาดใหญ่ไว้แล้วหลายเส้นทาง
แต่ยังขาดระบบรองที่จะเป็นฟีดเดอร์ป้อนสู่ระบบหลัก
อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี
และส่วนแบ่งทางการตลาด เหล่านี้ยังไม่ได้เปิดโอกาส
ให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงอย่างเต็มที่

ประการสำคัญยังพบว่าเอกสารประกวดราคาตลอดจนสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง
โครงการต่างๆไม่ได้เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการไทย
แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยได้มีการยกระดับสูงขึ้นสามารถ
ผลิตรถไฟ-รถไฟใช้พลังงานไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า
ตลอดจนระบบอาณัติสัญญาณใช้งานเองได้แล้ว
ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศทั้งหมด
ดังนั้นโอกาสนี้จึงนำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

โปรดเร่งสั่งการให้หน่วยเกี่ยวข้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย
ในนามกลุ่มไทยทีมได้เข้าไปรับงานด้านระบบรางมากขึ้น
โดยขอโอกาสในการพัฒนาระบบรองเป็นโครงการนำร่อง
ก่อนที่ในอนาคตจะก้าวไปสู่ระบบหลักต่อไป
ทั้งนี้กรรมาธิการอุตสาหกรรมและกลุ่มไทยทีมได้คิดนอกกรอบ
ด้วยการเริ่มพัฒนาระบบรองขนาดเล็กให้สามารถใช้งานได้ก่อน
โดยในเบื้องต้นการพัฒนาระบบรองจะบูรณาการร่วมหลายฝ่าย
ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นและพร้อมลงทุนเอง
โดยขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพียงบางส่วนเท่านั้น
ขณะนี้กลุ่มไทยทีมได้มีการหารือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี(อบจ.)
ร่วมกับเทศบาลในพื้นที่ เพื่อนำเสนอการพัฒนารถไฟฟ้ารางเบา
เชื่อมจากสถานีรังสิตของรถไฟฟ้าสายสีแดง
ไปยังศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ระยะทางประมาณ 2 กม. ในเฟสแรก
ก่อนที่จะขยายเฟส 2
เชื่อมไปยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี) ในอนาคตต่อไป

นอกจากนั้นยังจะมีการหารือร่วมกับอีกหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี)
ตลอดจนภาคเอกชนที่สนใจเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยอบจ.ปทุมธานีพร้อมเป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนร่วมกับเทศบาลในพื้นที่
จะได้มีการศึกษาเส้นทางอื่นๆรองรับการพัฒนาเมืองเอาไว้อีกด้วย

ดังนั้นเมื่อท้องถิ่นมีความพร้อม มีความสนใจเข้าไปพัฒนาระบบรอง
รัฐบาลควรเปิดโอกาสและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)
ตลอดจนกรุงเทพมหานครควรหันกลับมามองเรื่องนี้
และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยมากขึ้น
“การนำเสนอในการอภิปรายครั้งนี้คงจะเป็นการทำความเข้าใจ
กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ว่าขณะนี้ประเทศไทยพร้อมแล้ว
สำหรับการพัฒนารถไฟฟ้าเป็นของคนไทยเอง
จึงขอโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าไปแสดงฝีมือบ้าง
เริ่มจากระบบฟีดเดอร์ระบบรองเพื่อป้อนสู่ระบบหลักที่รัฐบาลดำเนินการไว้
หากในอนาคตได้รับการสนับสนุนมากขึ้นยังสามารถยกระดับไปสู่ระบบสายหลักต่อไป”

ด้านนายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ
บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) ผู้นำกลุ่มไทยทีม กล่าวว่า 
หลังจากระบบรัฐสภารับรู้ในการขับเคลื่อนที่กลุ่มไทยทีมสนใจ
เข้าไปพัฒนาด้านระบบรางสายรองของประเทศแล้ว
มั่นใจว่าหลังจากนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไป
ความคืบหน้าล่าสุดไทยซับคอนได้ร่วมหารือแนวทางกับกรมการขนส่งทางรางมาแล้ว
เพื่อให้เห็นมิติของการพัฒนาระบบรางตามแนวทางของกลุ่มไทยทีม
ที่เกิดจากการรวมตัวกันเพื่อผลิตรถไฟเป็นแบรนด์ของประเทศไทย
ขณะนี้คณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฏร
ที่ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง
ตลอดจนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
และอีกหลายหน่วยงานได้รู้จักกับนิยามคำว่ากลุ่มไทยทีมแล้ว
ว่ามีใครบ้างร่วมเข้ามาขับเคลื่อนไทยทีม กรมการขนส่งทางรางเข้าใจในวัตถุประสงค์
เป้าหมายและทิศทางของไทยทีมว่าจะขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร
“ไทยทีมมีแนวคิดเลือกโปรเจ็กต์เริ่มต้นจากการร่วมหารือกับ
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี)

ไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ในการทำรถไฟฟ้ารางเบา
เชื่อมจากสถานีรังสิตของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมายังฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
แล้วไปสิ้นสุดในเฟสแรกที่สถานีคูคต
ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือบีทีเอส ระยะทางประมาณ 9 กม.
ประมาณการลงทุนไม่เกิน 7,000 ล้านบาท(ไม่รวมค่ารื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค)

หลังจากนั้นค่อยขยายไปถึงมทร.ธัญบุรีในเฟสที่ 2 ต่อไป

เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง
เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจเข้ากับระบบขนส่งมวลชนโดยจะเร่งออกแบบ
รายละเอียดนำเสนอต่ออบจ.ปทุมธานีเดินหน้าโครงการต่อไป”

สำหรับระบบรถไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในโครงการกลุ่มไทยทีมเห็นว่า
ระบบขนส่งรางเบาสาธารณะ (Sky Shuttle) จะมีความเหมาะสม
เพราะมีคุณสมบัติเป็นระบบสาธารณะรางเบาขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าในตัวรถ
ขนส่งผู้โดยสารได้มากกว่า  5,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
ความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชั่วโมง (เฉลี่ย 20-40 กม./ ชม.)
ความจุผู้โดยสารประมาณ 48 คน (นั่ง 16 และยืน 32 คน)
ต่อตู้ 1 ขบวนเชื่อมต่อได้ 1-6 ตู้(ขึ้นอยู่กับการออกแบบและก่อสร้างสถานี)
ใช้พื้นที่น้อยขนาดฐานรากทางวิ่งเล็กไม่กินพื้นที่
แม้แต่ในเส้นทางถนนขนาดเล็กและวงเลี้ยวแคบ
ทำให้สามารถสร้างในพื้นที่ถนนหรือเมืองที่แคบได้ง่าย
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองในด้านเสียง
มลภาวะอากาศ มาตรฐานความปลอดภัยสูง รวดเร็วตรงต่อเวลา

รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ
ทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และหัวหน้าชุดโครงการกลไกความร่วมมือในการส่งเสริมเศรษฐกิจ
ท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ของจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า
โครงการนี้มธ.พร้อมเข้าไปช่วยศึกษาในเรื่องของการพัฒนาเมือง เชิงเทคนิค
เรื่องการมีส่วนร่วมประชาชน ตลอดจนการพัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน
เพื่อให้โครงการมีความคุ้มค่าด้านการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนั้นล่าสุดยังอยู่ระหว่างขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบฟีดเดอร์
เชื่อมโยงในพื้นที่ปทุมธานีร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี)
ในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาระบบฟีดเดอร์
ด้วยการใช้พื้นที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ตั้งแต่ฟิวเจอร์พาร์คไปถึงมทร.ธัญบุรี

“จังหวัดปทุมธานีคงต้องให้ความสำคัญและเร่งแก้ไขปัญหาจราจร
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ก่อนที่จะรอให้ลุกลามจนยากจะแก้ไขได้
เช่นในหลายเมือง ควบคู่ไปกับสร้างแลนด์มาร์กให้เป็นประโยชน์
แก่เมืองทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
เพื่อปรับเปลี่ยนเมืองรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้
ในฐานะที่เป็นชาวปทุมธานีคนหนึ่งจึงอยากเห็นเมืองปทุมธานี
มีคุณภาพชีวิตที่ดี พยายามเชื่อมโยงโครงการให้เป็นรูปธรรมจริง ๆ
อยากเห็นความร่วมมือจากชาวปทุมธานี
ให้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับพี่น้องชาวปทุมธานีจริงๆ”
-----------------------------------------------------------

ข่าวนี้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564

“ไทยทีมเรลเวย์” เดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าแบรนด์ไทย
เมื่อ สค. 56  แล้วก็  เงียบเข้ากลีบเมฆ
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2023, 12:17:07 pm »

พุธ ที่ 10 พฤษภาคม  2566

ขอปักหมุด รอชม อยู่ตั้งนาน ชาวบ้านเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

ไม่เคยเห็นหัว เวลาหาเสียง มันมากันอีกแล้ว


 รถไฟไร้ราง (Trackless Tram) นโยบายแก้ปัญหาจราจรของคนปทุมธานี

โค๊ด:
https://youtu.be/_6SwlzUDdoU

<iframe width="853" height="480" src="https://www.youtube.com/embed/_6SwlzUDdoU" title="กำนันหมู เขต 4 ปทุมธานี ขอนำเสนอ รถไฟไร้ราง (Trackless Tram) นโยบายแก้ปัญหาจราจรของคนปทุมธานี" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>


กะอีแค่ป้ายการจราจรหน้าหมู่บ้านให้รถเดินทางเดียว ONE WAY CAR
ช่วยไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ตั้งแต่ปี 65 แล้วยังไม่มีปัญญากันเลย
นายกโบว์ลิ่ง !!!รับปากอย่างดี จะทำให้ แต่ก็หายหัว เงียบ คงจะ คิดแล้ว ?

ไม่ช่ายเรื่องของกู


นี่มาอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2023, 01:44:04 pm »

 THANK!! wav!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2023, 09:52:15 am »

“อนุทิน” หาเสียงปทุมฯ หาก “สจ.หนึ่ง”
เข้าสภาฯ หนุนสร้างโมโนเรล อำนวยความสะดวกประชาชน

ปทุมธานีต้องพึ่งพาตัวเองได้
หมดยุคทำงานไกลบ้าน! “อนุทิน”
หาเสียงเมืองปทุมฯ
สัญญาหาก “สจ.หนึ่ง” เข้าสภา
พร้อมหนุนสร้างโมโนเรล
อำนวยความสะดวกประชาชน
-------------------------------------------------------
ไม่เคย เห็นหัว มาเคาะกระลาให้ หมาดีใจ อีกแล้ว

พวก หน้าไหว้ หลังหลอก


 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!