เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด 5 ลูก-หัวรถจักรสงครามโลก ต้องอพยพประชาชน..
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 12:22:13 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด 5 ลูก-หัวรถจักรสงครามโลก ต้องอพยพประชาชน..  (อ่าน 1327 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2018, 08:20:08 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!  www.pohchae.com
.
.      http://bit.ly/2okD2q3 เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด 5 ลูก+หัวรถจักรสงครามโลก ต้องอพยพประชาชน..: pohchae.comรวบรวม การรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าหารือกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด 5 ลูก และหัวรถจักรสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คาดเสร็จไม่เกินสิ้นปี 2561 ชี้ ต้องอพยพชาวบ้านกว่า 1 กิโลเมตร และอาจมอบหมายให้กรมสรรพาวุธทหารเรือ เป็นคนเก็บกู้.. ช่องเวิร์คพอยท์ (29 สิงหาคม 2561) รายงานว่า นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยืนยันแล้วว่าพบระเบิดเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 5 ลูก และยังพบหัวรถจักรโบราณจมอยู่ในน้ำอีกด้วย โดยจะมีการหารือกับทางจังหวัดเพื่อหาแนวทางการเก็บกู้ระเบิด ในวันที่ 10 กันยายน 2561 โดยทางจังหวัดราชบุรี ได้มีการเสนอว่าจะอนุรักษ์หัวรถจักรดังกล่าว เป็นวัตถุโบราณและนำไปจัดแสดงเป็นสมบัติของชาติ ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่กระทบกับเส้นทางเดินรถไฟสายใต้อย่างแน่นอน และการพบวัตถุระเบิดเป็นเรื่องปกติที่ฝ่ายสำรวจและโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ต้องเจอในทุกพื้นที่ของประเทศอยู่แล้ว
ส่วนระเบิดที่พบเป็นระเบิดจีพี บอมบ์ (GP Bomb) หรือระเบิดเอเอ็น-เอ็ม65 (AN-M65) ขนาดน้ำหนัก 1,000 ปอนด์ และหากมีการเก็บกู้จะต้องอพยพประชาชนให้ห่างจากรัศมีแรงระเบิด ไม่ต่ำกว่า 1 กิโลเมตร
..ที่มาของระเบิดพบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488 ที่กองทัพญี่ปุ่นเริ่มพ่ายแพ้สงครามในเมียนมา ฝ่ายสัมพันธมิตรจำเป็นต้องทำลายเส้นทางถอยทัพของกองทัพญี่ปุ่น ที่จะเดินทางลงใต้ไปยังมาเลเซีย และไปฐานทัพใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์   โดยสมัยก่อนต้องเดินทางด้วยรถไฟ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงมีเป้าหมายและจำเป็นต้องระเบิดสะพานทิ้ง ซึ่งสะพานที่โดนทำลายที่แรกคือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรี ต่อมาคือ สะพานจุฬาลงกรณ์ ซึ่งทอดข้ามแม่น้ำแม่กลอง เขตตัวเมืองราชบุรี ซึ่งสะพานจุฬาลงกรณ์เคยถูกทิ้งระเบิดถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2488 ครั้งที่ 2 วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2488 ครั้งที่ 3 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488   ระเบิดทั้งหมดเป็นแบบตั้งเวลา และมาระเบิดพร้อมกันในรุ่งเช้าของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ทำให้สะพานจุฬาลงกรณ์หักกลาง ไม่สามารถใช้งานได้   พ.อ. ดร.สุชาต กล่าวอีกว่า การทิ้งระเบิดครั้งนั้นมีลูกระเบิดบางส่วนที่ด้านหรือไม่ทำงาน โดยต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าระเบิดยังมีอานุภาพ พร้อมทำงานได้เสมอ ซึ่งอานุภาพความแรงของตัวระเบิด หากอยู่บนพื้นดินจะมีรัศมีความแรงประมาณ 1 กิโลเมตร และหากอยู่ในน้ำความแรงจะน้อยลง แต่สิ่งที่ตามมาคือ แรงดันระเบิดอาจจะไปกระทบกับตอม่อสะพานเดิมได้   ทั้งนี้ ต้องพิสูจน์ว่าสาเหตุที่ระเบิดมันด้านเกิดจากอะไร โดยจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด นักดำน้ำ กองทัพเรือ ลงสำรวจอย่างละเอียด ซึ่งหากเกิดขึ้นที่ต่างประเทศจะมีการสำรวจและเก็บกู้ขึ้นทันที แต่ที่ จ.ราชบุรี ยังไม่มีการเก็บกู้   นอกจากนี้ หากไม่มีการเก็บกู้ระเบิด ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวล และคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากอาจมีตัวแปรที่ส่งผลต่อระเบิดใต้น้ำได้ เช่น ความแรงของกระแสน้ำ การขยับตัวของดิน การสั่นสะเทือน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้เข้าหารือกับ นายวีนัส ประเศรษโฐ รองผู้ว่าราชการ จ.ราชบุรี เพื่อร่วมกันหาแนวทางการเก็บกู้ระเบิดและหัวรถจักรโบราณ ส่วนจะมีแนวทางอย่างไร และเก็บกู้เมื่อไรนั้น จะมีการประกาศแจ้งให้ทราบในภายหลัง แต่คาดว่าอย่างช้าไม่เกินสิ้นปี 2561 นี้ และหน่วยงานที่จะมาเก็บกู้ระเบิด คาดว่าจะเป็นทีมกองประดาน้ำและถอนทำลายใต้น้ำ ซึ่งเป็นทีมของกรมสรรพาวุธทหารเรือ ที่มีความเชี่ยวชาญมาการดำเนินการเก็บกู้
นอกจากนี้ นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า วัตถุระเบิดที่ค้นพบยังไม่สามารถระบุได้ว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่ แต่ก็คาดการณ์ไว้ก่อนว่าระเบิดยังคงมีอานุภาพ ถึงแม้จะผ่านมากว่า 70 ปี แล้วก็ตาม และได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังพื้นที่บริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์เป็นพิเศษแล้ว.
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%..


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!