ส่วนประกอบน้ำหมักหมูเต็ม
สูตรที่ 1 (หมักเนื้อหมู/1 กิโลกรัม) แบบโบราณไม่ใส่ผงโซดา
1. หมู ส่วนสะโพก (หั่นชิ้นพอคำ ).()
1 ก.ก. (ส่วนนี้เนื้อจะเป็นเส้นใย หั่นแบบขวาง)
2. น้ำตาลทรายขาว
.3 ชต. (หากมีน้ำตาลปี๊บ จากหอมกว่า)
3. ซ๊อสปรุงรส (ภูเขาทองฝาเขียว 4 ชต.
4. ซีอิ้วดำ หวาน 1/2 ชต. (เพิ่มสีให้ดูสวย)
5.น้ำมันกระเทียมเจียว 3 ชต.
6. พริกไทยขาวป่น
.1/2 ช.ต.
7. น้ำมันหอย
4 ชต.
8. แป้งมัน ตราปลามังกร
1 ช.ต.
9. น้ำสะอาด
5 ชต.
10 ผงปรุงรสหมู 1 ชต.
11.ไข่ขาวของไข่ไก่ 1 ฟอง
.
วิธีทำ (ผสมน้ำหมักหมู)
ภาชนะใบใหญ่เช่นกะละมัง เทน้ำสะอาด
ตามด้วยน้ำมันกระเทียมเจียวใหม่ๆ
ไม่เอาเนื้อกระเทียมนะครับ
ตามด้วยแป้งมันละลายน้ำแล้วเทผสม ตืให้เข้ากันดีเสียก่อน
จากนั้นนำส่วนผสมที่เหลือ 2-11 (ยกเว้น5,9 เพราะใส่ไปแล้ว)
จะได้น้ำหมักหมู ชิมรสดูก่อนว่าถูกใจหรือไม่ แล้วปรุงเพิ่มตอนนี้
จากนั้นนำหมู ส่วนสะโพคที่หั่นเอาไว้แล้ว ลงคลุกผสม ใช้มือคลุกหมู กับน้ำปรุงราว10นาที
จากนั้นนำไปแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา ทิ้งไว้อย่างน้อย 3ชม. หรือข้ามคืนได้ยิ่งดี
ตอนหมักหมูใหม่ๆ น้ำหมักจะดูมากๆเจิ่งๆ แต่พอผ่านไปสัก 1-2 ชม.น้ำหมักจะหายไปหมด
เพราะเข้าไปอยู่ในเนื้อหมูแทน
ก่อนน้ำหมูไปปรุงราดหน้าให้นำมานวดหมูอีกครั้งเพื่อให้เครื่องปรุงทั่วถึง
สูตรที่ 2 สูตรน้ำหมักหมูแบบย่อ สำหรับทำทานง่ายๆที่บ้าน (สำหรับหมู 1กก.)
1. เนื้อหมู 1 กก.
2. แป้งมัน
.1.5 ชต.
3. น้ำตาลทราย 2 ชต. (ใช้น้ำตาลปี๊บจะหอมกว่า)
4. น้ำเปล่า
.. 4 ชต.
5. ซอสภูเขาทองฝาเขียวหรือซ๊อสแม็กกี้
..3 ชต.
6. แป้งมัน
.. . 1 ชต.
7. น้ำมันพืช 2 ชต.
8. ไข่ไก่ทั้งใบ 1 ฟอง
สูตรที่ 3 สูตรน้ำหมักหมูราดหน้า แบบ ทั่วไปปัจุบัน (ส่วนใหญ่ใส่ผงโซดา) สำหรับเนื้อหมู 1 กิโลกรัม
1. เนื้อหมู ส่วนสะโพก 1 กก.
2. โซดาไบคาร์บอเนต (ผงฟู) 1.5 ชช. (ตราเบสฟูดส์ อย่าใส่เยอะเนื้อจะเละมีรสเฝื่อน)
3. รสดีผง รสหมู/ไก่ 2 ชช. (ช้อนชา)
4. ซ๊อสปรุงรส ฝาเขียวหรือแม๊กกี้ 2 ชต.
5. น้ำตาลทรายขาว 2 ชช.
6. น้ำสะอาด 3 ชต.
7. พริกไทยขาว 2 ชช.
สูตรที่ 4 สูตรน้ำหมักหมูราดหน้า แบบโบราณ ไม่ใส่แป้งมันหมูอกนุ่มๆ แต่ไม่เด้ง เคี้ยวสู้ฟัน
1. เนื้อหมู ส่วนสะโพก 1 กก.
2. น้ำปลาอย่างดี 4-5 ชต.
3. พริกไทย 2 ชช.
4. ไข่ขาวของไข่ไก่ 1 ฟอง
5. น้ำตาลทรายขาว 2 ชช.
6. น้ำสะอาด 3 ชต
7. น้ำมันหมู พร้อมกากหมูสับละเอียด 4 ชต.
8. น้ำสัปรส 2 ชต.
ขอบคุณข้อมูลสูตร
ขอบคุณภาพประกอบ: ราดหน้าหมูหมัก
ที่มา...
http://www.naarn.com/7197/