ผมเองยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ แต่ผมได้ฟังการบรรยายของผู้เขียน (Tony Seba)
ซึ่งได้รับเชิญจากองค์กรต่างๆ จากหลายทวีปมาหลายรอบแล้ว
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับผู้เขียน และอยากให้สังคมไทยได้ศึกษาและจริงจังกับเรื่องนี้ให้มากๆ
แต่ในขณะที่ชาวโลกกำลังประชุมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นเรื่องความเป็นความตายและเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชาวโลก
แต่ดูเหมือนว่าทางราชการของประเทศไทยเรา รวมทั้งสื่อกระแสหลักไม่ได้ใช้โอกาสนี้เพื่อการเรียนรู้
และปรับตัวเองอย่างเอาจริงเอาจังเท่าที่ควรสื่อหลายรายการที่เป็นการพูดคุยถกเถียงแทนที่จะยกเอาเรื่องโลกร้อนมาพูดคุยกัน
ในโอกาสที่สำคัญนี้เพื่อให้เป็นกระแสสังคม แต่กลับนำเรื่องที่สำคัญน้อยกว่าและสามารถรอเวลาอื่นได้มาพูดกัน
สรุปแล้วก็คือการไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องโลกร้อนนั่นเอง
ผมใช้คำว่า หัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งพจนานุกรมฉบับหนึ่งให้ความหมายว่า
ภาวะหรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะต่อกันถือว่าเป็นตอนสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพหรือความคิดเป็นต้น
เช่น วัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
สิ่งที่ผมหมายถึงก็คือ เป็นจังหวะก้าวสำคัญที่ วัยรุ่น หรือ โลก หรือ ประเทศ
จะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างถาวร
หลายท่านอาจจะคิดว่า ผลการประชุมครั้งนี้อาจจะไม่มีอะไรต่างกับครั้งก่อนๆ
คือไม่มีผลในทางปฏิบัติ แต่ครั้งนี้ผมมั่นใจว่าจะไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาครับ
เพราะถ้าไม่เอาจริงแล้ว ชาวโลกก็จะตายหมู่ด้วยภัยพิบัติและวิกฤตต่างๆ อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันภาคประชาชนก็เดินยุทธศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
คือรณรงค์ให้ถอนการลงทุนจากพลังงานฟอสซิลซึ่งเป็นต้นเหตุของโลกร้อนอย่างได้ผลมากจริงๆ
กลับมาเน้นดูประเทศไทยเราครับ ผมได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อเสนอของประเทศไทยไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนว่า
เต็มไปด้วยกลลวงและหละหลวมมาก
กล่าวคือด้านหนึ่งไปนำเสนอแผนที่ไม่ได้ตั้งใจจะทำจริงๆ และหลอกลวงชาวโลก
แต่อีกด้านหนึ่งก็กำลังรณรงค์ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ที่จังหวัดกระบี่
และขนาดใหญ่มากคือ 2,200 เมกะวัตต์ (ซึ่งถือว่าเป็น Ultra Mage Power Plant) ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ในช่วงใกล้ๆ นี้ ท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาวบ้านและภาคธุรกิจการท่องเที่ยว
ซึ่งก็ไม่เคยปรากฏมาก่อนอย่างไม่เกรงและอายต่อกระแสโลก
ที่สำคัญกว่านั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินได้กลายเป็นสิ่งที่ตกยุคไปแล้ว
แต่ทางราชการไทยกำลังจะฝืนสร้างขึ้นมาอีกเป็นจำนวนมากในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า
เพียงเพื่อตอบผลประโยชน์ของกลุ่มทุนบางกลุ่มเท่านั้นเอง
โดยจะเป็นภาระกับสังคมไทยในอนาคต คล้ายๆ กับกรณีโครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน
ที่สร้างเสร็จแล้วไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่ได้ ผมจะลำดับเรื่องเทคโนโลยีและบูรณาการองค์ความรู้ที่ผมได้ศึกษามาก่อน
กับเรื่องราวในหนังสือของ Tony Seba เป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
หนึ่ง บทสรุปในหนังสือของ Tony Seba
เขาได้กล่าวถึงเทคโนโลยี 8-10 ชนิดที่เรียกว่าเป็น Disruptive Technology ซึ่งหมายถึง
เทคโนโลยีที่พลิกโครงสร้างธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคมในเวลาอันรวดเร็ว
เทคโนโลยีเก่าจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งผมขอใช้คำว่าเป็น เทคโนโลยีที่พลิกโฉมโลก
เทคโนโลยีดังกล่าวได้แก่
โซลาร์เซลล์ รถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนต เป็นต้น
รถม้าได้ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ ฟิล์มถ่ายรูปโกดัก ได้ถูกแทนที่ด้วยกล้องดิจิตอล
โทรศัพท์บ้านได้ถูกแทนที่ด้วยโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งเราทั้งหลายต่างก็ทราบดีและยอมรับกันมาแล้ว
แต่เมื่อมองไปข้างหน้า คุณ Tony Seba ได้สรุป ดังนี้
1. รถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มเบียดรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปี 2017-2018
2. ภายในปี 2030 รถยนต์ใหม่ทั้งหมดจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
3. น้ำมันจะตกยุคภายในปี 2030
4. ภายในปี 2030 ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์จะมีราคาที่เขาเรียกว่า GOD Parity (ราคาเทียบเท่ากับพระเจ้า)
ซึ่งหมายถึง ต่อให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ มีค่าเท่ากับศูนย์
ก็ยังแพงกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์บนหลังคา
เพราะว่าต้นที่เกิดจากสายส่งและการบริการ (Transmission and Distribution)
แพงกว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้บนหลังคา
จากการค้นคว้าของผมเองและเคยเขียนไปแล้วว่า ในปี 2015
ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาใน 46 เมืองใหญ่ จาก 50 เมืองใหญ่
ผลตอบแทนจากการติดโซลาร์เซลล์สูงกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ นี่แค่ปี 2015 เท่านั้นนะ
แล้วในปี 2030 จะเกิดอะไรขึ้นในเมื่อต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ลดลงประมาณ 10% ต่อปี
ในประเทศไทยเราเอง ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาจะถูกไฟฟ้าจากสายส่ง
การลงทุนติดโซลาร์เซลล์จะคุ้มทุนภายใน 7-8 ปี
โดยไม่ต้องการช่วยเหลือจากรัฐ ขอเพียงอย่ากีดกันเท่านั้นเป็นพอ
สอง ด้านประสิทธิภาพพลังงานของเทคโนโลยี
เหตุผลสำคัญที่คุณ Seba ใช้ในการศึกษาก็คือประสิทธิภาพพลังงานในรถยนต์ที่เผาไหม้ภายใน
พบว่าพลังงานประมาณ 80% ของพลังงานที่ใส่เข้าไปจะกลายไปเป็นความร้อนที่หม้อน้ำ (ซึ่งเราทราบกันดีแล้ว)
ที่เหลืออีกประมาณ 20% เท่านั้นที่ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ได้
แต่ในกรณีรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งใช้มอเตอร์มันจะสลับกันครับ
ในกรณีการผลิตไฟฟ้าก็เช่นเดียว เทคโนโลยีที่มนุษย์ใช้กันอยู่นั้นได้สูญเปล่าในทันทีถึง 62%
ตั้งแต่ต้มน้ำแล้ว (ดูภาพประกอบ) ยังไม่คิดต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม
ในขณะที่พืชใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์แสงซึ่งเป็นแบบเดียวกับเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์มาตั้งนานแล้ว
มันช่างน่าหัวเราะเยอะเย้ยไหม กับมนุษย์ที่ชอบอ้างว่าตนฉลาดกว่าเผ่าพันธุ์อื่น?
สาม Tony Seba พยากรณ์อย่างไร?
ในการคาดหมายอนาคต นักวิชาการจะใช้ข้อมูลในอดีต
แล้วพยากรณ์ไปข้างหน้า ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มีข้อมูลมากมายหลายแหล่ง
แต่เพื่อให้กระชับผมขอยกข้อมูลจากกรมพลังงานของสหรัฐอเมริกามาอ้างแทน
ดังสไลด์ข้างล่างซึ่งผมไม่ขอลงรายละเอียดให้ท่านที่ไม่ถนัดต้องปวดหัวเล่น
คุณ Seba ระบุว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นค่าแบตเตอร์รี่
ดังนั้น เมื่อราคาแบตเตอร์รี่ลดลงในอัตราขนาดนี้ ลองคิดดูว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าจะลดลงขนาดไหน
ที่เห็นในกราฟราคาแบตเตอร์รี่ในปี 2014 เท่ากับ $300 ต่อกิโลวัตต์ (รถ 1 คันใช้ประมาณ 40-50 กิโลวัตต์)
ในปี 2024 จะเหลือเพียง $100 ต่อกิโลวัตต์เท่านั้น
นอกจากนี้คุณ Seba ยังให้ข้อมูลว่า
ในขณะที่รถยนต์ธรรมดาที่ใช้น้ำมันจะมีชิ้นส่วน
ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ถึงประมาณ 2 พันชิ้น ซึ่งทำให้สึกหรอและต้องซ่อมบ่อย
แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีชิ้นส่วนดังกล่าวเพียง 18 ชิ้นเท่านั้น และในระยะทางที่เท่ากันราคาเชื้อเพลิงของรถยนต์ไฟฟ้าก็ถูกกว่าราคาน้ำมันหลายเท่าตัว
ที่สำคัญกว่านั้น ไฟฟ้าที่ใช้ในชาร์จรถยนต์มาจากโซลาร์เซลล์ผลิตเองจากหลังคาบ้าน
สี่ การคาดหมายของอดีตรัฐมนตรีน้ำมันของประเทศซาอุดีอาระเบีย
นอกจากเหตุผลของคุณ Seba แล้ว ยังมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่ง
ได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้เมื่อปี 2000 หรือเมื่อ 15 ปีมาแล้ว
เขาผู้นั้นคือ Ahmed Zaki Yamani ซึ่งเขาอยู่ในอำนาจตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ถึง 1986
ในช่วงกลุ่มประเทศโอเปกขึ้นราคาน้ำมันในปีเดียวถึง 4 เท่าในปี 2516
เขาก็อยู่ในอำนาจและกล่าวกันว่า
เขาคือผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกในขณะนั้น เขากล่าวว่าอย่างนี้ครับ
สามสิบปีจากนี้ไปจะมีน้ำมันเหลือเฟือแต่ไม่มีคนซื้อ 30 ปีจากนี้
จะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำมัน น้ำมันจะถูกเก็บเอาไว้ใต้ดิน ยุคหินสิ้นสุดลงไม่ใช่เพราะเราขาดแคลนหิน
และยุคน้ำมันจะสิ้นสุดลงไม่ใช่เพราะเราขาดแคลนน้ำมัน
(เขาหยุดพูดชั่วขณะพร้อมกับสั่นหัวแล้วพูดต่อไปว่า)
ผมเป็นชาวซาอุฯ ผมรู้ว่าเราจะพบกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในอนาคต
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงจาก $140 ลงมาเหลือ $40 เหรียญในปัจจุบัน
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของความล้าสมัย
ตกยุคของน้ำมันแล้วก็เป็นไปได้
งานเขียนของคุณ Tony Seba ยังมีสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายอีกเยอะครับ
ผมจะค่อยๆ เขียนถึงในโอกาสต่อไป วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนครับ
เพราะผมอยู่ในระหว่างการเดินทางในเขตที่หาอินเทอร์เน็ตยาก
จึงต้องรีบส่งบทความตามสัญญาใจของผมเองว่าจะเขียนทุกสัปดาห์
Cr:
http://www.manager.co.th/...................
...................
...................
.........
สรุปการบรรยายวันก่อนโดยTony Seba ที่มาเมืองไทย
ต้น พ.ค.59.
เชื่อไหมว่าในระยะ10-15ปีข้างหน้า
เราอาจเห็นการล้มละลายของ Toyota Honda Nissan
และ รวมถึงPTT ถ้ารับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงไม่ทัน
😀Energy storage
ที่ถูกลงมหาศาลและมีความสามารถสำรองไฟให้ใช้ได้ในระดับเป็นจังหวัด
😀Electric Vehicle
เครื่องยนต์ให้ใช้พลังงานเอามาขับเคลื่อนรถเพียงร้อยละ20
ขณะที่รถไฟฟ้าเอาพลังงานมาใช้มากกกว่าร้อยละ80
ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ในรถปัจจุบันมีพันชิ้นขณะที่รถไฟฟ้ามีเพียงไม่เกิน20ชิ้น
Self-driving car
รถจะวิ่งเองได้
😀Solar PV
จะราคาถูกลงจนใครๆก็ติดบนทุกหลังคาในระยะคืนทุนที่สั้นมากๆ
และเก็บใส่แบตไว้ใช้ตอนกลางคืนและเอาไปเติมไฟรถ
ด้วยบริษัทแบบอูเบอร์จำนวนมากในอนาคต
หลังจากรถยนต์วิ่งมาส่งเราแล้ว เราก็ใช้มันวิ่งหาเงินเองให้เรา
รถยังเติมแบตจากไฟที่มาจากโซลาร์เซลล์
เทียบเท่าไฟฟ้าฟรี แล้วใครจะใช้รถเติมน้ำมัน ความตัองการน้ำมันลดลงมหาศาล
ความต้องการรถยนต์น้อยลงเพราะคนใช้รถแท๊กซี่แบบอูเบอร์
(ที่ราคาต่อกม.ถูกกว่าปัจจุบันเพราะไม่มีคนขับและไฟฟรี)
และบริษัทเทคโนโลยีอย่างเทสล่า ไมโครซอฟท์ แอปเปิลมาแข่งผลิตรถแทนบริษัทรถยนต์เดิมๆ
และทั้งหมดเปลี่ยนเมื่อถึงช่วงกลางS-Curveจะฆ่าธุรกิจเดิมในอัตราที่เร็วมาก
และที่กล่าวมาทั้งหมดจะเกิดภายในปี2030ครับ
บรรยายโดย Mr.Tony Seba ที่พารากอนฮอล์ในงานประจำปี
สถาบันปิโตรเลียม วันที่ 5 พค. 2016
เล่นเอา รมต. ผู้บริหารบริษัทปิโตรเลียมช็อคไปตามๆ กัน
ความรู้สึกเหมือนอ่าน"As Future Catch You" ภาคย้อนอดีต
"As Future Catch You" แปลว่า เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ