วิกฤติ! ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 09:48:05 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤติ! ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย  (อ่าน 3559 ครั้ง)
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 01:34:38 pm »



 ขยะอิเล็กทรอนิกส์วิกฤติ
       เพิ่มร้อยละ 10 ต่อปี
       โทรศัพท์มือถือ แชมป์ขยะอิเล็กทรอนิกส์แห่งปี
       สธ.หวั่น ทำลายสิ่งแวดล้อม -สุขภาพคนไทย
       จุฬาฯ -กรมควบคุมมลพิษ... เตือน
       ไม่มี ก.ม. รองรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล้นเมืองแน่นอน

ขณะที่กระแสไอโฟน 6 กำลังเขย่าโลกให้โยกคลอน คนไทยน้อยคนจะรู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังวิ่งตาม หวังจะครอบครอง และโยนทิ้ง คือขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่กำจัดไม่ได้ และฆ่าไม่ตายในอนาคต ที่สำคัญส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพคนไทย จำนวนมหาศาลอีกด้วย

       ขยะอิเล็กทรอนิกส์ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายที่หมดอายุการใช้งาน หรือไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์บ่อยครั้งกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งกลายมาเป็นขยะที่ต้องจัดการอย่างถูกสุขลักษณะต่อไปเช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี โทรศัพท์เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องรับส่ง โทรสาร พริ้นเตอร์ เครื่องเสียง เครื่องดูดฝุ่นเตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หลอดไฟ เครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น


บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 01:37:55 pm »


 โทรศัพท์มือถือแชมป์ขยะอิเล็กทรอนิกส์

       กรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานข้อมูลล่าสุดว่า ปี 2556 มีการเพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศสูงกว่า 20 ล้านเครื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ต่อปี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือมีปริมาณสูงมากถึง 9.2 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 1รองลงมาคืออุปกรณ์เล่นภาพ/เสียง 3.3 ล้านเครื่อง โทรทัศน์ 2.5 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ 2 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร1.5ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพวิดีโอ 7 แสนเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 7 แสนเครื่อง และตู้เย็น 8 แสนเครื่อง ขณะที่ปัจจุบันโรงงานในประเทศที่มีกระบวนการคัดแยกและบดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนน้อย สวนทางกับปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

   
วิกฤติ! ขยะอิเล็กทรอนิกส์เมืองไทย
        เหนืออื่นใดกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า มีการลักลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนไม่น้อย โดยมีการส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไปยังชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านนำไปคัดแยก ถอดชิ้นส่วน เพื่อนำโลหะไปขาย เศษที่เหลือของขยะอิเล็กทรอนิกส์จะนำไปทำลายโดยการเผาหรือฝังกลบ

       ทั้งนี้การเผาและทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ถูกสุขลักษณะเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และต่อสุขภาพ รวมทั้งความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่เพียงเมืองไทยเท่านั้น ที่ถูกขยะอิเล็กทรอนิกส์โจมตี วันนี้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะผู้บริโภคนิยมเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์อุปกรณ์เครื่องเสียง และพริ้นเตอร์บ่อยครั้งกว่าที่เคยเป็นมา ในยุโรปมีรายงานถึงปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าขยะประเภทอื่นๆ ถึง 3 เท่าตัว และคาดการณ์กันว่าประเทศกำลังพัฒนาจะผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอีกถึง 3 เท่า ภายใน 5 ปี ข้างหน้า
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 01:40:11 pm »



สธ.หวั่นขยะอิเล็กทรอนิกส์ทำลายสิ่งแวดล้อม -สุขภาพคนไทย
       
       เกี่ยวกับเรื่องนี้นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2555 พบว่า มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้น ประมาณ 359,070 ตัน ร้อยละ 50.38 ของปริมาณของเสียอันตรายชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 712,770 ตัน โดยสถิติขยะอิเล็กทรอนิกส์ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมาของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า แนวโน้มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในครัวเรือนมีเพิ่มขึ้น เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์/เครื่องโทรสาร และโทรศัพท์มือถือ จากข้อมูลในปี 2552 พบว่า โทรศัพท์มือถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคสูงสุดกว่า 15 ล้านเครื่อง รองลงมา ได้แก่ โทรทัศน์ มีการใช้กว่า 3.81 ล้านเครื่อง กล้องดิจิตอลและอุปกรณ์ เอ็ม พี 3 แบบพกพา มีการใช้กันกว่า 3.8 ล้านเครื่อง

       ส่วนคอมพิวเตอร์ มีการใช้งาน 2.8 ล้านเครื่อง โดยอายุการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ มีอายุเฉลี่ย 3 ปี ทีวีจอซีอาร์ทีหรือจอก้นยาว มีอายุเฉลี่ย 6.9 ปี และโทรทัศน์จอบาง มีอายุเฉลี่ย 3.8 ปี คอมพิวเตอร์ มีอายุเฉลี่ย 3.65 ปี ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2559 จะมีซากทีวีเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2.8 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์อีกประมาณ 10.9 ล้านเครื่อง และ 2.6 ล้านเครื่อง ตามลำดับ

       นั่นหมายความว่าอีก 2 ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล อันเป็นผลมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีอายุการใช้งานไม่นาน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของสารพิษประเภทโลหะหนักที่มีมาก ได้แก่ ตะกั่ว ปรอทแคดเมียม สารหนู กำมะถัน และสารเคมีอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบสูงถึงร้อยละ 6 ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องมีการรีไซเคิลหรือนำกลับวัสดุแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ใหม่
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2014, 01:46:32 pm »



ขณะที่ ดร. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เผยประเด็นนี้ว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่มีสารอันตรายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้แก่..
      ตะกั่วทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ไต ระบบเลือด และการพัฒนาสมองของเด็ก ส่วนพิษเรื้อรังจะค่อยๆ แสดงอาการภายหลังการได้รับสารตะกั่วทีละน้อยจนถึงระยะเวลาหนึ่ง จึงจะแสดงอาการ

       ปรอท เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด ทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ไม่สามารถรักษาให้ดีดังเดิมได้

       คลอรีน อยู่ในพลาสติกพีวีซี ก่อสารมะเร็ง เมื่อพลาสติกถูกเผาจะส่งผลต่อระบบหายใจ ระคายจมูก และทำให้เคลือบฟันผุ

       แคดเมียม (Cadmium) แคดเมียมมีพิษอย่างเฉียบพลัน ทางเดินหายใจทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง ไตวาย ไตถูกทำลายมีโปรตีนในปัสสาวะ ร่างกายขับกรดอะมิโน กลูโคส แคลเซียม และฟอสเฟตในปัสสาวะมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ โรคปวดกระดูก โรคอิไต-อิไต ปวดสะโพก (Hip pain) ปวดแขน ขา (extremity pain) มีวงแหวนแคดเมียม (yellow ring) ปวดกระดูก (Bone pain) ปวดข้อ (joint pain) มีความผิดปกติที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีลักษณะเตี้ย หลังค่อม

       โบรมีน(Bromine) โบรมีนเป็นสารก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และรูปทรงของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ สารประกอบโบรมีนใช้เป็นตัวหน่วงการลุกติดไฟ (Brominated Flame Retardants, BFRs) ของตัวตู้คอมพิวเตอร์และแผงวงจร หมึกพิมพ์เป็นสารก่อมะเร็ง และสารประกอบฟอสเฟตที่ใช้เคลือบภายในหลอดภาพ CRT มีความเป็นพิษสูงเพราะมีส่วนผสมของแคดเมียม สังกะสี และวานาเดียม เป็นต้น

       สำหรับวิธีการป้องกันขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยให้ลดการนำเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว (End of Life) นํากลับมาใช้ใหม่ (Re-use & Recycle) เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปริมาณขยะ ซึ่งขณะนี้สิ่งที่ประเทศไทยได้ทำคือ การจัดทำกรอบระเบียบเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งเป็นกรอบที่รองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากระเบียบของสหภาพยุโรป กรอบดังกล่าวประกอบด้วย แนวทางการควบคุมที่ต้นทาง โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมภาษีจากผู้นำเข้าสินค้า และผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ แล้วนำเงินไปบริหารจัดการ โดยจะออกกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียม การตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การจัดการซากอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างทาง โดยจะไม่มีกฎหมายบังคับ แต่ใช้มาตรการด้านกลไกตลาด และแนวทางสุดท้ายเป็นการควบคุมที่ปลายทางจะสนับสนุนให้เกิดโรงแยกขยะแบบครบวงจร” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

       ถึงรายงานฉบับนั้นจะไม่มีตัวเลขออกมาชัดเจนว่ามีคนไทย เจ็บป่วยอันเนื่องมาจาก “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” จำนวนเท่าได แต่นี่คือผลกระทบด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นที่รู้ว่าส่วนใหญ่มีโลหะหนักซึ่งสลายตัวได้ยาก เป็นส่วนประกอบ มีสวนประกอบอะไรในขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่คนไทยต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ

http://www.1009seo.com/
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!