เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาวันที่7ก.ค.2554 ผ่านย่านนี้ไม่มีอะไรเหลือให้เห็นอีกนอกจากสพานหัวช้าง
เมื่อ40ปีที่แล้วผมนั่งรถเมล์ผ่านทุกวัน ทำให้อยากรำลึกนึกถึง แล้วอีก40ปีจะมีอะไรเหลือบ้างหนอ
ใช้เบอร์53และ54ประจำ
วงเวียนราชเทวี
ป้ายสะพานพระราชเทวี พระนางเจ้า สุขุมาลมารศรี พระราชเทวี
ทรงสร้างถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระชนมายุครบ 50 พรรษา
วันที่ 10 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก 130
ย่านราชเทวี-พญาไทเป็นย่านที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจนะครับ
ตั้งแต่สมัครที่เป็นย่านที่อยู่อาศัย บ้านเก่าแก่ของเจ้าขุนมูลนาย ข้าราชการ คหบดี
มาจนถึงยุคโรงหนังเฟื่องฟู ย่านนี้ก็มีโรงหนังใหญ่ๆหลายที่
อ้อ..แยกราชเทวีเป็นแหล่งรวมร้านแว่นตาด้วยนะครับ
จนกระทั้งถึงในปัจจุบัน ย่านราชเทวี-พญาไทก็ยังคึกคักด้วยคอนโดใหม่มากมาย
มันก็เป็ยวัฎจักรเนอะ ของเก่าไปของใหม่มา
ก็เสียดายของเก่าๆอยู่บ้างเหมือนกัน
เท่าที่ผมพอรู้และจำได้
โรงหนังเอเธนส์กลายเป็นปทุมวันรีสอร์ท (ร้านหนังสือในซอยปทุมวันรีสอร์ทก็ยังใช้ชื่อเอเธนส์)
โรงหนังฮอลลีวูด กลายเป็นศูนย์การค้าฮอลลีวูดสตรีท ปัจจุบันเป็นคอนโดบ้านกลางกรุง
(ร้านแว่นที่ใหญ่ที่สุดย่านนี้ก็ชื่อฮอลลีวูด)
โรงหนังแมคเคนน่าเชิงสะพานหัวช้าง เคยหนีตายพยายามปรับปรุงเป็นโรงสมัยใหม่ แต่ก็ไม่รอด ตอนหลังเป็นร้านสนุ๊กเกอร์และโดนทุบทิ้งสร้างใหม่เป็น VIE Hotel ในที่สุด (ตึกนี้สวยถูกใจ)
โรงหนังเมโทรตรงข้ามแอดเดรสสยาม ปัจจุบันเป็นศูนย์ค้าส่งเมโทรแฟชั่น
บ้านราชเทวีของตระกูลมาลากุล ที่หัวมุมแยกราชเทวี ติดกับบ้านกลางกรุง ปัจจุบันรื้อไปหมดแล้ว มีโครงการจะสร้างโรงแรม
คฤหาสน์สีขาวของใครไม่รู้สวยมาก หัวมุมแยกตรงข้ามบ้านราชเทวี ซ่อนอยู่หลังตึกแถวโรงเรียนสอนตัดเสื้อดาวรุ่ง ปัจจุบันถูกทุบหายไปแล้ว ไม่รู้ทำไม
ตึกที่ทำการกรมปศุ:)ก็ดูเหมือนเป็นบ้านเก่าที่สำคัญหลังนึง
บ้านไม้โบราณริมถนนเพชรบุรีหน้าคอนโดเพชรเก้า ของใครไม่รู้ ตอนนี้ทรุดโทรมหญ้าสูงท่วมหัว
บ้านของจมื่นมานิตนเรศร์หัวมุมแยกพญาไท เปลี่ยนมือของเศรษฐีอินเดีย ต่อมาถูกปล่อยทิ้งร้าง และปัจจุบันคือตึกวรรณสรณ์ของอ.อุ๊คนดัง ผมเห็นบ้านนี้มาตั้งแต่เด็ก ดูขลังดี
วังลักษมีวิลาศ ของ พระนางเธอลักษมีลาวัณ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับอาคารวรรณสรณ์ ปัจจุบันเป็นอาคารศูนย์รวมนักศึกษาแป๊บติสต์
(พระนางเธอลักษมีลาวัณ ถูกคนร้ายลอบปลงพระชนม์เพื่อชิงทรัพย์ ณ พระตำหนักลักษมีวิลาศ สี่แยกพญาไท เมื่อพ.ศ. 2504 เรื่องนี้ดังนะ)
ตั๋วรถเมล์50สต.
เปิด "ปูมหลังบ้านราชเทวี "
ใครที่เคยเดินไปบริเวณสี่แยกราชเทวี และเมื่อเลี้ยวขวาไปบนทางเดินบนถนนเพชรบุรีแล้ว เมื่อเลยร้านแว่นตาไปเล็กน้อย จะสังเกตเห็นซอยและบ้านหลังเก่ายุคทรงไทยโบราณ ตั้งสง่าอยู่ตรงกลาง ซึ่งจะว่าไปแล้ว ที่ดินผืนนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยบ้านไม้เก่าทรงไทย เดิมเป็นบ้านของ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป. มาลากุล ( ม.ร.ว.โป้ย มาลากุล ) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นศิริวังรัตน์ ประจำตำแหน่งเจ้ากรม กรมวัง ในทำเนียบข้าราชบริพาร สำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ณ พระตำหนักพญาไท ภายหลังจากที่พระพันปีหลวงเสด็จสวรรคต จึงกลับเข้าไปรับราชการประจำในกระทรวงวัง และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยาเทวาธิราช เจ้ากรมพระราชพิธี สำนักพระราชวัง จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งถือว่าท่านเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในพระราชประเพณีเป็นอย่างยิ่งท่านหนึ่ง
โดยปัจจุบันอยู่ในความดูแลของทายาทสาย ม.ร.ว. โป้ย มาลากุล ลูกๆ หลานๆ ในครอบครัวเรียกกันว่า " บ้านราชเทวี " แบบบ้านคล้ายกันกับแบบบ้านของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวังในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพี่ชายท่าน ที่ตอนนี้เป็นที่ตั้งของกระทรวงพลังงานแถวยศเส
บ้านราชเทวีหลังดังกล่าว ความจริงก็มีทายาทต่อๆ มาดูแลอยู่ เพียงแต่ ไม่ได้อยู่บ้านหลังนั้น แต่ปลูกบ้านอยู่ใหม่ติดๆกับบ้านหลังดังกล่าวนั่นเอง ปัจจุบันลูกๆของท่านเจ้าของบ้าน (ม.ร.ว.โป้ย มาลากุล) ก็อยู่ในช่วงคุณย่า-คุณยายกันทุกท่าน
อย่างไรก็ตาม ในละแวกสี่แยกราชเทวีนั้น ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งบ้านเก่าหรือมีคฤหาสน์เก่าหลายหลัง เช่น คฤหาสน์ของตระกูลมาลากุล หัวมุมแยก ,หลังสีขาวเหลือง ริมคลองแสนแสบ ข้างสะพานหัวช้าง เคยเป็นร้านเจนิส (ร้านอาหารของแบม) , ตึกหลังคาสีแดงที่อยู่ในกรมพลังงานทหารข้าง The Address , บ้านร้างตรงข้ามกรมพลังงานทหาร และตำหนักของพระนางเธอลักษมีลาวัณ หัวมุมแยกพญาไท ตอนนี้ถูกรื้อ กำลังสร้างเป็นตึกอาจารย์อุ๊ เป็นต้น
เหตุจูงใจขายที่ดิน
ทั้งนี้ หากจะมองเป็นภาพรวมของทำเลที่ตั้งแล้ว อยู่ในชัยภูมิที่ดีและเด่น แต่ด้วยปัจจัยความเจริญทางเศรษฐกิจและการขยายของเมืองที่มากขึ้น ประกอบกับการเกิดขึ้นของโครงการคอนโดมิเนียมล้อมๆ ได้เปลี่ยนทัศนีย์ภาพของที่ดินผืนนี้ หมดความสวยงาม ซึ่งแตกต่างในสมัยที่ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป. มาลากุล ( ม.ร.ว.โป้ย มาลากุล ) ที่บรรยากาศโดยล้อมมีสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศสะอาด การจราจรไม่ติดขัด
" ลึกๆแล้ว เราเจอเรื่องสิ่งแวดล้อม เมืองโตเร็วมาก เจอตึกสูงขึ้นมาบดบัง และทิศทางของลมเกิดการเปลี่ยนแปลง ในบริเวณบ้านราชเทวีลมจะแรงมากๆ เพราะมีตึกบัง และตั้งแต่มีห้างสรรสินค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้น การจรจาจรติดขัดมากๆ ตรงนี้เลยกลายเป็นความทรมาน นั้นจึงเป็นองค์ที่มองหาผู้ที่จะมาซื้อที่ดินผืนนี้ แต่จนแล้วจนรอด ก็ไม่มีผู้ใดได้ เพราะเราคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนในทายาท และไม่ต้องการสร้างความเสื่อมเสียให้แก่บรรพชน รวมถึงผู้อยู่อาศัยที่อยู่มาตั้งแต่ต้น " แหล่งข่าวใกล้ชิดทายาทในตระกูลมาลากุล กล่าวและยืนยันว่า
ในส่วนของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ขณะนี้ ทางทายาทก็ไม่ได้ทอดทิ้ง และเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการเรื่องการขนย้าย เพราะเขาอยู่มาตั้งแต่สมัยคุณตา แม้ว่าภาระตรงนี้จะเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งบางส่วนก็เข้าใจแต่ก็ยังมีที่จะคัดค้านการย้าย
เรื่องราวของความพยายามที่จะมีการซื้อขาย มีมากว่า 10 ปีแล้ว
"ไม่ใช่พึ่งจะเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ แต่ทายาททุกคนมีความคิดความอ่าน และคิดจะขายที่ดินแปลงนี้ ซึ่งคุยมาเกือบ 10 ปีแล้ว มีนักลงทุนรายใหญ่ทุกๆวงการ ให้ความสนใจ แม้แต่นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลพญาไท และมหาวิทยาลัยรังสิตเคยมาเจรจาซื้อที่ดินแปลงนี้เหมือนกัน ที่ดินบริเวณดังกล่าวรวมพื้นที่ทั้งหมดมีจำนวน 6 ไร่ 79 ตารางวา เป็นของตระกูล " มาลากุล" โดยได้ขายให้กับนายอธิชาติ จุฬางกูร จากบริษัท ซัมมิท โอโต้ซีท อินดัสทรี้ จำกัด ไปในราคาประมาณ 1,000 ล้านบาท รวมที่ดินที่เป็นบ้านเก่าอีกหนึ่งหลังซึ่งเป็นของ มล.ปราลี มาลากุล ด้วย โดยนายอธิชาติ มีแผนที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรหรือคอมเพล็กซ์ ประกอบด้วย โรงแรม,เซอร์วิสฯ และศูนย์การค้า มูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งแหล่งข่าวยังยืนยันด้วยว่านายอธิชาติ จุฬางกูร จะเป็นผู้ลงทุนเองไม่ได้นำที่ดินไปขายต่อหรือปล่อยให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เช่าเพื่อทำโรงแรมและเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ ตามที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ดี จากการสอบถามผู้ที่ยังผู้อยู่อาศัยในตึกแถวรายหนึ่งซึ่งยังไม่ได้ย้ายออกไปเปิดเผยว่า ได้เช่าตึกแถวมาจากเจ้าของที่ดิน โดยสัญญาเช่าแล้วแต่ตกลงมีทั้งสีญญา 10 ปี และสัญญา 20 ปี ขณะนี้สัญญาเช่าบางส่วนได้หมดอายุลง และเจ้าของที่ดินได้แจ้งให้ทราบว่าจะไม่มีการต่อสัญญาอีกเพราะต้องการขายที่ดิน ซึ่งคนที่พอใจในค่าขนย้ายและค่าชดเชยที่เจ้าของที่ดินให้ในกรณีที่ยังไม่หมดสัญญาก็ยินดีที่จะย้ายออก ส่วนบางรายที่ยังไม่ยอมย้ายออกเพราะไม่พอใจในค่าขนย้ายแม้ว่าสัญญาจะหมดอายุแล้วก็ตามและคิดว่าหากยื้อเอาไว้อาจจะได้ราคาสูงกว่านี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ฐานเศรษฐกิจได้เคยนำเสนอไปว่าตระกูล "จุฬารกูร" ได้เข้าซื้อที่ดินแปลงนี้ในราคาประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีผู้ยืนยันว่าได้เห็นโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นชื่อของนายอธิชาติ จุฬารกูลจริง ไม่ใช่ชื่อนายเจริญ สิริวัฒนภักดี
ขอบคุณsamsonและcHemonที่เอื้อเฟื้อรูปภาพ
และนี่ก็เป็นอีกวงเวียนที่หน้าจดจำครับ22กรกฎา
38วิ่งเอกมัย-หมอชิตเก่า