.ข้อเท็จจริงเพียงบางส่วนที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่า.....รังสีที่ประชาชนได้รับ/สัมผัสนั้น
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 09:50:52 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: .ข้อเท็จจริงเพียงบางส่วนที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่า.....รังสีที่ประชาชนได้รับ/สัมผัสนั้น  (อ่าน 2817 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 16, 2011, 04:25:19 pm »




การจะกล่าวรังสีที่ประชาชนได้รับ/สัมผัสนั้น คงต้องพูดถึงความเข้มข้น ขนาด ปริมาณและชนิดของรังสีที่พวกเขาได้รับ หากแต่หน่วยวัดทางรังสีก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนมากที่สุดในหน่วยวัดสากล(SI Unit)อีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้เข้าใจกันง่ายๆ ก่อนว่า  โดยปกติแล้วสารกัมมันตรังสี(-Isotope เป็นสารกัมมันตรังสีที่มีการสลายตัวและแผ่รังสีออกมาตลอดเวลา รังสีที่แผ่ออกมาก็แตกต่างกันและมีอำนาจหรือพลังงานที่สามารถทะลุทะลวงวัตถุมันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับแสง บางส่วนก็ถูกวัตถุหรือร่างกายดูดกลืนพลังงานเอาไว้ บางส่วน(ที่มีหลังงานสูง)ก็สามารถทะลุทะลวงร่างกายมนุษย์ได้ การเดินทางผ่านร่างกายมนุษย์จึงทำให้เกิดอันตรายขึ้นมาได้ 

รังสีที่เราสนใจในที่นี้ คือ รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา ซึ่งมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีชนิดใดๆ โดยรังสีมีทั้งที่เป็นอนุภาค(แอลฟ่า เบต้า นิวตรอน)และอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรานิยมนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งก็เป็นรังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมมา นั่นเอง......!!!

ไม่ว่ารังสีประเภทใดก็ตามเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็น “พลังงานชนิดหนึ่ง”เมื่อตกกระทบสิ่งใดก็ตาม สามารถทำปฏิกิริยากับวัตถุนั้นด้วยการถ่ายเทพลังงานให้กับสิ่งนั้น(เรียกว่า ตัวกลาง ซึ่งอาจเป็นวัตถุหรือร่างกายมนุษย์) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผลให้อิเล็คตรอนในอะตอมหรือโมเลกุลในตัวกลางมีระดับพลังงานสูงขึ้น(Excitation) แต่ถ้าหากรังสีนั้นมีพลังงานสูงมากพอก็อาจทำให้อิเล็คตรอนในวงโคจรหลุดออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุลได้ เรียกว่า การเกิดไอออนไนเซซั่น(Ionization)

ปริมาณรังสีที่ถ่ายเทพลังงานให้แก่ตัวกลางนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยค่าของหน่วยวัดปริมาณรังสีชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่กับวิธีการนำไปใช้และมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปยังผลของรังสีที่เกิดขึ้นกับระบบชีวภาพ(สิ่งมีชีวิต)

เมื่อรังสีพลังงานสูงทั้ง 2 ชนิด เดินทางผ่านวัตถุตัวกลางมันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (ดังที่ได้กล่าวข้างต้น) และยังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพได้ด้วย แต่มันจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางเคมีเสียก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนระหว่างกลางหรือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทั้งสองในระบบชีวภาพ(ในร่างกาย)

รังสีเมื่อผ่านทะลุทะลวงและบางส่วนถูกดูดกลืนไว้ในร่างกายมนุษย์ ได้ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานรังสีให้แก่อะตอมหรือโมเลกุลในร่างกายนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่มีมีเป้าเฉพาะเจาะจง โมเลกุลใดที่มีอยู่ในระบบชีวภาพมาก(ร่างกาย)จะมีโอกาสปะทะกับรังสีได้มากกว่า ดังนั้น โมเลกุลของน้ำในร่างกายมนุษย์จึงมีโอกาสมากกว่า การแตกตัวของโมเลกุลน้ำจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ(free radical)จะนำไปสู่ปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดจนเป็นอันตรายแก่สารชีวโมเลกุลอื่นๆ  เช่น โปรตีน ไขมัน ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์อันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตในลำดับต่อไป




การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ(Biological change)ในสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นเมื่ออนุมูลอิสระไปจับกับโมเลกุลภายในเซลล์ โดยเฉพาะ DNA ซึ่งเป็นเป้าสำคัญ อาจทำให้เซลล์เกิดการบาดเจ็บแล้วมีการซ่อมแซม ถ้าซ่อมแซมแล้วไม่สามารถกลับมาสู่สภาพปกติได้ก็อาจจะทำเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือเกิดการกลายพันธุ์ หรืถ้าหากความเสียหายเกิดความรุนแรงมากถึงระดับที่เซลล์ไม่สามารถซ่อมแซมได้ก็นำไปสู่สาเหตุการตายได้

ปฏิกิริยาของรังสีต่อระบบชีวภาพ(มนุษย์หรือสัตว์ทดลองก็ตาม) ทำให้เกิดอันตรายมีลำดับขั้นตอนการเกิด(จากเล็กไปใหญ่)ดังนี้

ระดับโมเลกุล เป็นระดับที่เกิดความเสียหายกับชีวโมเลกุลใหญ่ในเซลล์ เช่น โปรตีน ไขมัน DNA RNA ฯลฯ ซึ่งอันตรายในระดับนี้จะส่งผลต่อระบบเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย(metabolism) เช่น เกิดการแตกหักฉีกขาดของสายโซ่โพลีเปปไทด์(Polypeptide chain) หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์ประกอบทางเคมีของกรดอะมิโน กรดไขมัน หรือ ในเส้นสาย DNA เกิดความเสียหายแตกหักได้ โดยเฉพาะเบส Thimine(T)จะมีความไวต่อรังสีมากกว่าสายเบสของ DNA ตัวอื่นๆ

ระดับองค์ประกอบของเซลล์ เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับส่วนประกอบที่อยู่ในเซลล์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส โครโมโซม ไมโตคอนเดรีย และไลโซโซม เป็นต้น

ระดับเซลล์ ส่งผลให้เกิดการหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวที่ผิดปกติ หรือหากเปลี่ยนแปลงสภาพที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง อาจเป็นสาเหตุนำไปสู่การตายของเซลล์เกิดขึ้น

ทั้งสองระดับของผลกระทบที่มีต่อเซลล์นั้น รังสีจะส่งผลกระทบต่อการลำเลียงสารผ่านเข้าออกของเซลล์ ระยะของการแบ่งตัวของเซลล์ โดยเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของเซลล์หรือออร์แกนแนลล์โดนรังสี ผลของรังสีจะทำให้ความสามารถในการซึมผ่านของสสาร(permeability) และความหนืด(viscosity)เกิดการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้การทำหน้าที่ผิดปกติไป ความรุนแรงจากผลของรังสีจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสี ตำแหน่งของออร์แกนแนลล์และช่วงระยะใดในระยะของกรแบ่งเซลล์(ระยะการแบ่งเซลล์ที่เป็นอันตรายเมื่อได้รับรังสีมากที่สุด คือ ช่วงระยะก่อนโปรเฟส prophase) โดยเฉพาะส่วนที่เป็น“เป้าสำคัญ”(คือ DNA)อันเป็นชนวนนำไปสู่การตายของเซลล์

เมื่อมีการตายของเซลล์หรือเกิดความเสียหายต่อระบบชีวภาพในร่างกาย เซลล์จะแสดงปรากฏการณ์ได้เป็น 4 ระดับ คือ 1) คงสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2)เกิดความเสียหายในระดับที่ยังซ่อมแซมได้ 3)เซลล์บาดเจ็บเสียหายและมีการซ่อมแซมแล้วเซลล์ดำรงอยู่ในสภาวะที่ไม่ใช่สภาพปกติ(เช่น เซลล์มะเร็ง) และ 4)ความเสียหายที่นำเซลล์ไปสู่กระบวนการตาย




หากร่างกายได้รับรังสีทั่งตัว อาการเจ็บป่วยที่เฉียบพลันที่ร่างกายจะแสดงปรากฏการณ์ให้เห็นเฉพาะในบางระบบของอวัยวะเท่านั้น โดยเฉพาะอวัยวะที่มีระบบการสร้างเซลล์ใหม่(Mitotic cells)ขึ้นมาทดแทนเซลล์แก่ที่ถูกทำลายไป และเป็นระบบอวัยวะที่มีอิทธิพลต่อการมีชีวิตรอดของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์ในระบบไขกระดูก เซลล์ในระบบทางเดินอาหาร โดยเซลล์ที่มีระบบการสร้างเซลล์ใหม่จะประกอบด้วยเซลล์อ่อน(เกิดใหม่)ซึ่งไวต่อการตอบสนองต่อรังสี จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทำลายและปรากฏอาการเปลี่ยนแปลงให้เห็นชัดกว่าเซลล์กลุ่มที่ไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่

ระดับเนื้อเยื่อและอวัยวะ อาจเกิดความเสียหายหรืออาการบาดเจ็บกับระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร จนถึงแก่ความตาย หรือผลในระยะยาวอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งขึ้นมาได้

อวัยวะแต่ละอวัยวะนั้นประกอบด้วยเซลล์ที่ต่างชนิดกันออกไป จึงย่อมมีความไวต่อการตอบสนองรังสีแตกต่างกัน ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง ระบบผิวหนัง ผมและขน ถ้าได้รับรังสีมากกว่า 50 เกรย์ขึ้นไป อาจทำให้เกิดการตายเฉพาะส่วน(Necrosis)ของผิวหนังบริเวณนั้นได้ ต่อมขนและผมมีความไวต่อรังสีพอสมควรจึงเกิดการหลุดร่วงของผมหากได้รับรังสีระดับปานกลางในสัปดาห์ที่ 1-3 

ระดับร่างกาย อาจทำให้อายุสั้นหรือตายก่อนเวลา อาการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลันภายหลังจากที่ได้รับรังสีจนถึงขั้นเสียชีวิตนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดปริมาณของรังสีเป็นสำคัญ ซึ่งต้องมีปริมาณที่ค่อนข้างมาก ส่วนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยจนนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน เป็นผลเนื่องจากการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ระบบหลอดเลือดสมอง ระบบทางเดินอาหาร และการสร้างเม็ดเลือดและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด

เช่น รังสีทำลายเยื่อบุต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการทำลาย หลุดลอกของเยื่อบุ จะส่งผลให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น อาจส่งผลต่อการทำหน้าที่ของเซลล์จับกินเชื้อโรค(Macorphage cells)สูญเสียประสิทธิภาพในการทำหน้าที่จับกินเชื้อโรค ซึ่งจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อไปได้

ระดับกลุ่มประชากร ผลของรังสีในระยะยาวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนและโครโมโซม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้

นอกจากนี้รังสียังส่งผลกระทบระบบพันธุกรรมที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับยีน ซึ่งเกิดจากการมีผลกระทบถึงเซลล์สืบพันธุ์ รวมถึงรังสีที่มีผลกระทบต่อมารดาที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์อีกด้วย

ผลในระยะยาวของรังสี มักทำให้เกิดการภาวะไขกระดูกฝ่อ กระทบถึงการเจริญเติบโตของร่างกาย การเกิดต้อกระจก ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย




กล่าวโดยสรุป สารกัมมันตรังสี คือ ธาตุที่มีการสลายตัวปล่อยรังสี(เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี) ซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ปล่อยออกจากตัวมันเองตลอดเวลา จนกว่าจะหมดพลังงาน(หมดอายุขัยของมัน) เรานับ“ค่าครึ่งอายุ”(Half life)เป็นค่าเฉพาะตัวของมัน

สมมุติว่าตัวสารนั้นมีค่ากัมมันตรังสีอยู่ 100 มันจะทีค่าความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมานั้นเหลือ 50% ที่ระยะเวลาเท่าไร นั่นคือ "ครึ่งชีวิต"  เช่น

ไอโอดีน-131 มีครึ่งอายุ 8 วัน หากนำมาเก็บเป็นเวลา 40 วัน มันจะเหลือพลังงานเพียง 3 % เท่านั้น โคบอลท์-60 มีครึ่งอายุ 5.2 ปี ถ้าต้องการให้เหลือพลังงาน 3% ต้องเก็บนาน 25 ปี ส่วนแร่ซีเซียม-137 มีครึ่งอายุ 30 ปี ต้องใช้เวลานานถึง 150 ปี จึงจะเหลือพลังงานเพียง 3 %

(การระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิชิ นั้นมีการตรวจพบว่า มีสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม-137 ปนเปื้อนออกมา)

สารกัมมันตรังสีบางชนิดมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แร่เรเดียม-226, ยูเรเนียม-238 ฯลฯ แต่ที่มีใช้ในวงการแพทย์ปัจจุบันเป็นสารที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น โคบอลท์-60, ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 เป็นต้น

ผลกระทบของรังสีต่อสุขภาพ ถ้าร่างกายได้รับรังสี เนื้อเยื่อของอวัยวะที่เซลล์แบ่งตัวเร็ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือถูกทำลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ เช่น ที่ผิวหนัง เยื่อบุในช่องปาก โดยเฉพาะที่ไขกระดูก เนื่องจากเซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายสร้างมาจากเซลล์ต้นกำเนิด(Stem cells)ในไขกระดูก อาทิเช่น เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีขนาดเล็ก(B, T cells)


อาการที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับกัมมันตรังสีโดยไม่มีการควบคุม เช่นในกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในคราวนี้ อาจเกิดอาการต่อไปนี้ต่อผู้ได้รับสารกัมมันตรังสี ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรุนแรง ระบบการสร้างโลหิตจากที่ไขกระดูกบกพร่อง ร่างกายความต้านทานโรคต่ำ เกิดความผิดปกติบริเวณที่ถูกรังสี เช่น ผิวหนังไหม้พุพอง ผมร่วง ปากเปื่อย เป็นต้น


หลักการป้องกันอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสี และปอดภัยจากกัมมันตภาพรังสี

ใช้ตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูงทำเป็นฉากกั้น/กำบัง  เช่น ตะกั่ว หรือกำแพงคอนกรีตหนา  ใช้ระยะทาง ยิ่งอยู่ห่างจากสารกัมมันตรังสีมาก ก็จะได้รับรังสีน้อยลง ใช้เวลาน้อยที่สุด ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี

แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิพัดพาแค่บ้านเรือน ทรัพย์สินมีค่าสูญหายไป  ชีวิตผู้คนยังสามารถหลบหนีไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยได้ แต่การแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น แม้แต่..ชีวิตก็อาจจะหาไม่ 
 Cheesy
http://www.oknation.net/blog/nn1234/2011/03/15/entry-1


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!