สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ  (อ่าน 1457 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 07:42:07 am »



สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ
นอกจากเราจะใช้สติปัญญาในการทำงาน
เพื่อแก้ปัญหาและหาหนทางเจริญก้าวหน้าอยู่นั้น
มีทฤษฎีมากมายที่หวังให้เราปฏิบัติตาม ลองย้อนกลับมาใช้ธรรมะง่ายๆ
ที่ให้คุณประสบความสำเร็จในการทำงานสูงสุด
ธรรมะที่เราควรจะหยิบยกมาใช้ในการทำงานทุกวันนี้
คงหนีไม่พ้นอิทธิบาท 4
เพราะความหมายของอิทธิบาท 4 คือธรรมให้ถึงความสำเร็จ หรือหนทางแห่งความสำเร็จนั่นเอง
โดยหลักอิทธิบาท 4 นั้นเป็นหลักธรรมสำคัญที่ทำให้เกิดสมาธิในการทำงาน
ไม่ฟุ้งซ่านไปกับสังคมและกระแสต่างๆ พร้อมทั้งตีกรอบให้เราทำงานอย่างคงเส้นคงวาอีกด้วย

ฉันทะ = ฉันพอใจกับงานที่ทำอยู่
มีใครบ้างไหมไม่ชอบงานที่ทำอยู่
ให้คุณลองตรวจสอบตัวเองดูว่า คุณนั้นมีความชอบหรือศรัทธากับงานแบบใด
หรือพอใจกับงานแบบใดอยู่ เหมือนกับคุณเป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่
กำลังใช้ความคิดใตร่ตรองว่าคุณต้อง การเดินไปเส้นทางใด
เรื่องเหล่านี้ไม่มีใครให้คำตอบคุณได้เพราะเป็นความชอบความศรัทธาที่ก่อเกิด จากตัวของคุณเอง
จริงอยู่ที่งานแต่ละอย่างไม่มีทางที่คุณจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ
แต่ถ้าคุณพอใจที่จะทำให้ดี สบายใจที่จะต้องเจอมันทุกวันเราเรียกว่าความศรัทธา
เป็นสิ่งแรกที่มนุษย์ต้องการและเป็นพื้นฐานของความสำเร็จ
อย่างเช่น คุณมีความศรัทธาและใจรักที่จะเป็นพนักงานขายที่ดีและซื่อสัตย์
สิ่งนี้จะเป็นพลังให้คุณเดินไปหาความสำเร็จได้แบบเป็นเส้นตรง
และเข้าถึงจิตใจเนื้อแท้ในการทำงานมากกว่าคนที่ไม่ได้มีความศรัทธาใดๆ กับงานที่ทำ
คุณอาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง
ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่
เพียงแค่นี้คุณก็จะทราบตัวเองว่ามีความลึกซึ้งกับงานที่ทำอยู่เพียงใด
เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง
หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่

วิริยะ = ฉันขยันหมั่นเพียรกับงานที่มีคงไม่มีคนไหนประสบความสำเร็จโดยปราศจากความเพียร

เป็นคำคมที่แปลง่ายแต่ความหมายเหน็ดเหนื่อยยิ่งนัก
เพราะความวิริยะนั้นเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้
ยิ่งคุณขยันเท่าไรผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น
ยกตัวอย่างต่อจากหัวข้อฉันทะ คุณเป็นพนักงานขายที่มีความศรัทธากับงานที่ทำ
มีความสุขในการทำงานเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
ร่วมกับความขยันหมั่นเพียร ไม่เฉยชาที่จะต้อนรับลูกค้า กระตือรือล้นหาลูกค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ
มีวินัยในการทำงาน ไม่ท้อกับปัญหาและอุปสรรคที่เข้ามา
มีความทุ่มเทอย่างนี้ ตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความศรัทธาของฉันทะนั่นเอง
และความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเองต่างหาก

จิตตะ = ฉันเอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ จิตใจที่จดจ่อกับงานไม่วอกแวกไปเที่ยวเล่นล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ
จิตตะเป็นธรรมแสดงถึงสติและจิตใจที่รอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา
ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน
และขัดขาจนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือสิ่งใดกันแน่
จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง

ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว
จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้
รวมทั้งเป็นสติที่สื่อออกมาถึงความมุ่งมั่นที่สูงกว่าความพอใจและความขยัน หมั่นเพียร

วิมังสา = ฉันใคร่ครวญและใช้ปัญญาตรวจสอบงาน สิ่งสุดท้ายในการทำงานคือการใช้ปัญญา ที่เป็นกุญแจสูงสุดของอิทธิบาท 4
เมื่อคุณมีความรักในงานที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียร มีสติรับผิดชอบ
การมีปัญญาคือการทบทวนตนเองและปัญหา
ว่าสิ่งที่เราได้ทำมานั้นมีผลดีผลเสียอย่างไร
มีสิ่งใดที่เข้ามากระทบใจเราหรือคนอื่นหรือไม่
เราจะได้รู้จุดยืนของเราว่าทำงานและอยู่ในด้านทุกข์หรือสุข ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จ
อย่างเช่น ทบทวนตัวเองนิ่งๆ ว่าวันนี้ทั้งวันเราทำอะไรบ้าง
สรุปกับตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เราจะได้มีกำลังใจต่อในวันต่อๆ ไป
และไม่ทำผิดซ้ำซากอีกเช่นเดิม พร้อมกันนั้นเราจะสามารถเห็นหนทางได้ว่า
เส้นทางไหนที่จะนำเราสู่ความสำเร็จได้จริงๆ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: