วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7282 ข่าวสดรายวันเมื่อ วันที่ 4 พ.ย. ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ร่วมกับ บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) จัดทำรายงานประจำปีི โดยวิเคราะห์ระเบียบข้อบังคับของราชการที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ "Doing Business 2011 : Making a Difference for Entrepreneurs" รวมทั้งสิ้น 183 ประเทศทั่วโลก พบว่า
ใน การสำรวจครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ที่ประเทศในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ก้าวเข้ามาอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการตื่นตัวมากที่สุดในเรื่องการปฏิรูปกฎ ระเบียบราชการ เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปีที่ผ่านมามี 18 จาก 24 ประเทศ ที่มีการปฏิรูปดังกล่าว และนับเป็นจำนวนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก
โดย ประเทศสิงคโปร์ ยังครองตำแหน่งอันดับ 1 ของโลก เรื่องการอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินธุรกิจเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน ส่วนเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ยังตามมาติดๆ เป็นอันดับที่ 2 สาธารณรัฐเกาหลีใต้ อยู่ในอันดับ 16 ญี่ปุ่นอันดับ 18
ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 19 ตกลงจากการจัดอันดับครั้งก่อนซึ่งอยู่ในอันดับ 16
ส่วนมาเลเซียอยู่ในอันดับ 21 เวียดนามอันดับ 78 จีนอันดับ 79 อินโดนีเซียอันดับ 121 และฟิลิปปินส์อันดับ 148 เป็นต้น
อย่าง ไรก็ตาม พบว่าเวียดนามเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ที่มีการปฏิรูปกฎระเบียบในการทำธุรกิจมากที่สุด ทำให้สถานะของเวียดนามเกี่ยวกับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจประจำปีི ขยับขึ้นมาถึง 10 อันดับ มาอยู่ที่ตำแหน่งที่ 78
เช่นเดียวกับ จีนที่เป็น 1 ใน 15 ประเทศ ที่มีการปรับปรุงกฎระเบียบมากที่สุด โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางการจีนได้ปรับปรุงกฎระเบียบไปแล้วทั้งสิ้น 14 เรื่อง ครอบคลุมธุรกิจ 9 สาขา
จากสถิติพบว่า "ประเทศกำลังพัฒนาเริ่มตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้น เห็นได้จากปีที่ผ่านมามี 66% ของประเทศกำลังพัฒนา มีการปฏิรูปกฎระเบียบว่าด้วยการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจาก 6 ปีก่อน ที่มีเพียง 34% เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้"
นายดาเลีย คาลิฟา ที่ปรึกษาอาวุโส การจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ กล่าวว่า การจัดอันดับของไทยที่ตกลงมาจากครั้งก่อนนั้น เนื่องจากเวิลด์แบงก์ได้ตัดดัชนีการจ้างแรงงานออกจากการวิเคราะห์ตามมาตรฐาน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ซึ่งไทยมีลักษณะการจ้างแรงงานง่าย แต่ปลดหรือให้ออกยาก ทำให้ไม่มีแรงงานใหม่หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเท่าที่ควร
ประกอบ กับไทยยกเลิกการลดภาษีชั่วคราว สำหรับการโอนสินทรัพย์ ทำให้การจดทะเบียนทรัพย์สินมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจที่ยากขึ้น แม้จะลดภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระยะเวลา 1 ปีก็ตาม
ด้าน นายแมทธิว เวอร์กิส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า แม้ไทยจะถูกลดอันดับมาอยู่ที่ 19 แต่ยังถือเป็นตัวเลขที่สูง สะท้อนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การปฏิบัติตามกฎระเบียบง่ายขึ้นดีกว่า มาเลเซีย เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
นายอาวุธ วรรณวงศ์ รองเลขาธิการ สำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกไม่พอใจกับวิธีการจัดอันดับที่เวิลด์แบงก์ให้เหตุผลการตัด ดัชนีการจ้างแรงงานออก ทั้งๆ ที่นโยบายดูแลแรงงานในไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ไทยกลับตกมาอยู่ที่อันดับ 19
อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่บวก ไทยนับเป็น 1 ใน 4 ประเทศของภูมิภาคเอเชียที่ติดอยู่ในกลุ่ม 25 ประเทศที่ดีที่สุดในโลก เรื่องกฎระเบียบที่อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินธุรกิจ แต่ยอมรับว่าคงต้องปรับปรุงในส่วนที่เป็นข้อเสียต่อไป
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจในไทยยิ่งๆ ขึ้น