เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า...ควรปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาอย่างไร? (ตอน ๖)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า...ควรปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาอย่างไร? (ตอน ๖)  (อ่าน 1368 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:44:19 pm »




ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...จะได้มั่นคงดำรงอยู่ในโลกปัจจุบันได้อย่างไม่วุ่นวาย ไม่เร่าร้อน เพื่อความสงบสุขของชีวิต...

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

พระสีวลีเถระ/มหาโพธิสมาคม
พุทธคยา อินเดีย


วิสัชนา : หากจะนำ “หลักโยนิโสมนสิการ” มากล่าว คงจะต้องขออนุญาตสรุปย่อพอเข้าใจ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา จึงขอแนะนำให้สาธุชนขวนขวายไปเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือประกอบการศึกษาทางพุทธศาสนา ที่ผู้รู้จำนวนมากได้แต่งตำราเผยแพร่กับในสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งไม่อัตคัดตำรา หนังสือ แหล่งความรู้จากภายนอก หรือเรียกว่า ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น) เพื่อจะได้นำไปสู่การพัฒนาความคิด ความเห็นให้ชอบ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม โดยการน้อมนำความรู้อันดีงามเหล่านั้น เข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) เพื่อสร้างทิฏฐิอันชอบโดยธรรม อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม สมควรแก่ธรรม (ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ)

เมื่อสังเคราะห์ลงมาโดยสรุปได้ชัดเจนว่า “การคิดเป็น คิดถูก หรือการรู้จักคิดนั้น จะนำไปสู่แสงสว่างแห่งชีวิต” เพื่อความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่ต้องการก้าวออกจากความทุกข์ จึงต้องรู้จักคบหากัลยาณมิตร เพื่อได้รับฟังเสียงที่ดีงาม สิ่งที่ถูกต้อง (ปรโตโฆสะ) ฯลฯ และการรู้จักโยนิโสมนสิการ ซึ่งได้แก่ การรู้จักนำมาคิดพิจารณาโดยแยบคาย เพื่อสร้างองค์ความรู้อันนำไปสู่ปัญญาหรือแสงสว่างแห่งดวงจิต จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนซึ่งกันและกัน สำหรับผู้ยังต้องศึกษา จนกว่าจะก้าวถึงที่สุดแห่งเส้นทางธรรม...

หากจะขอกล่าวถึง ความหมายของ “โยนิโสมนสิการ” นั้น คงจะแปลตามรูปศัพท์ได้ว่า การกระทำในใจโดยแยบคาย (โยนิสะ = แหล่งเกิดปัญญา อุบาย วิธีฯ, มนสิการ = การทำในใจ การคิด คำนึงฯ) ซึ่งอาจจะสรุปใจความตามรูปศัพท์ให้พอเข้าใจได้ว่า เป็นกระบวนการคิดอย่างมีทิศทาง คิดตามเหตุ คิดตามผล คิดอย่างมีเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่ความรู้แจ้งหรือเกิดปัญญาอันชอบ ท่านผู้รู้มักจะสรุปกันว่า เป็นความคิดอย่างถูกวิธี มีระเบียบ มีเหตุผล และเร้ากุศล ทั้งนี้ ได้สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า “โยนิโสมนสิการ” นั้น เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา คือ เกิดสัมมาทิฏฐิ

เพื่อเข้าสู่ธรรมกระแส บนหนทางแห่งอริยมรรค อันมีองค์ธรรม ๘ ประการ ซึ่งสัมมาทิฏฐินั้น แท้จริง คือตัวปัญญา อันนำไปสู่การมีวิชชาเกิดขึ้น เพื่อดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ในชีวิต หรือการบรรเทาความทุกข์ด้วยความเข้าใจ หรือรู้เท่าทันโลก ในวิถีแห่งโลกียสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเห็นชอบของบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องอยู่กับโลกสืบเนื่องการดำเนินชีวิตบนหลักศีลธรรม เพื่อการดำรงความดีงามของตนไว้ในฐานะทางโลก ซึ่งจะต้องอาศัยกำลังศรัทธาในการยึดเหนี่ยวจิต ชักนำความคิดไปทางกุศลธรรม รู้จักใช้หลักโยนิโสมนสิการ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินไปของชีวิต เพื่อรู้ประโยชน์ รู้คุณค่าความหมายแห่งศีลธรรม ในการนำไปสู่การประกอบความดี

จึงต้องมีกำลังศรัทธาชักนำจิตให้รู้จักคิดพินิจตามธรรม (โยนิโสมนสิการ) โดยการได้รับรู้ รับฟัง ได้รับการศึกษาในสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง มีประโยชน์โดยธรรม (ปรโตโฆสะ) ซึ่งเกิดจากการได้คบค้ากับผู้รู้หรือบัณฑิต ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรที่ควรค่า จึงนำไปสู่การรู้จักคิดอย่างมีปัญญา เพื่อมุ่งขจัดความไม่รู้หรืออวิชชาให้หมดไป ดังที่จะกล่าวโดยสรุปถึงลำดับวิธีการแห่งการคิดพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ตามหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา อันมีประโยชน์ยิ่ง...ดังนี้



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: