เพื่อชีวิตที่มีคุณค่าควรปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างไร (ตอน๓)
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อชีวิตที่มีคุณค่าควรปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างไร (ตอน๓)  (อ่าน 1302 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:41:42 pm »




ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา : ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพ...จะได้มั่นคงดำรงอยู่ในโลกปัจจุบันได้อย่างไม่วุ่นวาย ไม่เร่าร้อน เพื่อความสงบสุขของชีวิต...

พระสีวลีเถระ

มหาโพธิสมาคม พุทธคยา อินเดีย


วิสัชนา : จึงมีนัยแห่งความหมายอันเดียวกัน แม้จะแตกต่างฐานะ แต่ด้วยความมีหัวใจอันเดียวกัน คือ ศรัทธาในพระรัตนตรัย จึงมีความต้องการที่ใคร่จะรู้แนวทางการปฏิบัติตน ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อความสงบสุขแห่งชีวิต และเพื่อความไม่หวั่นไหว โอนเอนไปสู่วิถีวัตถุนิยม จนเสียสภาพความเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่ต้องแอบอิงหลักศีลธรรม เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่ถูกต้องตามหลักแห่งความดี อันเป็นไปตามคลองธรรม สอดคล้องกับศีลธรรม ซึ่งทำให้เกิดความเห็นชอบในความจริงอันปรากฏอยู่ในรูปแบบ กรรมนิยาม ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน...มีกรรมเป็นผู้ให้ผล...มีกรรมเป็นแดนเกิด...มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์...มีกรรมเป็นผู้ติดตาม จักทำกรรมอันใดไว้...จักต้องได้รับผลของกรรมนั้น”

จึงไม่ยากต่อการนำทั้งสองท่าน ไปสู่ความเข้าใจในหลักธรรม อันควรแก่การถือปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ตามที่ปุจฉามา ซึ่งมีนัยแห่งความหมายที่สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาที่มีต่อคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาว่า “สามารถระงับยับยั้งความทุกข์ ความเร่าร้อน และสามารถดับทุกข์ได้จริง” อีกประเด็นสำคัญอันหนึ่งคือ ให้หลักยึดที่ถูกต้อง เพื่อความไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์แห่งสังคม ที่ร้อนแรงด้วยไฟ ๓ กอง จึงขอนำพระสัจธรรมอันควรค่าแก่การบูชามาเพื่อการทำปัญญาแห่งสาธุชนผู้ใคร่ในการศึกษาทั้งหลาย เพื่อการนำไปสู่ประโยชน์ในความเข้าใจในเบื้องหน้า มีความว่า...

...อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมดำรงอยู่ ตามสภาพของมันอย่างนั้นเอง...ดังนั้นธีรชนทั้งหลายจึงขจัด (แต่เพียง) ด้วยความอยาก (ตัณหาฉันทะ) ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น (คือมิใช่กำจัดอารมณ์อันวิจิตร)...

อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลก หาใช่เป็นกามไม่!! ราคะที่เกิดจากความคิดของตน (ต่างหาก) เป็นกาม!! ดังนั้นธีรชนทั้งหลายจึงขจัด (แต่เพียง) ตัวความอยาก (ตัณหาฉันทะ) ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น...
จากสาระธรรมที่ยกขึ้นมากล่าวบูชาดังกล่าว มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสาธุชนผู้ใคร่หาทางออกจากวังวนของความว้าวุ่น วกวน สับสน ซึ่งเกิดจากวิถีจิต หรือ จิตวิถี ที่วิ่งแล่นเข้าไปรับรู้เกี่ยวเนื่องในอารมณ์นั้นๆ ที่มาเยือน อันเป็นธรรมชาติของจิตที่ทำตนดุจเป็นเจ้าของบ้านคอยต้อนรับแขกอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย...ทั้งนี้ด้วยอำนาจของกิเลสในจิตสันดานที่ทรงพลังในการขับเคลื่อน ผลักดันให้เป็นไปตามสภาพของกิเลสผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งให้ผลทั้งบุญและบาป...ทุกข์หรือสุขก็ได้ อันเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆ...

ดังนั้น การรู้เท่าทันความอยากด้วยสติปัญญา...เห็นแล้ว...รู้แล้ว จึงละอำนาจความอยากที่ก่อเกิดในจิตสันดานให้ทัน จึงเป็นการขุดรากตัดโคตรเหง้าของปัญหาหรือเหตุปัจจัยนั้นๆ...สภาวธรรมทั้งหลายก็ย่อมดับสิ้นไป

นี่! เป็นกฎธรรมดา ซึ่งบุคคลที่ฝึกฝนตนดีแล้ว มีสติกำหนดรู้พร้อมอยู่เบื้องหน้า ก็สามารถดับทุกข์ได้ทุกขณะ โดยการเฝ้าระวังรักษาดูแลจิตใจของตน ให้รู้เท่า รู้ทัน เพื่อละวางคลายออกจากการเข้าไปยึดถือในความคิด...ในอารมณ์นั้นๆ

โดยสรุปตามธรรม ความสุข...ความทุกข์ จึงอยู่ที่คุณภาพหรือประสิทธิภาพแห่งจิตของเราเอง ว่า ทรงคุณภาพทางธรรม มากน้อยแค่ไหน...หากเราฝึกฝนจิตดีแล้ว มีสติปัญญาควบคุมให้จิตอยู่ในวิถีอันเหมาะควร แยกแยะ สาระ หรือ อสาระ ได้ รู้จักวิธีการเปลื้องอารมณ์ออกจากจิตเป็น จากการตามดูรู้เห็นจิตหรือตัวผู้นึกคิดได้ในทุกขณะ...ปัญญาก็ย่อมตั้งอยู่ในจิตนั้นที่พร้อมอยู่ในความแน่วแน่ไม่ซัดส่าย ยักย้ายไปตามอารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลก ซึ่งดำรงอยู่ตามสภาพของมัน อย่างนั้นเอง อันเป็นปกติของโลกขันธ์นี้

พระพุทธศาสนาของเรา ไม่ได้สอนให้เราขวางโลก แก้โลก ทำลายโลก เกลียดชัง หรือ ยินดีต่อโลก แต่สอนให้เราเข้าใจธรรมชาติของโลกขันธ์ ว่า...มันเป็นเช่นนี้เอง...ไม่เปลี่ยนไปจากนี้ และไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เพราะสภาพธรรมทั้งหลาย (ไม่ว่า โลกุตตรธรรม หรือ โลกียธรรม) ล้วนแล้วแต่เป็นอนัตตา...



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: