เครื่องรับวิทยุและการกระจายเสียง
จากการทดลองของไฮน์ริชเฮริตที่ค้นพบว่า ถ้าความถี่สูงขึ้นมีผลต่อความยาวคลื่น นั่นคือความยาวคลื่นน้อยลลง การเดินทางของคลื่นไฟฟ้าจะเดินทางไกล
คลื่นวิทยุมีลักษณะคล้ายกับคลื่นเสียง แต่พลังงานของมมันจัดอยู่ในพวกเดียวกับพวกคลื่นแสง และย่านความถี่วิทยุถูกแบ่งเป็นช่วงดังนี้
หลักการในการกระจายเสียงเบื้องต้น เป็นการนำเอาสัญญาณความถี่เสียงไปผสมกับสัญญาณความถี่วิทยุ แล้วส่งออกไปในรูปของสัญญาณไฟฟ้า โดยความถี่นั้น คือการที่เราส่งออกไปจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่าการกระจายเสียงไปที่ไกลๆเราต้องฝากสัญญาณความถี่เสียงไปกับความถี่วิทยุจึงเรียกความถี่วิทยุว่า
คลื่นพาห์ (Carrier Wave)
การผสมสัญญาณความถี่เสียงกับความถี่วิทยุเรียกว่ามอดูเลชั่น (Modulation) การมอดูเลชั่นเบื้องต้นมี 2 แบบคือ
1. แอมปลิจูดมอดูเลชั่น (Amplitude Modulation) หรือการผสมสัญญาณในแบบ AM เป็นการนำความถี่วิทยุมาผสมกับสัญญาณเสียงเพื่อทำให้เกิดคลื่นวิทยุที่เปลี่ยนแปลงแอมปลิจูดตามสัญญาณความถี่เสียง
2. ฟรีเควนซี่ มอดูเลชั่น (Frepuency Modulation) หรือการผสมสัญญาณในระบบ FM เป็นการส่งกระจายเสียง โดยผสมคลื่นทางความถี่กล่าวคือเอาความถี่เสียงผสมกับความถี่วิทยุแล้วทำให้ความ ถี่วิทยุเปลี่ยนแปลงถี่บ้างห่างบ้าง
การแพร่คลื่นแบบคลื่นตรง (Direct Wave Radiation)
คลื่นตรง (Direct Wave) เป็นการเดินทางของคลื่นวิทยุในระดับสายตา (Line of Sigh) คลื่นตรงหากมีสิ่งกีดขวาง จะส่งผลให้ความแรงของสัญญาณถูกลดทอนลง และถ้าหากต้องการส่งไปไกล ๆ จะต้องขึ้นเสาสูง เพื่อให้พ้นส่วนโค้งของโลก และสิ่งกีดขวางในทางราบ
การแพร่คลื่นแบบคลื่นดิน (Ground Wave Radiatoin)
เป็นคลื่นที่สามารถเดินทางขนานไปกับพื้นโลก สามารถเคลื่อนที่ไปตามความโค้งของโลกได้ การส่งในลักษณะนี้ยิ่งพื้นดินมีความชื้นมากจะทำไห้มีผลต่อการเดินทางของคลื่นวิทยุดีขึ้น
การแพร่คลื่นแบบคลื่นฟ้า (Sky Wave Radiation)
บนชั้นบรรยากาศที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ ทำไห้มีการส่งคลื่นวิทยุสะท้อนชั้นบรรยากาศที่ใช้กับคลื่นวิทยุย่านความถี่สูง แต่เนื่องจากชั้นบรรยากาศนี้สามารถแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา จึงเป็นอุปสรรคต่อการส่งคลื่นวิทยุ
เครื่องรับวิทยุเอเอ็ม (AM Reeiver)
เครื่องรับวิทยุที่กำเนิดครั้งแรก คือ วิทยุแร่ จากนั้นก็ถูกปรับปรุงเป็น TRF (Tune Radio Frequency) ซึ่งก็ยังมีข้อเสีย เช่น ไม่สามารถที่จะทำไห้อัตราขยายสม่ำเสมอได้ทุกความถี่ สัญญาณแทรกซ้อนง่าย เป็นเหตุไห้มีการปปรับปรุงจนได้เครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮทเทอโรดายน์ (Superhetrodyne)โดยการนำเอาความถี่วิทยุมาเปลี่ยนเป็นความถี่กลาง (Intermediate Frequency) เสียก่อน
ขอบคุณ
http://www.geocities.com/naptec_en/learn_10.htm