การจัดการประมงปูม้าแบบชุมชนมีส่วนร่วมที่จังหวัดตรัง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 02:55:57 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดการประมงปูม้าแบบชุมชนมีส่วนร่วมที่จังหวัดตรัง  (อ่าน 6606 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2010, 07:13:37 pm »


ปูม้าเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีมูลค่าและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย มีแหล่งที่อยู่อาศัยแพร่กระจายทั่วไปบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย แต่หลังจากปี 2543 เป็นต้นมา ปูม้าในธรรมชาติลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือประมงปูม้าที่มีประสิทธิภาพ (over fishing) เช่น ลอบพับ และอวน มาใช้จับปูมากขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตลาดปูม้าทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ปูในธรรมชาติไม่สามารถเกิดทดแทนได้ทันและอยู่ในสภาพถดถอย  และในปี 2547 ผลผลิตปูม้าจากการประมงชายฝั่งในพื้นที่อ่าวสิเกาประมาณร้อยละ 64.3 ถูกจับด้วยเครื่องมือลอบปูและไซปู และมีการจับปูม้าขนาดเล็กมาใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรปูม้าที่ไม่คุ้มค่า ส่งผลกระทบต่อการเกิดทดแทน ทำให้ทรัพยากรปูม้าที่เคยอุดมสมบูรณ์ในบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังเกิดความเสื่อมโทรม

           สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนการจัดทำโครงการ “การจัดการประมงปูม้าในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง” แก่ ผศ. ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตรัง โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลเชิงนโยบายในการเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์ปูม้า ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งผลจากงานวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า หากนโยบายหรือมาตรการที่ใช้มีผลกระทบต่อรายได้ของชาวประมง ชาวประมงจะไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นหากได้มีการร่วมคิดร่วมทำเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและประชาชนคือชาวประมงในพื้นที่ตั้งแต่ต้นทางน่าจะเกิดประโยชน์และ ความร่วมมือในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้ สกว. จึงได้พัฒนาโครงการเพื่อต่อยอดจากงานวิจัยดังกล่าวในโครงการ “การจัดการประมงปูม้าแบบชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” แก่อาจารย์อภิรักษ์ สงรักษ์ เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงปูม้าในคอกโดยให้ชาวประมงมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการภายในชุมชนเอง และเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรและทุนที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์คุ้ม ค่า และเป็นการฟื้นฟูประชากรปูม้าที่กำลังถดถอย รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานในระดับพื้นที่และส่วนกลาง


ผลจากการดำเนินงานทำให้เกิด
           1)  การขยายโครงการขุนปูม้าและธนาคารปูม้าในระดับชุมชนของจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียงจำนวน 7 ชุมชน ได้แก่ กิจกรรมการเลี้ยงปูม้าในชุมชนเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร, ชุมชนบ้านหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม, ชุมชนบ้านติงไหร อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะศรีบอยา, กิจกรรมธนาคารปูม้าในชุมชนบ้านน้ำราบ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง, ชุมชนบ้านปากคลอง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง, ชุมชนบ้านฉางหลาง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และชุมชนบ้านพระม่วง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง   

           2)  เกิดการขยายโครงการด้านธนาคารปูม้าสู่การจัดการประมงในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลร่วมกับองค์กรพัฒนาชุมชน (NGOs) ภาคใต้ในโครงการเขตเลเสบ้าน (เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนสี่หมู่บ้าน จังหวัดตรัง) ได้แก่ บ้านเกาะมุกด์ บ้านน้ำราบ น้ำควนตุ้งกู และบ้านฉางหลาง ซึ่งช่วยให้เกิดขอบเขตการครอบคลุมพื้นที่อนุรักษ์ประมาณ 44.02 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 27,518 ไร่ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ เขตอนุรักษ์นี้ได้มีการผลักดันการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยของโครงการ “การจัดการประมงปูม้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม” เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาว และแผนปฏิบัติการในปี 2552  นอกจากนี้ ผลจากการดำเนินงานวิจัยดังกล่าว คณะนักวิจัยได้ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์อนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 ในการจัดทำแผนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดตรัง (งบอยู่ดีมีสุข) ประจำปี 2552  และขณะนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในวงเงิน 800,000 บาท ครอบคลุมพื้นที่ 4 หมู่บ้านใน 4 อำเภอ และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเดือนมีนาคม 2552  นับเป็นผลสัมฤทธิ์ที่เกินความคาดหมาย



นอกจากนี้ยังพบว่าได้มีการขยายผลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ไปยังหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง คือ กระบี่ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานองค์กรการปกครองส่วนจังหวัดและองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกว่า 17 หน่วยงาน ได้มีการนำหลักการและแนวทางจากผลงานวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 จังหวัดภูเก็ต เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังคณะทำงานด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง สำนักงานประมงจังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง, องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรังองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง, องค์การบริหารส่วนตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง คณะกรรมการบริหารแนวเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนสี่หมู่บ้าน และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดตรัง

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของงานสื่อสารสังคม (สกว.) กับวิชาการดอทคอม
ที่มา :   ประชาคมวิจัย



บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!