มีเพื่อนช่างคนไหน แพ้สาร ตะกั่ว ฟลั๊ก มั่งครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 12:38:13 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มีเพื่อนช่างคนไหน แพ้สาร ตะกั่ว ฟลั๊ก มั่งครับ  (อ่าน 7410 ครั้ง)
veeravut
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 167



« เมื่อ: มิถุนายน 25, 2008, 12:26:54 am »

 อยากทราบว่า มีเพื่อนๆๆคนไหน แพ้ ฟลั๊กลอด มือถือ พวกตะกั่วเหลว ซ่อมมือถือบ้างไหมครับ ผมเป็นมา2ปีแล้ว จะมีอาการ เหมือน พชผื่นขึ้น ตามบริเวร ผิวหนัง ด้านหลัง และแขนครับ เป็นเม็ดเล็กๆๆ แข็งๆๆ เมื่อก่อน ตอนเรียน อยู่ จบมาซ่อม ทีวี2-3ปีก็ไม่เป็นครับ พอมาซ่อมมือถือเมื่อ2ปที่แล้วอ่ะครับ ทำได้ไม่กี่เดือน ผื่นนี้ก็ขึ้นไปหมดเลย ผม คุยกับเพื่อนๆๆ พี่ๆๆ ก็ไม่มีใครเป็นไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร สงสัย ทินเนอร์ ตะกั่วเหลว กับ ฟลั๊กหลอด 3อย่างนี่อ่ะครับ มีใครเป็นบ้างเอ่ย


บันทึกการเข้า

tewinonline
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2010, 02:55:31 pm »

นี้เป้นความรู้ ที่ผมได้เรียนมาและมีประสบการณ์ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ครับอยากทำความเข้าใจกับเพื่อนช่างทั้งหลายครับ ผมทำงานเป็น วิศวกรดูแลเครื่องจักรและควบคุมการผลิต(ปัจจุบันลาออกมาแล้วครับ) โรงงานรับจ้างประกอบแผงวงจรอิเล็คทรอนิคส์มีเครื่องบัดกรีตะกั่วอัตโนมัติ ครับเขาเรียกเครื่อง Wave Soldering ข้างในเจ้าเครื่องนี้ก็ หม้อต้มตะกั่วขนาดก้ประมาณ80*100 เซ็นติเมตรครับ อยู่ในห้องกว้างประมาณ 20*80 เมตร มี 3 เครื่อง แล้วรอบๆเจ้าเครื่องนี้ก็มีพนักงานบัดกรี ราว 50กว่า คน ผมเข้าไปวันแรกรู้สึกได้เลยครับหายใจอึดอัด เหม็นกลิ่นควัน กลิ่นไหม้ ครับกลับมาถึงบ้านยังเหม็นติดเสื้อผ้า พอทำงานได้ สัก 1 เดือนก็เริ่มชิน เหมือนคนไม่สูบบุหรี่ไปอยู่ในห้องกับคนที่เขาสูบบุหรี่แรกๆ ก็เหม็นกลิ่นควัน อยู่ไปอีกหน่อยก็ไม่เหม็น ลองคิดดุครับเทียบกับเพื่อนๆช่างทั้งหลาย มันต่างกันลิบลับ บางท่านอาจเถียงว่า โรงงานเขามีที่ดูดควันตะกั่ว ใช่ ครับมี ที่ดุด แต่บอกได้เลย ครับที่ดูดเขาทำเป้นรูเล็กขนาดสัก 5 cmต่อโตะพนักงาน 1  คน  แล้วมี่ ที่ ครอบเวลาเราบัดกรีบางทีแผงวงจรมีขนาดใหญ่ก็ไปบังรูดุดอากาศ บางที่พนักงานก้อเอากระดาษไป ปิด สารพัด หลายจุดที่บัดกรียังเห็นควันที่เกิดการบัดกรีลอยออกมา ตลอดเลย ครับเวลาพัก เขาก็ปิดเครื่องที่ดูดควันและแอร์ ก่อนพนักงานจะ พักหรือ เลิกงาน 5 นาทีเพื่อประหยัดไฟเพื่อนๆลองนึกภาพดูเอง ครับ แต่น่าแปลกไหมครับ การตรวจสุขภาพประจำปีมาการตรวจสารตะกั่วในเลือดพนักงาน 100 % ไม่มี พนักงานคนไหนมีสารตะกั่วในเลือดเกินมาตราฐานเลย ครับจะมีก็แต่ช่างเทคนิคที่ทำความสะอาดเครื่องและซ่อมเครื่อง จะมีปริมาณตะกั่วในเลือดสูงแต่ก็อยู่มาตราฐาน ผมก็เลยแปลกใจคิดว่าโรงงานเปลี่ยนแปลงผลการตรวจ เลยซุ่มเอาพนักงานที่มีโอกาสได้รับสารตะกั่วมากที่สุดไป ตรวจอีก 5 คนโดยไปตรวจกันเองที่แลปตรวจโดยไม่แจ้งให้โรงงานทราบผลออกมาปรากฏว่าใกล้เคียงกับผลที่โรงงาน ตรวจระดับสารตะกั่วในเลือดอยู่ในมาตราฐาน  จากเนื้อหาข้างต้นผมเกิดความสงสัย 2 ข้อครับ
                       1. พนักงาน 50 กว่า คน ทำงาน 7 ชั่วโมง โอทีอีก3ชั่วโมง ต่อวันรวม 8 ชั่วโมง อยู่ในห้องที่บัดกรีด้วยตะกั่ว ตลอดทำไมไม่มีระดับสารตะกั่วในเลือดเกินมาตราฐาน
                       2. ทำไมช่างเทคนิคซึ่งไม่ได้บัดกรีตะกั่วทั้งวันและส่วนมากถ้าไม่ถึงเวลาซ่อมบำรุ่ง หรื่อเครื่องมีปัญหาก็จะไปอยู่ในห้องช่างต่างหาก ถึงมีตะกั่วในเลือดสูงกว่าพนักงาน
ผมถึงบางอ้อ ก็เมื่อมีการตรวจ Iso1400 ผมได้ยิงคำถามนี้ไปยังผู้ตรวจสอบซึ่งเขามีประสบณ์ในการตรวจหลายๆโรงงานให้ ช่วยหาคำตอบให้
คำตอบ ข้อ        1 เขาบอกว่าอุณหภูมิที่ทำให้ ตะกั่วระเหยกลายเป็นไอต้องมากกว่าที่เราใช้บัดกรีมากอุณหภูมิจากหัวแร้งไม่สามารถทำให้ ตะกั่วระเหยกลายเป้นไอได้พนักงานจึ่งไม่ได้รับอันตรายจากพิษสารตะกั่ว ควันที่เห้นเวลาบัดกรีเกิดจากฟลักที่มีส่วนผสมในตะกั่วไม่ใช่ไอตะกั่ว (สารพิษพวก ฟลัก ไอ ตะกั่ว ปกติร่างกายสามารถขับออกมาได้นะ ครับ อีกอย่างโรงงานผมเขาแจกนมให้ดืมฟรีครับ (อิอิ ไม่ใช่ นมสดๆจากเต้า นะ ครับ) เขาบอกว่าช่วยป้องและขับกันสารพิษพวกนี้ได้
คำตอบข้อ         2 เขาไปตรวจในห้องช่างเทคนิคพบว่า ในห้องช่างเทคนิคมีการนำเอางานที่เสียซ่อมไม่ได้ จากในสายการผลิตมาวิเคราะห์หาสาเหตุ (บางทีผมก็เห็นแอบเอางานข้างนอกมาซ่อมด้วยก็ไม่ว่ากัน) แต่การซ่อมนั้นในสายการผลิตจะใช้วิค(วิค คล้ายสายไฟสำหรับดูดซับตะกั่ว)ใช้ในการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ แต่ช่างเทคนิคใช้ที่ดุดตะกั่วอย่างที่เพื่อนๆใช้กันเป้นกระบอกดันสปริงเข้าไปแล้วกดดูด เวลากดดูดตะกัวจะเข้าไปอยู่ในกระบอกจังหวะที่กดดุดนั้นตะกั่วเก่าที่อยู่ในกระบอกมั่นกระเทือน แล้วมีตะกั่วเล็กๆ ฟุ้งออกมา ช่างเทคนิคสูดดมเข้าไป จึงทำให้ได้รับสารตะกั่วมากกว่าปกติ เพื่อนๆไม่เชื่อลองเปิดไฟให้ สว่างเวลาดุดตะกั่วลองเล่งดูดีๆจะเห้นละอองเต็มเลยครับ หรือเอาถุงฟลาสติกลอง ครอบที่ดุดตะกั่วไว้ให้โผล่เฉพาะหัวที่ดุดลองใช้ไปสักพักแล้วลองสังเกตุดุในถุงพลาสติกครับ ระวังนะครับ (เขาเลยแจก ไม่เนอร์ให้ซะงั้น)

อันนี้สำหรับเจ้าของกระทู้นะครับ
                    ตะกั่วเหลวที่ใช้บัดกรีอันตรายนะครับ ปกติที่โรงงานเก่าผมใช้อยู่ เวลาจะใช้เขาให้สวมถุงมือด้วยห้ามสัมผัสโดยตรง มันมีสารอะไรผมก็ลืมไปแล้วครับมันสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังได้ ที่โรงงานเก่าของผมถือเป้นข้อกำหนดเลยว่า ห้ามสัมผัสโดยตรง ตะกั่วเหลวมีอายุ 3 เดือนนับจากวันผลิต ต้องเก็บไว้ในที่มีอุรหภูมิต่ำด้วยนะครับ และเคยมีพนักงานมักง่ายไม่สวมถุงมือแล้วสัมผัสโดยตรงเลย เป้นผื่นแดงออกเต็มแขนเลยไปถึงใบหน้าเลยนะ ครับ แต่บางคนไม่เห็นเป็นไรเลยอันนี้ก็ยังต้องดุกันไประยะยาวๆ ครับ (วันนี้ไม่เป้นไร วันหน้าไม่แน่ อิอิ)


บันทึกการเข้า
ps2518
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 338



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2010, 04:21:26 pm »

 

ดีมากเลยครับ เป็นความรู้แก่เพื่อน ๆ ช่างทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!