คนไทยสมัยก่อน นิยมตั้งชื่อด้วยภาษาไทยแท้ ทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น ผิดกับปัจจุบันที่นิยมตั้งชื่อจริงด้วยภาษา สันสกฤต และตั้งชื่อเล่นเป็นภาษาอังกฤษ
สำหรับหญิงไทยในอดีต นิยมตั้งชื่อตามชื่อดอกไม้ ที่งดงามหรือมีกลิ่นหอม ยิ่งถ้าเป็นดอกไม้ที่มีทั้งความงามและความหอมในดอกเดียวกันก็จะยิ่งนิยมมาก ขึ้น เช่น กุหลาบ เป็นชื่อที่นิยมทั้งหญิงและชาย
ดอกไม้บางชนิดมี กลิ่นหอม และยังมีตำนานความเชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์มาเกี่ยวข้องก็จะได้รับความนิยมเป็น พิเศษ เช่นเดียวกับดอกไม้ที่นำมาเสนอในตอนนี้ นั่นคือ มณฑา
มณฑา : ดอกไม้ดั้งเดิมของไทยที่มีตำนาน
มณฑา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Talauma candollei Bl. อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae เช่นเดียวกับ จำปี และจำปา เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก แตกยิ่งก้านไม่มาก ต้นสูง ๑-๓ เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับรอบกิ่ง รูปหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม กว้าง ๘-๑๒ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๑๘ เซนติเมตร พื้นใบมักเป็นลอนคลื่นไม่เรียบ
ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง รูปร่างป้อม ปลายดอกห้อยลง มีกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ หนาแข็ง สีเขียวอมเหลือง กลีบดอก ๖ กลีบเรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบสีเหลืองรูปไข่กลับ ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ดอกมณฑามีกลิ่นหอม จะหอมแรงช่วงเช้าตรู่ ออกดอกได้ตลอดปี เวลาดอกบานเต็มที่ กลีบไม่อ้ามาก
มณฑา เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมมีถิ่นกำเนิดในป่าของไทย โดยเฉพาะพบมากในป่าทางภาคใต้ เพราะธรรมชาติของมณฑาชอบที่ร่มรำไร และความชื้นสูง
หนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ. ๒๔๑๖ กล่าวถึงมณฑาไว้ว่า
"มณฑา" เป็นชื่อต้นไม้ในสวรรค์อย่างหนึ่งว่ามีกลิ่นหอมนัก ดอกโตทำร่มกั้นได้นั้น
มณฑาทิพ : เป็นชื่อต้นไม้ดอกในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น เช่น มณฑาทิพที่ตกลงมาเพื่อนิพพาน
แสดงว่าคนไทยเมื่อ ๑๓๔ ปีก่อน เชื่อว่ามณฑาเป็นดอกไม้จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่มีกลิ่นหอม และกลีบดอกร่วงหล่นลงมาบนโลก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน มณฑาจึงเป็นดอกไม้กลิ่นหอมที่มีความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งกว่าดอกไม้อื่นๆ
หญิงไทยนิยมตั้งชื่อตามดอกไม้มณฑากันมาก และความนิยมนั้นก็ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เช่น ชื่อมณฑา, สุมณฑา, มณฑาทิพ, มณฑานี เป็นต้น
มณฑา มีชื่อเรียกอื่นๆ คือ จำปูนช้าง จอมปูน (ภาคใต้) และยี่หุบ (ภาคกลาง และภาคเหนือ) สาเหตุ ที่เรียกว่ายี่หุบ อาจเกิดจากดอกมณฑาเมื่อบานเต็มที่ ก็ดูเหมือนยังหุบอยู่นั่นเอง ชื่อในภาษาอังกฤษคือ MAGNOLITA
มณฑาเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเป็นไม้กระถางได้ดี i
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสารหมอชาวบ้าน กับ วิชาการดอทคอม
URL :
www.doctor.or.th/