การทำสุญญากาศ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 05:52:32 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การทำสุญญากาศ  (อ่าน 3113 ครั้ง)
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 10:58:13 pm »

                                                                        การทำสุญญากาศ
             อากาศและความชื้น ( ไอน้ำ ) ที่มีปนอยู่ภายในระบบปรับอากาศ เมื่อปนกับสารทำความเย็นจะเกิดผลเสียหายหลายประการ เช่น แปรสภาพเป็นกรดเกลือกัดกร่อนชิ้นส่วนภายในระบบเป็นเกล็ดน้ำแข็งขวางทางเดินของสารทำความเย็นเมื่อระบบทำงาน เกิดการอุดตันความดันขณะทำงานจะสูงผิดปกติจนอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่ออุปกรณ์ของระบบ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีวิธีการดึงความชื้นออกมาจากระบบ เราเรียกว่า การทำสุญญากาศหรือการทำแว็ก ( Vacuum ) ซึ่งเป็นการทำให้ภายในระบบมีความดันต่ำลงกว่าความดันบรรยากาศปกติให้มากที่สุด ซึ่ง ณ ความดันที่เป็นสุญญากาศความชื้นจะแปรสภาพเป็นแก๊สและถูกดึงออกมาจากระบบได้ง่าย
             การดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบ โดยปั๊มสุญญากาศเรียกว่า การทำสุญญากาศหรือการทำแวคคั่มระบบปั๊มสุญญากาศถูกให้สำหรับลดแรงดันในระบบและอัดทิ้งสู่อากาศ ภายนอกสายท่อกลางของแมนิโฟลด์เกจจะถูกต่อเข้ากับปั้มสุญญากาศทางด้านดูดวาล์วทั้งคู่ของ เกจจะอยู่ในตำแหน่งเปิดเต็มที่ เดินปั๊มสุญญากาศให้ความดันลดลงถึง - 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว และใช้เวลาในการดูดความชื้นอย่างน้อย 20 นาที แต่ถ้าสามารถทำสุญญากาศระบบได้นานกว่านี้ก็จะเป็นการดี การใช้เวลาในการทำสุญญากาศระบบได้นานกว่านี้ยิ่งนานเท่าไร จะยิ่งทำให้การดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบดีขึ้นเท่านั้น
             ในขณะที่กำลังทำสุญญากาศในระบบค่าความดันของเกจทางด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้ ต่ำกว่า 0 ปอนด์/ ตารางนิ้ว แสดงว่า ความดันในระบบน้อยกว่าความดันบรรยากาศ ซึ่งจะทำให้จุดเดือกของสารทำความเย็นต่ำลง เป็นผลทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะและดูดรับความร้อนแฝงที่อยู่รอบ ๆท่ออีวาพอเรเตอร์ได้ในขณะที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงขึ้น
Smiley


บันทึกการเข้า

maymad
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 41


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 01:48:58 pm »

ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!