ยาฆ่าพยาธิ กับ ฤทธิ์ร่วมต้านมะเร็ง
ยาที่ได้รับการรับรองในเรื่องความปลอดภัย
และหมดสิทธิบัตร ราคาถูกเข้าถึงได้ทั่ว
โดยที่ ปรากฏว่ามีสรรพคุณนอกเหนือจากที่เคยรู้กัน
และนำมาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป
เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ
ในการเป็น repurpose drug (นำยากลับมาใช้ใหม่)
และอีกทั้งยาพื้นบ้านสมุนไพรไทย
และยาแผนตะวันออกรวมทั้งวิธีควบการรักษาอื่นๆ
ควรต้องเปิดใจและ ศึกษาอย่างจริงจังและ
ในที่สุดสามารถร่วมใช้ด้วยกันกับยาแผนปัจจุบันตะวันตก
ตัวอย่างเช่น
ยา ไอเวอร์เมคติน ตัวนี้ Satoshi ōmura และ William C. Campbell
ได้รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและอายุรกรรม ในปี 2015
ในการคันพบ ว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษา
โรคพยาธิต่างๆและช่วยชีวิตคนในทวีปแอฟริกาได้มากมาย
ในช่วงระยะเวลาต่อมามีการศึกษา
ฤทธิ์และกลไกของยาตัวนี้
จนกระทั่งได้พบว่ายาตัวนี้มีสรรพคุณ
ในการยับยั้งการติดเชื้อรวมกระทั่งถึง
การรักษาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะที่เป็น
กลุ่ม RNA อาทิเช่นไวรัสโควิด
จนกระทั่งมีการนำมาใช้ใน หลายทวีป
ในประเทศอินเดีย แอฟริกา
แม้กระทั่ง ในญี่ปุ่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา
แต่อย่างไรก็ตามได้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง
และมีการเซ็นเซอร์รวมทั้งมีการเพิกถอนใบประกอบอาชีพของแพทย์
และองค์กรกลางของสหรัฐ FDA ได้กล่าวดูถูกถากถาง
และในที่สุดแพ้คดีต่อศาลสูงสุดของสหรัฐ
ให้ลบการประนาม ข้อความในสื่อทั้งหมด
ที่ให้ร้ายยาฆ่าพยาธิดังกล่าว และแพทย์ชนะคดี
เย็นวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2024
คดีในศาลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
โดยศาลได้ตัดสินให้ FDA ของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งนำโดย Robert Califf ซึ่งเป็นแพทย์โรคหัวใจ
ถอดถอนคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ทั้งหมดเกี่ยวกับยา
ivermectin ไอเวอร์เมคตินยานี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานชุมชนในการดูแลรักษาโรคโควิด-19
โดยมีประวัติความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมและ
หลักฐานคุณประโยชน์ในการศึกษาไม่น้อยกว่า 101 รายการ
ในช่วงปี 2021 สิ่งที่เรียกว่า"
สงครามกับยาไอเวอร์เมคติน"
FDA ของสหรัฐอเมริกาได้โพสต์ทวีตอันเป็นเท็จและทำให้เข้าใจผิด
และการส่งข้อความสาธารณะเพื่อห้ามปรามแพทย์ เภสัชกร
และผู้ป่วยจากการใช้ยา และ
ส่งผลให้แพทย์ถูกสั่งให้ยุติ การทำงาน
และนำมาสู่การฟ้องร้องซึ่ง FDA แพ้
ช่วงเวลาก่อนโควิด ระยะที่มีการระบาด และหลังจากที่การระบาดสงบลง
มีความสนใจในกลไกของยาฆ่าพยาธิตัวนี้
ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อมะเร็งหลายชนิดได้
ทั้งในด้านการระงับการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย
และยับยั้งการสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งต่างๆ
ทั้งนี้ยังรวมถึงผ่อนเบา สถานการณ์ดื้อยา
ของมะเร็งชนิดต่างๆต่อการรักษาและยาเคมีบำบัด
และมีการใช้ผสมควบรวมกันทั้งนี้เพื่อควบคุมมะเร็งได้ดีขึ้น
กลไกสำคัญที่มีการศึกษาไปแล้วนั้นคือ
ความสามารถที่จะนำให้มะเร็งตายโดยกระบวนการ
ที่เรียกว่า programmed cell death autophagy
(โปรแกรม autophagy การตายของเซลล์ที่ตั้งโปรแกรมไว้)
และ
pyroptosis ไพโรโทซิส
https://wongkarnpat.com/viewya.php?id=676
โดยผ่านเส้นทางของ PAK1 kinase และอื่นๆ
จุดประสงค์ของการศึกษายานี้กับมะเร็งเพื่อช่วยให้เป็นยาประกอบ
กับยาเคมีบำบัดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างบทความบางส่วนที่ศึกษายาตัวนี้กับมะเร็ง
Nature 2021
https://www.nature.com/articles/s41523-021-00229-5
Nature 2022
https://www.nature.com/articles/s41419-022-05182-0
https://www.sciencedirect.com/.../pii/S1043661820315152
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7505114/
https://www.frontiersin.org/.../fphar.2021.717529/full
https://journals.sagepub.com/.../10.1177/09603271221143693
https://www.mdpi.com/2079-9721/11/1/49
https://www.frontiersin.org/.../fphar.2022.934746/full
https://www.frontiersin.org/journals/pharmacology/articles/10.3389/fphar.2022.934746/full?fbclid=IwAR2laZcAgBTpOhZC1l72PSkkvRrryDiHrifjOahUhiaP_6pG8F_QfR-PAGQ_aem_Ae0qgXAtr6nZbk5dWoOWyt8Vwa1ZotBGZOM0WRjjXoqCsn4j0KvMoTyaknCKzt78ToN9YRcuxIbBifoikCJ0SWhb
Cr: ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha