สงสัยผิวหน้าฟินอลูมิเนียมจะโดนน้ำยาที่ผสมโซดาไฟกัด เกิดเป็นอลูมิเนียมอ๊อกไซต์แล้วครับ..ลองล้างด้วยน้ำยาสำหรับล้างแอร์โดยเฉพาะดูครับ ..หรือลองศึกษาบทความนี้ดูนะครับ เผื่อช่วยได้
ตามปกติอลูมิเนียมสามารถรวมกับออกซิเจนได้ง่ายมาก แต่ออกไซด์ของอลูมิเนียมจะมีความแน่นทึบมาก ไม่ยอมให้อีอกซิเจน
แทรกซึมเข้าไปทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียม ใต้ผิวของออกไซด์ได้ ดังนั้นอลูมิเนียมอ๊อกไซด์จึงเกิดแต่ผิวหน้าน้ำโลหะจะทำหน้าที่เป็นเยื่อบางๆ
ป้องกันการเกิดอ๊อกไซด์ได้เป็นอย่างดี ถ้าเราทำการหลอม อลูมิเนียมด้วยวิธีธรรมดา การป้องกันการเกิดออกไซด์จะทำได้โดยไม่แตะต้อง
หรือกวนน้ำโลหะเลย ทำให้เยื่อบางๆของอลูมิเนียมออกไซด์ถูกทำลาย การเกิดออกไซด์ต่อก็จะมีน้อย แต่เพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิภาพ
เรามักจะใช้ยาฟลักซ์เข้าช่วยซึ่งยาฟลักซ์ที่ใช้มี 4 ประเภท
1.ยาฟลักซ์ควบคุมผิวหน้า ยาฟลักซ์ตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมผิวหน้าน้ำโลหะไว้ เป็นการป้องกันทั้งไม่ให้เกิดออกไซด์ และการละลายของ
แก๊สไฮโดรเย่น ยาฟลักซ์ชนิดนี้จึงต้องมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าจุดหลอมตัวของอลูมิเนียม และมีความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าด้วย ยาฟลักซ์พวกนี้
ได้แก่ เกลือคลอไรด์ของโซเดียม และเกลือคลอไรด์ของโปรแตสเซียม ที่แห้งสนิทหรือใช้เกลือสินธเภาก็ได้
2.ยาฟลักซ์ทำให้สะอาด ยาพวกนี้ทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอ๊อกไซด์และช่วยทำให้อ๊อกไซด์และสิ่งเจือปนอื่นๆลอยขึ้นมาอยู่ที่
ยาฟลักซ์ชนิดนี้ประกอบด้วยเกลือโซเดียมและเกลือโปรแตสเซียมเช่นเดียวกับยาฟลักซ์คลุมผิวหน้า แต่จะต้องผสมฟลูออไรด์เข้าไปด้วย ทำให้มีจุดหลอมเหลวและความถ่วงจำเพาะต่ำ
3.ยาฟลักซ์จำกัดขี้โลหะ เป็นยาที่ใช้กำจัดโลหะโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะใช้ยาชนิดนี้ในตอนที่จะเทโลหะลงแบบหล่อ ยาพวกนี้จะเป็นตัวไป
จับพวกออกไซด์ต่างๆ ให้รวมกันอยู่ในลักษณะเหนียว ทำให้เรากวาดออกได้ง่าย และก็ช่วยทำให้พวกขี้โลหะไม่ไหลตามน้ำโลหะลงไปใน
แบบหล่อจำกัดออกได้ง่าย ยาฟลักซ์พวกนี้ประกอบด้วยเกลือโซเดียมและเกลือโปรแตสเซียมรวมกับไครโอไลท์ 5-10%หรือโซเดียมฟลูออไรด์ก็ได้
4.ยาฟลักซ์ลดแก๊ส ยาลดแก๊สพวกนี้ปกติมักใช้แก๊สครอรีนและไฮโดรเจน โดยเป่าผ่านเข้าไปในน้ำโลหะเกิดฟองพาเอาแก๊สไฮโดรเย่น
และพวกออกไซด์ต่างๆออกมาด้วย
แก๊สคลอรีนมีข้อได้เปรียบ 2 อย่างคือฟองของมันมีแรงดันต่ำ สามารถพาเอาแก๊สไฮโดรเย่นและสารมลทินต่างๆออกมาได้
และมันยังรวมกับอลูมิเนียมครอไรด์ ซึ่งจะดึงเอาสารอโลหะฝังในลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวน้ำโลหะได้
แต่แก๊สทั้งสองมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น แก๊สไฮโดรเย่นเป็นแก๊สเฉื่อยไม่สามารถเอาอนุภาคพวกอโลหะออกมาได้และใช้เวลานาน
นอกจากนั้นไนโตรเจนยังรวมกับแม็กนีเซียม ทำให้แม็กนีเซียมสูญเสียมาก ทำให้สารมลทินพวกอโลหะมากด้วย ส่วนคลอรีนทำให้อลูมิเนียม
และเเม็กนีเซียม สูญเสียมากจนสิ้นเปลืองนอกจากนั้นแก๊สคลอรีนยังเป็นพิษอีกด้วย จึงต้องใช้เครื่องป้องกันอย่างดี
http://www.elecnet.chandra.ac.th