ป.อ.ปยุตโต พระพรหมคุณาภรณ์
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ป.อ.ปยุตโต พระพรหมคุณาภรณ์  (อ่าน 3567 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 03, 2009, 11:45:55 am »


ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสวัดญานเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และดูแลสำนักสงฆ์สายใจธรรม บนเทือกเขาสำโรงดงยาง ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติพระพรมคุณาภรณ์
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อายางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
 
เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ
 
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น
 
พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป
 
พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า ′ปยุตฺโต′ แปลว่า ′ผู้เพียรประกอบแล้ว′
 
พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖

--------------------------------------------------------------------------------
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
๑. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
๒. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
๓. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙
๔. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐
๕. อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑
๖. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑
๗. การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓
๘. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖
๙. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๗
๑๐. ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๑. อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๒. วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑
๑๓. ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
๑๔. ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๔๔
๑๕. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาวิชาการบริหารองค์กร จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. ๒๕๔๕

--------------------------------------------------------------------------------
ศาสนกิจ
พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขณะเดียวกัน ก็เป็นอาจารย์สอนในชั้นปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างนั้น บางปี บรรยายที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ เจ้าอาวาสวัดพระเรนทร์
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับอาราธนาไปบรรยายวิชาพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทยที่ University Museum, University of Pennsylvania
พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ ได้รับอาราธนาไปบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนา ที่ Swarthmore College, Pennsylvania
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับอาราธนาเป็น Visiting Scholar ที่ Center for the Study of World Religions และบรรยาย วิชาการทางพุทธศาสนา สำหรับ Divinity Faculty และ Arts Faculty ที่ Harvard University
พ.ศ. ๒๕๓๗-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

--------------------------------------------------------------------------------
ประกาศเกียรติคุณและรางวัล
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล ′มหิดลวรานุสรณ์′
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ ′สังข์เงิน′ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็น ′ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม′
พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ถวายตำแหน่ง "ตรีปิฎอาจารย์" หมายถึงอาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TFF Award สาขาสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาสำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ ′การพัฒนาที่ยั่งยืน′
พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัล ′สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล′ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น ′ศาสตราจารย์พิเศษ′ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ถวายตำแหน่ง ′เมธาจารย์′ (Most Eminent Scholar) ในฐานะนักปราชญ์ ทางพระพุทธศาสนาสายเถรวาท
พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น ′ราชบัณฑิต (พิเศษ)′

--------------------------------------------------------------------------------
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
 



บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: