มารู้จักก๊าซหุงต้มกัน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 11:09:42 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักก๊าซหุงต้มกัน  (อ่าน 3051 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2008, 09:56:11 am »

LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas หรือ LP gas ก็สามารถเรียกได้เช่นกัน LPG เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกทุกวันนี้ และในบางที มันถือเป็นพลังงานหลักในการทำความร้อนและการปรุงอาหาร เช่นในประเทศอินเดีย และพื้นที่ห่างไกล บางแห่งในสหรัฐอเมริกา และ ยิ่งในปัจจุบันที่ราคาพลังงานน้ำมันเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดดด้วยแล้ว การใช้ Gas ดูเหมือนว่ามันทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

อะไรคือ LPG ?
มี LP gas อยู่ 2 ชนิดที่สามารถถูกเก็บในรูปแบบของเหลวภายใต้แรงกดดัน คือ โปรเพน(propane) และ บิวเทน (butane) ในขณะที่ ในขณะที่ isobutane ซึ่งมีส่วนประกอบทางเคมีที่ต่างกับ บิวเทน ก็มีการใช้งานเช่นกัน โดยปกติแล้ว บิวเทน และ ไอโซบิวเทน จะถูกผสม กับ โปรเพน ในหลายๆสูตร ขึ้นอยู่กับความต้องการ เพื่อนำไปใช้พลังงาน


Propane คือเชื้อเพลิงที่สามารถพกพาได้ เพราะมีจุดเดือดที่ -44F หรือ -42C นั่นหมายถึง ถึงแม้ว่าที่อุณหภูมิต่ำมากๆ มันก็จะกลายเป็นไอแทบจะทันทีที่มันถูกปล่อยออกจากภาชนะบรรจุมัน ซึ่งมีความดันคุมอยู่

Butane มีจุดเดือดอยู่ที่ 31F (-0.6C) ซึ่งนั่นหมายถึงมันจะไม่เปลี่ยนเป็นไอในอุณหภูมิ ที่เย็นมากๆ และนั่นทำให้ บิวเทนนั้นหมายถึงการนำไปใช้งานที่ยากขึ้น และ ทำให้ ในหลายๆ กรณี เราจะต้องผสมระหว่าง บิวเทน และ โปรเพน แทนที่จะใช้มันแบบเดี่ยวๆ

น้ำหนักหนึ่งปอนด์ของ โปรเพน สามารถให้พลังานได้ถึง 21,548 BTU ในขณะที่บิวเทน ให้พลังงานที่ 21,221 BTU ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับพลังงานอย่างอื่นได้ดังนี้

น้ำมันเชื้อเพลิง : 21,200 BTU
ถ่านหิน : 10,000 BTU
ไม้ : 7,000 BTU
แหล่งที่มาของ LPG
LPG คือหนึ่งในพลังงานจาก ฟอสซิล เช่นเดียวกับน้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ และการจะได้มาซึ่ง LPG นั่นจะต้องอาศัยการกลั่นน้ำมันดิบหรือ Crude Oil ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า LPG นั้นเป็นผลพลอยได้โดยอัตโนมัติ เพราะว่าบริษัท กลั่นน้ำมันส่วนใหญ่ก็จะมุ่งไปที่น้ำมันซึ่งเป็นรายได้หลัก

แต่การกลั่นน้ำมันก็ใช่ว่าจะเป็นหนทางเดียวกับการได้มาซึ่ง LPG เพราะว่า การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากพื้นดินนั้น ปกติจะได้มาซึ่งก๊าซมีเทน 90% แต่ที่เหลือจะเป็น LPG เช่นกัน ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งปกติบริษัทที่ขุด จะทำการแยก LPG ออกจาก มีเทนเสียก่อนที่จะส่ง มีเทนไปใช้งาน

LPG กับการใช้งานใกล้ตัว
LPG นั้นเก็บง่ายและปลอดภัย และ เคลื่อนย้ายง่ายอีกด้วย ทำให้มันมีการ นำไปใช้งานในหลายๆ รูปแบบ อย่างหนึ่งซึ่งใกล้ตัวเรามากคือไฟแช็ค ซึ่ง เป็นส่วนผสมระหว่าง บิวเทน และ ไอโซบิวเทน ใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็อาจจะเป็น แก๊สที่เราเอาไว้สำหรับการตั้งแค้ม เพื่อปิ้งย่าง ซึ่งนั้นคือ โปรเพน

LPG นั้นไม่เพียงแต่เป็นพลังงานสำหรับการใช้งานส่วนตัวในขณะบ้านเท่านั้น แต่ในอุตสาหกรรมก็มีการใช้งานกว้างขวางเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร้อน และอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมแก้วและเซรามิค

และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ LPG เข้าไปมีบทบาทอย่างมากคือ การใช้งานใน อุตสหกรรมยานยนต์ หรือ รถยนต์ที่ใช้แก๊สนั่นเอง

Autogas
ตามข้อมูลของ World Liquefied Petroleum Gas Association (WLPGA) พบว่า ปัจจุบันมียานพาหนะกว่า 9 ล้านคันใน 38 ประเทศใช้ LPG และมันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อย่างใด เพราะว่า ยานพาหนะที่ใช้แก๊สโปรเพนนั้นมีการใช้งานมา ทศวรรต เพราะ จุดเด่นและประโยชน์ดังต่อไปนี้ - ลดมลภาวะ ตามข้อมูลของ WLPGA พบว่า การใช้ LPG นั้นได้ ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซต์น้อยกว่า 50% และ ไฮโดรคาร์บอนน้อยกว่า 40% ไนโตรเจนอ๊อกไซต์น้อยกว่า 35% เมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนั้น LPG ยังให้ค่า อ๊อกเทนที่สูง ทำให้ได้ประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ น้ำมันเชื้อเพลิง และ ดีเซล

ในปัจจุบันมีบริษัทผลิตรถยนต์หลายบริษัท ได้สร้างรถที่ใช้พลังงานก๊าซ เช่น Ford, General Motors และ Daimler-Chrysler แต่รถพวกนี้ปกติก็ไม่ได้อยู่ในโชว์รูม คุณจะต้องสั่งพิเศษ
สำหรับรถที่มีการใช้งานแก๊สอย่างเดียวนั้น เป็นสิ่งที่หาได้ยากมากทีเดียว เพราะนั้น หมายถึงการปรับแต่งเครื่องยนต์มาจากโรงงานเพื่อให้เหมาะกับการกับการใช้แก๊สจริงๆ แต่ก็มีการใช้งานอยู่บ้างในยุโรป

สำหรับ dual fuel systems หรือระบบสองพลังงานนั้นจะเป็นระบบที่มีการใช้งานแพร่ หลายที่สุดในปัจจุบัน เพราะความสะดวกและไม่จำเป็นจะต้องหาเติมเฉพาะแก๊ส แต่เติมได้ทั้งน้ำมันและแก๊ส เพราะบางครั้งการหาปั๊มแก๊สก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงรถยนต์จากระบบน้ำมันไปเป็นการใช้พลังงานคู่นั้น จำเป็น จะต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญ โดยนอกจากติดตั้งที่ร้านที่ชำนาญแล้ว ในอเมริกาเองยังมีชุด kit สำหรับการติดตั้งเองได้ ถ้าท่านมีความรู้ด้านเครื่องยนต์

ความปลอดภัยและการเก็บรักษา
LPG นั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานอย่างอื่น เพราะว่า โปรเพนนั้นมีอุณหภูมิจุดระเบิดสูง โดยอยู่ที่ประมาณ 850-950 (450-510C) เปรียบเทียบกับ 495F (257 C) สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง นั่นหมายถึง ทำให้มัน จุดระเบิดง่ายนอกจากนั้นแล้วถังที่ใช้เก็บโปรเพนนั้น แข็งแรงกว่า ถังน้ำมันด้วยซ้ำ เพราะว่า มันต้องรองรับความกดดันได้ เมื่อโปรเพนอยู่ในรูปของเหลวภายใต้แรงกดดัน นอกจากนั้นถังก็ยังรองกับการกระแทกได้มากกว่าถังน้ำมันด้วยเช่นกัน

สำหรับการเก็บรักษาแก๊สอย่างปลอดภัยนั้น มีข้อควรระวังอยู่บ้างเช่นกัน เช่น จะต้องจำไว้เสมอว่าถังแก๊สนั้นจะไม่มีทางอยู่ในลักษณะที่ว่างปล่าวจริงๆ นั่นหมายถึง เมื่อเราเติมแก๊ส แก๊สส่วนใหญ่จะถูกอยู่ภายใต้ความกดให้อยู่ในรูปของเหลว แต่ในความกดดันที่ปลอดภัยนั้นทำให้ ไม่ใช่ทั้งหมดของโปรเพนที่ถูกอัดอยู่ในรูปของเหลว มันจะมีโปรเพนจำนวนน้อยอยู่ในรูปแก๊ส และเมื่อโปรเพนถูกใช้ไป จะทำให้ความกดดันเพิ่มขึ้น ทำให้โปรเพนที่อยู่ในรูปของเหลวมีน้อยลง ในขณะเดียวกันส่วนที่เป็นแก๊สก็จะเพิ่มมากขึ้น

เพราะฉะนั้นถังควรถูกเติมที่ความจุไม่เกิน 80% เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิจะส่งผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงความดันภายในถังเช่นกัน ถ้าคุณเติมถังเต็ม 100% ในขณะที่อุณหภูมิต่ำ และทิ้งรถไว้ในวันที่มีอากาศร้อนในวันถัดมา ความดันจะเพิ่มขึ้นจะอาจจะ เกิดอันตรายมาก



บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!