อยากทราบครับเกี่ยวกับ Dual Operational Amplifier
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 06:12:58 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบครับเกี่ยวกับ Dual Operational Amplifier  (อ่าน 6136 ครั้ง)
คุณ Hahaha
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 214


ได้กล้องมาใหม่เอามาถ่ายเล่นซะเลย 555


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 24, 2007, 08:46:51 pm »

ทำไมในเครื่องเสียง ที่ใช้ Dual J-Fet Operational Amplifier ทำไมมันต้องมีหลายเบอร์ด้วยครับทั้งที่วงจรภายเหมือนกันทั้งหมด มันแตกต่างกันที่ตรงไหนเหรอครับ  ทั้งที่ทางเทคนิคสามารถแทนกันได้  อย่างเช่น NJM4558L กับ NJM2082L วงจรข้างในหมือนกันเลยครับ ตำแหน่งขาก็เหมือนกัน (แตกต่างแต่ตรงคุณสมบัติต่างๆ) มันมีผลต่อวงจรอย่างไรเหรอครับ  Cheesy


บันทึกการเข้า

จิตใจของมนุษย์นั้น ลึกๆล้วนแล้วยังคงใฝ่หาแต่ความดี

noi3535-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน565
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1706



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 24, 2007, 09:02:38 pm »

        แตกต่างกันบางวงจรครับ ความละเอียดในตัวICแต่ละเบอร์มันจะมีความแตกต่างกันทั้งที่แทนกันได้ แต่ถ้าเราฟังกันแบบพื้นๆฟังแทบไม่รู้หรอกครับ เพียงแต่คนทำเครื่องเสียงต้องการให้ความต่างตรงนั้นเป็นข้อเปรียบเทียบครับ ถึงแม้ว่ามีผลต่อเสียงก็จริงแต่ก็สร้างความสับสนให้ช่างพอสมควรครับ
      ลองเอาสัญญานของคีย์บอร์ดหรือออแกนก็ได้มาป้อนดูแล้วเปลี่ยนICหลายๆเบอร์ที่ไฟเข้าเหมือนกัน จะรู้ได้ถึงความแตกต่างครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

884-200-9496      ชื่อบัญชี นายนพดล  รอดภัย
      ไทย พาณิชย์ สาขาย่อยบิ๊กซีเพชรบุรี       ออมทรัพย์
   086-3119516 -ทรูมูฟ  088-2356231-ดีแทค
   083-5565916-ดีแทค
คุณ Hahaha
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 214


ได้กล้องมาใหม่เอามาถ่ายเล่นซะเลย 555


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 24, 2007, 10:35:35 pm »

        แตกต่างกันบางวงจรครับ ความละเอียดในตัวICแต่ละเบอร์มันจะมีความแตกต่างกันทั้งที่แทนกันได้ แต่ถ้าเราฟังกันแบบพื้นๆฟังแทบไม่รู้หรอกครับ เพียงแต่คนทำเครื่องเสียงต้องการให้ความต่างตรงนั้นเป็นข้อเปรียบเทียบครับ ถึงแม้ว่ามีผลต่อเสียงก็จริงแต่ก็สร้างความสับสนให้ช่างพอสมควรครับ
      ลองเอาสัญญานของคีย์บอร์ดหรือออแกนก็ได้มาป้อนดูแล้วเปลี่ยนICหลายๆเบอร์ที่ไฟเข้าเหมือนกัน จะรู้ได้ถึงความแตกต่างครับ  Smiley

งั้นก็มีผลน้อยมากสิครับ ถ้าใช้ฟังแบบชาวบ้านๆ อย่างที่อาจารย์น้อยกล่าวมา จะมีผลก็ต่อเมื่อเราต้องการความละเอียดของเสียง (ถูกหรือเปล่าครับ)  Sad  Cheesy
บันทึกการเข้า

จิตใจของมนุษย์นั้น ลึกๆล้วนแล้วยังคงใฝ่หาแต่ความดี
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 25, 2007, 01:15:00 pm »

เริ่มเข้าใกล้ความแตกต่างระหว่างเครื่องบ้านหม้อ เครื่องระดับกลางและไฮท์เอน กันแล้วครับ ความแตกต่างที่ไม่เห็นด้วยตา แต่ได้ยินด้วยหู ที่ต้องฝึกฝนและหังฟัง Tongue
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
WatHF100♥
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 305


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 25, 2007, 06:11:40 pm »

สวัสดีครับ
ขออนุญาตแชร์ ตามที่ได้เรียนรู้จากผู้รู้และลองมาเองบ้างครับ

เรื่องการฟังออกถึงความแตกต่างของเบอร์อุปกรณ์อ็อปแอ็มป์นั้นรับรู้ได้ไม่ยากแน่นอนครับ ...จากการทดลอง(แม้ไม่มากมายนัก)ครับ
 
แต่ยังดีนะครับที่ต่างเบอร์แล้วฟังออก   บางทีเบอร์เดียวกันต่างรหัสต่อท้าย หรือต่างรูปร่างตัวถัง(แพ็คเกจต่างกัน)  หรือเบอร์เดียวกันแต่ต่างยี่ห้อ เสียงก็ต่างกันด้วยครับ..........แต่ไม่ต้องสนใจถึงจุดนี้ก็ได้ครับ มันเป็นแค่ส่วนปลีกย่อย

สนใจที่ ของปลอม กับของแท้ดีกว่าครับ
เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆแล้วว่า ตลาดอะไหล่บ้านเรามีทั้งของแท้ และของเทียบ(แท้เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันเป๊ะเช่นต่างยี่ห้อ หรือมาแบบตกเกรด อันนี้ก็น่ากลัว)  กับของปลอม(อันนี้ไม่น่าใช้เลย)  แล้วก็แบบทั่วไป และแบบ "อย่างดี"  อู๊ว งงไปเลยครับ

พอเข้าไปศึกษาถึงข้อมูลของผู้ผลิต+ดาต้าชีท  จะพบว่า อาจจะมีการแบ่งเกรดของอุปกรณ์บ้าง  ตามรหัสต่อท้าย  อาจเพราะต้องการใช้ในย่านอุณหภูมิที่ต่างกัน  หรืออื่นๆ
ดังนั้นการซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือตัวแทนนำเข้า ก็จะชัวร์ป๊าดกว่า
ส่วนเบิกห้าง ตามยี่ห้อ นี่คุณภาพมาตรฐานแน่แต่ราคาก็มาตรฐาน(สูงมาก)ด้วย

อ็อปแอ็มป์ มีหลายประเภทการใช้งาน เช่น

๑)โวลท์เตจฟีดแบ็ค (ที่พวกเราต่างใช้ ต่างก็คุ้นเคยกันมาตั้งนานก็แบบนี้แหละครับ)
....ที่เป็นสมัยใหม่  สเป็คสูง ราคาสูง ถึงสูงมากๆ ก็จะ สเป็คสูงในเรื่องของ น้อยซ์ต่ำกว่า  สลูว์เรทสูงกว่า จ่ายกระแสสูงกว่า  เอ้าท์พุทอิมพีแด้นซ์ต่ำกว่า  ย่านความถี่กว้างกว่า
เบอร์ค่อนข้างเก่าที่คุณภาพเสียงยังค่อนข้างดีก็พวก5534 5532 (กรุณาศึกษาดูที่เบอร์นะครับ ว่าอันไหนเป็นแบบคู่หรือเดี่ยว)

สเป็คสูงมากๆ จะใช้กันในวีดีโอแอ็มป์ครับ(หลายท่านคงทราบกันดี)

๒)เคอเรนท์ฟีดแบ็ค  อันนี้จะต่างจากที่เราคุ้นเคยกัน ไม่สามารถใช้กันแบบตรงๆ กับข้อ ๑ (ถ้าจะใช้แทนต้องออกแบบวงจรกันใหม่...ขออนุญาตข้ามไปนะครับ)   แน่นอนว่าในวีดีโอแอ็มป์ใช้กันมากเช่นกันครับ    เครื่องเสียงใช้กันมานานในเครื่องพวกไฮเอ็นด์(แอ็คคิวเฟส เครล เป็นต้นครับ)
ส่วนกลางๆเริ่มมีกล่าวถึงแล้ว เช่นมาร้านทช์รุ่นใหม่)

๓) พวกที่ใช้เป็นคอมพาเรเตอร์ (ในวงจรกำเนินคลื่นสแควร์เวฟ เช่นวงจรมาสเตอร์คล็อก ของเครื่องเล่นระดับสูง)

๔)พวกที่ออกแบบมาเป็นบัฟเฟอร์สัญญาณ  ขยายกระแสอย่างเดียว  (ไม่มีเกนขยายทางโวลท์)
อินพุทอิมพีแด้นซ์สูง เอ้าท์พุทอิมพีแด้นซ์ต่ำ

ส่วนประเภทอื่นๆ ขอเชิญทุกท่านร่วมแชร์ครับผม

J fet input ที่ผมเองเคยได้ยินก็คงเป็นLF35X
ตอนนี้ที่ฮิตกันก็พวก Burrbrown OPAXXXX อะไรพวกนี้

เรื่องเสียง  นอกจากเบอร์อุปกรณ์แล้ว  ภาคจ่ายไฟหลัก(หม้อแปลง ไดโอด คาปาซิเตอร์)  การดีคัปปลิ้ง(คาปาซิเตอร์) ก็มีผลมากน้อยขึ้นอยู่กับของเดิมว่าให้มาอย่างไร  แล้วก็ซีคัปปลิ้งสัญญาณเสียงทั้งขาเข้าขาออก ยิ่งมีผลมากเช่นกัน  อ้อ ตัวต้านทานซีรี่ส์ขาออกทางเดินสัญญาณ(ค่าไม่กี่สิบ ถึงหลักร้อยโอห์ม) ก็มีผลต่อบุคลิคเสียงเช่นกันครับ

เล่าสู่กันฟังเผื่อบางท่านอาจจะชอบแบบซ่อม+โมฯ ด้วย

ของแพง ไม่ได้หมายความว่า"เสียงจะออกมาดีเสมอไป "(เช่นในทางเดินสัญญาณ อาร์คาร์บอน อาจให้เสียงที่น่าฟังกว่าแบบเมทัลฟิล์มทั่วๆไป)
ของที่คุณสมบัติดี เพียงพอและเหมาะสมกับจุดที่ใช้  มักให้เสียงที่ "ไม่เลว"
ของเก่า(บางอย่าง) ไม่ได้หมายความว่าจะด้อยกว่าของใหม่
ของใหม่หลายอย่าง(ที่พัฒนาจริงๆ)ให้ผลดีกว่าแบบคุ้มค่า ก็มีแยะ

ถ้าแบบสบายใจที่สุดก็ "ของแท้ เดิมๆ "  แทน "ของเสีย"
สิ้นเปลืองมาหน่อย ก็ + เปลี่ยนอุปกรณ์ยุคใหม่ แทนของเดิม ที่เสื่อมตามกาลเวลา(เช่นซีอิเล็คโตรไลติคแบบกระป๋องทั้งหลาย)

ขอให้มีความสุขกับเสียงดนตรีหลังการซ่อมครับ(สำหรับผมไม่ถนัดซ่อม บางทีผมก็ได้กลิ่นไหม้ๆบ้าง ฮ่าๆๆ)

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!