~~เรื่องของเรื่องคือขยายครับมันไม่ดัง%%
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 30, 2024, 07:53:23 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ~~เรื่องของเรื่องคือขยายครับมันไม่ดัง%%  (อ่าน 5714 ครั้ง)
stupidman
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69


« เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:05:01 pm »

 Sadคือผมอยากถามว่าไอ้ แชลนอลที่อยู่ในขยายรถยนต์คือไรคร้าบผม
    2.  ผมมีขยายรถยนต์ 1 ตัว 800 วัตต์ ดูท่าว่าจะขับทั้งเสียงกลาง และ ซัพวูพเฟอร์ กลาง 200 วัตต์ ซัพ 500 วัตต์
        แต่ผมสงกะสัยว่าทำไมมันดังไม่แรงเวลาเปิดดังมากๆ เสียงมันจะซัว(เสียงแตก) แล้วมันก็ตัดไป  แล้วเปิดใหม่มันก็ติด
       ? ที่มันดังไม่แรงเป็นเพราะขยายน้อยหรือลำโพงอ่ะครับ
        ?  ถ้าเป็นเพราะขยาย ผมต้องเพิ่มขยายเป็นขับแยกกันใช่ไหมครับ  เช่น  อันหนึ่งขับกลาง  อันหนึ่งเบส ถึง จะดังแรงใช่            ไหม                    ครับ Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
       


บันทึกการเข้า

Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:15:51 pm »

 Wink  เข้าใจหลักการ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:19:04 pm »

ถ่ายรูปมาให้ดูหน่อยครับ ว่าหน้าตามันเป็งยังไง......................... Tongue
อ้างถึง
เสียงแตกพร่าอาจเกิดจาก

- กระแส และแรงดันไม่พอ ( เช็คแบต )

- ลำโพง Watt ต่ำไปรับไม่ไหว ( เช็คลำโพง )

- เกิดจาก IC ขยาย หรือ Power Transister, Mosfet ( เช็คอุปกรณดังกล่าว )

- จุดบัดกรีหลุดหลวม, จุดขั้วต่อหลุดหลวม ( เช็คจุดดังกล่าว )
บันทึกการเข้า
Nimit( Un )
member
*

คะแนน442
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3479


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:29:16 pm »

คือผมอยากถามว่าไอ้ แชลนอลที่อยู่ในขยายรถยนต์คือไรคร้าบผม
   
พูดง่ายๆ  คือช่องสัญญาณ  ซ้าย-ขวา   (ช่องซ้าย-ช่องขวา)

    2.  ผมมีขยายรถยนต์ 1 ตัว 800 วัตต์ ดูท่าว่าจะขับทั้งเสียงกลาง และ ซัพวูพเฟอร์ กลาง 200 วัตต์ ซัพ 500 วัตต์
        แต่ผมสงกะสัยว่าทำไมมันดังไม่แรงเวลาเปิดดังมากๆ เสียงมันจะซัว(เสียงแตก) แล้วมันก็ตัดไป  แล้วเปิดใหม่มันก็ติด
      ที่มันดังไม่แรงเป็นเพราะขยายน้อยหรือลำโพงอ่ะครับ
       ใช่            ไหม                    ครับ Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
       

คาดว่าขยายท่านกำลังวัตต์ไม่พอที่จะขับลำโพงนั้นๆ  เมื่อถึงจุดสูงสุดเครื่องจึงตัดการทำงาน


Sad
        ?  ถ้าเป็นเพราะขยาย ผมต้องเพิ่มขยายเป็นขับแยกกันใช่ไหมครับ  เช่น  อันหนึ่งขับกลาง  อันหนึ่งเบส ถึง จะดังแรงใช่            ไหม                    ครับ Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
       

ตามหลักพื้นฐานแล้ว  
1.เพาเวอร์แอมป์   1 ตัว  แบบ 2 แชนแนล   จะขับ  กลาง-แหลม
2.หากจะขับดอกซับ  ต้องใช้เพาเวอร์อีก 1ตัว  กำลังวัตต์ต้องสูง
3.หากใช้เพาเวอร์แอมป์  แบบ 4 แชนแนล  ก็อาจจะใช้แค่ตัวเดียวพอ


อธิบายคร่าวๆ  นะครับ  เดี๋ยวท่านที่อธิบายเก่งๆ  จะมาแนะนำต่อครับ
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 01:39:58 pm »

ศัพท์เครื่องเสียง เอาไว้ศึกษานะท่าน..................... Tongue

อ้างถึง
AC-3
ดู dolby digital

Active Crossover
อุปกรณ์ซึ่งต้องการกระแสไฟฟ้าในการทำงาน มีหน้าที่ตัดแบ่งความถี่ของสัญญาณเสียง ออกเป็นช่วง ก่อนนำไปขยายโดย Power Amplifier

ADC (or A/D, analog-to-digital converter)
อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนสัญญาณแบบ analog ให้เป็น digital เพื่อสามารถนำไปปรับแต่ง แบบ digital ได้

 

Amplifier
อุปกรณ์ขยายระดับความแรงสัญญาณโดยเพิ่ม voltage หรือ กระแสไฟฟ้าของสัญญาณดั้งเดิมเพื่อนำไปขับลำโพง

analog
สัญญาณไฟฟ้าที่มีความถี่และขนาดเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กับคลื่นเสียง


AWG (American Wire Gauge)
เพื่อใช้บอกขนาดของสายไฟ ค่ายิ่งมาก สายไฟยิ่งมีขนาดเล็ก

bass
คลื่นเสียงช่วงความถี่ต่ำ â´ÂปกตÔáÅéǨÐต่ำกว่า 200 Hz.

bass reflex
ตู้ลำโพงแบบมีช่องหรือท่อ ที่เปิดให้อากาศไหลเข้า-ออกได้ เพื่อช่วยชดเชยเสียงความถี่ต่ำ

 

bit
ส่วนย่อยขั้นพื้นฐานของข้อมูลแบบ digital ซึ่งแสดงในรูปเลขฐาน 2

bitstream
วิธีการหนึ่งในการเปลี่ยนข้อมูลจากสัญญาณแบบ digital ให้เป็นสัญญาณแบบ analog โดยเปลี่ยนทีละ bit ซึ่งเร็วกว่าการเปลี่ยนแบบ multibit ซึ่งเปลี่ยนทีละกลุ่มสัญญาณ

bridging
กระบวนการใช้กำลังขับ จากสองช่องสัญญาณของ amplifier ร่วมกันแบบ phase ตรงข้ามกัน เพื่อขับลำโพง โดยทางทฤษฎี จะเพิ่มแรงดันสัญญาณขาออก เป็นสองเท่า
 

 

CCC (Continuous Cast Copper)
เทคโนโลยีการผลิตตัวนำทองแดง ด้วยการหล่อขึ้นรูปเป็นเส้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความสม่ำเสมอของเนื้อทองแดง และส่งถ่ายสัญญาณเสียงได้ดี

CD
ตัวย่อของ compact disc

 
CD-RW
แผ่น CD ที่เก็บบันทึกข้อมูลได้

center stage
สภาวะเสียงแบบสมดุลจากด้านหน้าและหลังผู้ฟัง ทำให้รู้สึกว่าเสียงวิ่งผ่านและล้อมรอบผู้ฟัง

 

channel seperation (crosstalk)
การต่อต้านการรั่วไหลของสัญญาณ ระหว่างช่องสัญญาณในระบบ stereo (ระหว่างซ้ายกับขวา) มีหน่วยเป็น dB ค่า channel seperation ยิ่งมาก แสดงว่า มีการแยกช่องสัญญาณที่ดี

clipping
สภาวะที่ amplifier ทำงานเกินกำลังขับ ส่งผลให้เกิดความเพี้ยนของเสียง และอาจทำให้ลำโพงเสียหายได้

 

coaxial speaker
ลำโพงที่จัดวางตำแหน่งแบบซ้อนทับร่วมแกนกัน โดยลำโพงขนาดเล็กซ้อนอยู่ บนลำโพงขนาดใหญ่กว่า

crossover frequency
ค่าความถี่ที่ crossover network ตัดแบ่งสัญญาณเสียง

crossover network
อุปกรณ์ที่ตัดแบ่งความถี่ของสัญญาณเสียงออกเป็นช่วง มี 2 ประเภท คือ active crossover กับ passive crossover

crosstalk
ดู channel seperation




DAC (Digital-to-analogue converter)
อุปกรณ์เปลี่ยนสัญญาณแบบ digital เป็น analog ซึ่งใช้สร้างสัญญาณเสียง มีอยู่ในเครื่องเล่น cd ทั่วไป การเพิ่ม DAC ภายนอกสามารถเพิ่มคุณภาพเสียงให้ดีขึ้นได้

damping
การใช้ความต้านทานทางไฟฟ้าหรือแรงทางกล เพื่อหยุดการเคลื่อนที่ที่ไม่ต้องการ หรือการสั่นค้าง ของกรวยลำโพง หลังจากที่ไม่มีสัญญาณเสียงส่งมา จาก amplifier แล้ว

damping factor
เป็นคุณสมบัติของ amplifier ที่มาจาก อัตราส่วนของ ความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับของโหลด (ลำโพง) ต่อ ความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับ ด้านขาออกของแอมป์
บอกถึงความสามารถของ amplifier ในการควบคุมการเคลื่อนที่ ของกรวยลำโพงที่เกิดขึ้น หลังจากสัญญาณขาเข้า หมดไปแล้ว ซึ่งหมายถึง ความกระชับของเสียง bass ค่า damping factor ยิ่งสูง แสดงว่าความสามารถในด้านนี้ยิ่งดี

damping material
วัสดุชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นสูง มีลักษณะเป็นแผ่นหนา 3 ถึง 5 มิลลิเมตร ไม่ดูดซึมน้ำ สามารถดูดซับคลื่นเสียงได้ดี เมื่อยึดติดกับแผ่นโลหะแล้ว จะช่วยลดการสั่นสะเทือนของเนื้อโลหะ

DAT (Digital Audio Tape)
ระบบการบันทึกเสียงแบบ digital ลงบนแถบแม่เหล็กของเทปบันทึกเสียง ชนิดพิเศษ ใช้หลักการคล้ายกับ หัวบันทึกภาพของวีดีโอ

dB
เป็นตัวย่อของหน่วยการวัดแบบ decibel

DCC (Digital Compact Cassette)
ระบบการบันทึกเสียงแบบ digital ลงบน แถบแม่เหล็กของเทปบันทึกเสียงชนิดพิเศษ คิดค้นโดย Philips

DDD
พิมพ์บนปกของแผ่น CD หมายถึง การบันทึกเสียง จัดทำต้นฉบับ และบันทึกลงบนแผ่น CD แบบ digital

decibel
หน่วยการวัดแบบอัตราส่วนของระดับเสียง ระดับกำลัง ค่าความต่างศักย์ และปริมาณอื่น
1 decibel = 20.log (power)

digital output
สัญญาณขาออกแบบ digital ซึ่งต้องใช้ DAC แปลงเป็นสัญญาณ analog เพื่อใช้งานในระบบเสียง

DIP
จุดต่ำสุดในกราฟการตอบสนองทางความถี่ของระบบ

DIY
ย่อมาจากคำว่า do-it-yourself หมายถึงงานอดิเรกต่างๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับเครื่องเสียง

dolby B, C + S
การลดสัญญาณรบกวน โดยเพิ่มสัญญาณที่สงบราบเรียบขณะบันทึก และตัดสัญญาณนี้ออกไป ในขณะที่เล่นเทป ซึ่งกำจัดเสียงซ่าลงได้

dolby digital / AC-3
ระบบเสียงของ home theater ที่ใช้ช่องสัญญาณเสียงแบบ digital 5 ช่อง (หน้าซ้าย- หน้ากลาง- หน้าขวา- หลังซ้าย- หลังขวา) กับอีก 1 ช่องสัญญาณเสียงของ subwoofer

dolby HX Pro
วิธีการบันทึกเสียงที่เพิ่มข้อมูลของเสียงความถี่สูง โดยไม่มีความผิดเพี้ยน

dolby surround
การใส่รหัสสัญญาณเสียงเพิ่ม เพื่อความสมจริง ของเสียงในช่องสัญญาณด้านหลัง (rear channels) ซึ่งต้องการตัวถอดรหัสเสียง เพื่อให้ได้เสียงแบบรอบทิศทาง

dolby pro-logic
ระบบเสียงที่เพิ่มลำโพงเสริมตรงกลาง ในช่องสัญญาณด้านหน้า เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ ของการสนทนา

dolby 3 stereo
ระบบใน amplifier ของโรงภาพยนตร์ ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณเสียงรอบทิศทาง ในช่องสัญญาณด้านหน้า และสร้างช่องสัญญาณเสียงตรงกลาง (center channel)

driver
หมายถึงตัวให้กำเนิดเสียงหรือตัวลำโพง

DSP (digital signal processing)
เทคโนโลยีในการปรับแต่งสัญญาณเสียง เพื่อจำลองเสียงในบรรยากาศต่างๆกัน

DTS (Discrete-channel home cinema digital sound system)
เทียบเท่ากับ dolby digital

dual mono
การต่อระบบเครื่องเสียงที่ใช้ amplifier สองตัวแยกขยายสัญญาณ ซ้าย-ขวา เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนกัน ระหว่างช่องสัญญาณ

DVD
ระบบ video ชนิดหนึ่งที่ออกแบบเพื่อความบันเทิงในบ้าน

DVD-ROM
เครื่องอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD

DVD-R
แผ่น DVD ที่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้เพียงครั้งเดียว เก็บข้อมูลได้ 3.95 gigabyte บนแผ่นแบบหน้าเดียว และ 7.9 gigabyte บนแผ่นแบบสองหน้า

DVD-RW
แผ่น DVD ที่ลบและบันทึกซ้ำได้ มีความจุอย่างน้อย 3 gigabyte กำลังพัฒนาโดย Sony, Philips and Hewlett-Packard

dynamic range
ช่วงขอบเขตระหว่างขนาดสัญญาณใหญ่ที่สุดกับเล็กที่สุด มีหน่วยเป็น dB




electronic crossover
เหมือนกับ active crossover

electrostatic speaker
ลำโพงที่ทำงานโดยใช้สนามแม่เหล็ก เหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ ของแผ่นโลหะบางๆสองแผ่น ที่มีแผ่น dielectric อยู่ตรงกลาง

equalization
การเพิ่มและลดขนาดสัญญาณเสียงในความถี่ต่างๆ ด้วยวิธีการทางไฟฟ้า

equalizer
อุปกรณ์ที่เพิ่มและลดขนาดสัญญาณเสียงในความถี่ต่างๆ ด้วยวิธีการทางไฟฟ้า




fiber optics

ดู cable

frequency
ความถี่, ความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงของกระแส หรือความต่างศักย์ไฟฟ้า ของสัญญาณไฟฟ้า หรือของความดันอากาศ ในสัญญาณเสียง

frequency response
ช่วงขอบเขตของความถี่ ที่อุปกรณ์ หรือระบบเครื่องเสียงให้กำเนิด

front end
แหล่งกำเนิดสัญญาณในระบบ เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่น cd และเครื่องรับวิทยุ

front stage
การจัดระบบเสียง ให้มีเวทีเสียงอยู่ด้านหน้าผู้ฟัง เหมือนกับการฟังเพลงตามปกติ ที่ต้องหันหน้าฟัง

front stage - rear fill
ระบบเสียง front stage ที่มีเสียงเสริมจากด้านหลัง เพื่อความสมบูรณ์ของ sound stage




gain
อัตราการขยายสัญญาณของ amplifier , เครื่องรับวิทยุ , วงจร preamp มีหน่วยเป็น dB




HDCD (High Definition Compatible Digital)
ระบบการบันทึกเสียงลง CD ชนิดหนึ่งคิดค้นโดย Pacific Microsonics ซึ่งใส่รหัสเพิ่มในสัญญาณเพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้น ต้องการตัวถอดรหัสเพื่อการฟังเสียงที่สมบูรณ์

hertz
จำนวนรอบต่อวินาที ใช้เป็นหน่วยการวัดสำหรับความถี่ ตัวย่อคือ Hz

HLCD (Horn-Loaded Compression Driver)
ดู horn speaker

horn speaker
ลำโพงที่เพิ่มส่วนปากแตรเพื่อเพิ่มระดับความดังเสียงและควบคุมการกระจายของเสียงได้

Hz
ดู hertz




IASCA (International Auto Sound Challenge Association)
สมาคมที่จัดตั้งขึ้นในอเมริกาเพื่อควบคุมและจัดการแข่งขันประกวดเครื่องเสียงทั่วโลก

Input sensitivity
รายละเอียดของ amplifier ที่บอกระดับสัญญาณขาเข้า เพื่อขยายให้ได้ระดับสัญญาณขาออกที่ระบุไว้




kick panel
ตำแหน่งผนังที่อยู่ด้านข้างของที่วางขาคนนั่งด้านหน้าในรถยนต์ มักใช้เป็นที่ติดตั้งลำโพง woofer แบบ on axis




LCD (liquid crystal display)
ชนิดจอแสดงผลที่ผลิตจากวัสดุที่การสะท้อนและการส่งผ่านแสงเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเกิดสนามไฟฟ้า

LED (light emitting diode)
อุปกรณ์แสดงผลที่เป็นสารกึ่งตัวนำซึ่งกำเนิดแสงได้เมื่อ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

line level
อธิบายถึงระดับสัญญาณขาเข้าของ amplifier ซึ่งไม่ต้องการการขยายใดๆก่อนเข้า amplifier




mid-bass
สัญญาณเสียงความถี่ต่ำซึ่งหูคนรับรู้ได้

mid-range
ช่วงขอบเขตความถี่ระหว่าง 400-5kHz.

MiniDisc
แผ่นบันทึกเสียงแบบ digital มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 64 มิลลิเมตร คิดค้นโดย sony

mono
ระบบเสียงที่มีช่องสัญญาณ 1 ช่อง จึงไม่มีความแตกต่างของช่องสัญญาณซ้าย-ขวา

mp3 (mpeg layer3)
เป็นรูปแบบข้อมูลแบบใหม่ซึ่งประหยัดเนื้อที่จัดเก็บ มีคุณภาพเสียงที่ดี ต้องการเครื่องอ่านข้อมูลเฉพาะแบบ




octave
1.ในทางสัญญาณเสียง คือ ระยะห่างระหว่างความถี่สองค่าซึ่งมีอัตราส่วนความถี่ 2 ต่อ 1 เช่น 20Hz, 40Hz, 80Hz
2.ในทางดนตรี คือ ความแตกต่างของความถี่เสียงบนบันไดเสียง 8 ระดับ

OFC (Oxygen Free Copper)
ทองแดงที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตเพื่อให้บริสุทธิ์และปลอดออกซิเจน ใช้งานได้ยาวนาน ไม่เกิดออกไซด์ได้ง่าย

off axis
การจัดวางตำแหน่งลำโพงให้มีทิศทางกระจายเสียงไม่มุ่งเข้าหาหูของคนฟังโดยตรง แต่ทำมุมเอียงเป็นองศา

on axis
การจัดวางตำแหน่งลำโพงให้มีทิศทางกระจายเสียงมุ่งเข้าหาหูของคนฟังโดยตรง

oversampling
กรรมวิธีในระบบ DAC โดยเพิ่มความถี่ของสัญญาณ เพื่อทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสัญญาณเสียง




parametric equalizer
equalizer ที่ปรับแต่งสัญญาณได้หลายด้านในแต่ละย่านความถี่ ค่าที่ปรับ ได้แก่ ระดับสัญญาณ ค่ากลางของความถี่ และช่วงกว้างของความถี่ (bandwidth)

passive crossover
อุปกรณ์ซึ่งไม่ต้องการกระแสไฟฟ้าในการทำงาน มีหน้าที่ตัดแบ่งความถี่ของสัญญาณเสียงที่ออกจาก amplifier ออกเป็นช่วง ก่อนนำไปขับลำโพงแต่ละขนาด

peak
จุดสูงสุดของกำลังขาออกชั่วขณะหนึ่งของอุปกรณ์หรือระบบเครื่องเสียง

phase
อธิบายถึงการเปรียบเทียบความแตกต่างของตำแหน่งระหว่างสัญญาณหรือคลื่นเสียง 2 คลื่น มีหน่วยเป็น องศา (degree)

phono stage
สัญญาณขาออกของหัวอ่านในเครื่องเล่นแผ่นเสียง มีระดับความแรงต่ำกว่าสัญญาณจากเครื่องเล่น CD หรือ เทปเพลงมาก ต้องการการขยายสัญญาณเพิ่มเติมก่อนเข้า amplifier

pink noise
เสียงที่มีระดับความดังเท่ากันในทุกความถี่

PLL (Phase-Locked Loop)
ชนิดของวงจรไฟฟ้าที่เพิ่ม channel seperation และลดความเพี้ยนตลอดช่วงความถี่เสียง

PMPO (peak music power)
กำลังขาออกในชั่วขณะหนึ่ง มักใช้โฆษณาอุปกรณ์เพื่อให้ดูมีกำลังสูงเกินความจริง

polarity
คุณสมบัติของการมีสองขั้วไฟฟ้าที่ตรงข้ามกัน ในกรณีไฟฟ้ากระแสตรง หมายถึงขั้วไฟฟ้าบวกและลบ

power amplifier
amplifier ที่ออกแบบให้ใช้ในระบบเครื่องเสียงเพื่อขับลำโพงและมี power handling capability สูง

power handling capability
ปริมาณสูงสุดของกำลังขาออกซึ่งอุปกรณ์ทำงานได้อย่างปลอดภัย ขึ้นอยู่กับความถี่ของสัญญาณและระยะเวลาใช้งาน

pre-amplifier
ส่วนของระบบเครื่องเสียงที่ปรับปรุงสัญญาณก่อนเข้า amplifier

processor (signal)
อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าที่แก้ไขปรับปรุงสัญญาณ

pro-logic
ดู dolby




RCA (aka phono jack or pin jack)
ขั้วต่อสายสัญญาณแบบ unbalance ซึ่งคิดค้นโดย The Radio Corporation of America (RCA) ในปี 1930 ได้รับความนิยมอย่างมากจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากราคาถูกและต่อสายสัญญาณได้ง่าย

RDS (Radio Data System)
ระบบการเก็บบันทึกชื่อสถานีวิทยุซึ่งสามารถเรียกกลับมาเพื่อฟังได้รวดเร็ว

reactance
อัตราส่วนของความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับ (เปลี่ยนตามความถี่) ต่อความต้านทานไฟฟ้ากระแสตรง (เกิดจากการเก็บและคายพลังงาน)

real time analyser (RTA)
เครื่องมือที่ใช้วัดระดับความถี่เสียงแยกแต่ละความถี่ และแสดงผลเป็นแผนภูมิในขณะทำการวัด

rear stage
การจัดระบบเสียงให้มีเวทีเสียงอยู่ด้านหลังผู้ฟัง โดยไม่มีการรบกวนจากด้านหน้าและระหว่างกลาง

resistance
ความต้านทานการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า

resonance
ปรากฎการณ์ที่มีระดับเสียงดังสูงสุดเกิด ณ resonant frequency ของลำโพง

resonant frequency
รายละเอียดของอุปกรณ์เครื่องเสียง ที่บอกถึงค่าความถี่ในกราฟความถี่ตอบสนองที่เกิดความต้านทานไฟฟ้ากระแสสลับสูงสุด

RMS (Root Mean Square)
กรรมวิธีทางคณิตศาสตร์ที่คำนวณกระแสไฟฟ้าหรือความต่างศักย์ของไฟฟ้ากระแสสลับ บางครั้งใช้อ้างถึงกำลังขาออกแบบต่อเนื่องของ amplifier ซึ่งไม่ถูกต้องนักทางทฤษฎี

RTA
ดู real time analyser




S/N
ดู signal-to-noise ratio

sampling rate
อัตราความเร็วในการสุ่มตัวอย่างสัญญาณ เพื่อนำไปเก็บบันทึกหรืออ่านข้อมูล ค่า sampling rate บอกถึงความถี่สูงสุด ที่ระบบรองรับได้
CD, DCC และ MiniDisc ใช้ความเร็วที่ 44.1kHz (44,100 ตัวอย่างต่อวินาที) ในขณะที่ DAT ใช้ 48kHz หรือ 44.1kHz
อุปกรณ์ DAC จำเป็นต้องทำงานได้ในความเร็วทั้งสาม

signal (audio signal)
สัญญาณเสียง

signal-to-noise ratio
อัตราส่วนของ ระดับสัญญาณเสียง ต่อระดับสัญญาณรบกวน ของอุปกรณ์เครื่องเสียง ค่า signal-to-noise ratio ยิ่งมาก สัญญาณรบกวนยิ่งน้อยเมื่อเทียบกับสัญญาณเสียง มีหน่วยเป็น dB

SNR
ดู signal-to-noise ratio

sound frequency
ความถี่ของเสียงในช่วงที่คนได้ยิน (อยู่ในช่วง 20-20,000 Hz) แยกได้เป็น
เสียงร้อง
bass (เสียงต่ำของผู้ชาย)
ความถี่หลัก 70-380 Hz
ความถี่รอง(หางเสียง) 380-10000 Hz
baritone (เสียงระหว่างต่ำกับสูงของผู้ชาย)
ความถี่หลัก 90-400 Hz
ความถี่รอง 400-10000 Hz
tenor (เสียงสูงของผู้ชาย)
ความถี่หลัก 130-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
alto (เสียงต่ำของผู้หญิง)
ความถี่หลัก 160-950 Hz
ความถี่รอง 950-10000 Hz
soprano (เสียงสูงของผู้หญิง)
ความถี่หลัก 210-1200 Hz
ความถี่รอง 1200-10000 Hz
เสียงเครื่องดนตรีชนิดดีด,สี,ตี
bass viola
ความถี่หลัก 30-210 Hz
ความถี่รอง 210-15000 Hz
cello
ความถี่หลัก 50-650 Hz
ความถี่รอง 650-15000 Hz
viola
ความถี่หลัก 130-1200 Hz
ความถี่รอง 1200-15000 Hz
violin
ความถี่หลัก 180-4000 Hz
ความถี่รอง 4000-15000 Hz
เสียงเครื่องดนตรีชนิดเป่า
bass tuba
ความถี่หลัก 40-380 Hz
ความถี่รอง 380-16000 Hz
bassoon
ความถี่หลัก 45-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
bass clarinet
ความถี่หลัก 80-500 Hz
ความถี่รอง 500-10000 Hz
french horn
ความถี่หลัก 120-800 Hz
ความถี่รอง 800-16000 Hz
trumpet
ความถี่หลัก 140-850 Hz
ความถี่รอง 850-9000 Hz
clarinet
ความถี่หลัก 160-1600 Hz
ความถี่รอง 1600-16000 Hz
oboe
ความถี่หลัก 240-1600 Hz
ความถี่รอง 1600-16000 Hz
flute
ความถี่หลัก 240-2200 Hz
ความถี่รอง 2200-16000 Hz
piccolo
ความถี่หลัก 500-7000 Hz
ความถี่รอง 7000-16000 Hz
เสียงเครื่องดนตรีชนิดเคาะ
piano
ความถี่หลัก 25-7000 Hz

sound pressure level
ระดับพลังงานของเสียงที่ได้จากการวัด โดยทั่วไปเรียกว่า ความดัง

sound stage
เวทีเสียงซึ่งแสดงถึงตำแหน่งแบบสามมิติที่เสมือนเป็นจุดกำเนิดของเสียงเพลง

source
แหล่งกำเนิดสัญญาณในระบบ เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่น cd และเครื่องรับวิทยุ

speaker sensitivity
ค่าความไวในการตอบสนองของลำโพงวัดจาก sound pressure level ของลำโพงเมื่อจ่ายกำลังขับปริมาณหนึ่งให้ ค่า speaker sensitivity ต้องระบุระยะที่ทำการวัด และปริมาณกำลังขับ ที่จ่ายให้ลำโพง ขณะทำการวัด

SPL
ตัวย่อของ sound pressure level

standing wave(s)
สภาวะทางเสียงที่เกิดโดยปรากฎการณ์ resonance ของคลื่นเสียง ที่สะท้อนระหว่างขอบเขตที่ขนานกัน สภาวะนี้เป็นได้ทั้งการเสริม และหักล้างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของคลื่นที่ชนกัน

stereo
ระบบเสียงที่มีสองช่องสัญญาณที่แตกต่างกัน (ซ้าย-ขวา)

stereo separation
อัตราส่วนของ กำลังของสัญญาณเสียงในช่องสัญญาณที่ใช้งาน ต่อกำลังของสัญญาณที่รั่วไหลออกไปยังช่องสัญญาณอื่น มีหน่วยเป็น dB

sub-bass
ความถี่เสียงที่ต่ำที่สุดที่คนได้ยิน กรณีทั่วไปคือ ต่ำกว่า 50 Hz

sub-harmonic
ค่าความถี่เสียงที่กลมกลืนเข้ากันได้ หาค่าได้โดยนำความถี่พื้นฐาน หารด้วย ค่าความเข้ากันที่ต้องการ เช่น sub-harmonic ของ 500 Hz คือ 250 Hz

subsonic
ความถี่ต่ำกว่าที่คนได้ยิน (ต่ำกว่า 20 Hz)

subwoofer
ตัวลำโพงที่ออกแบบเพื่อให้กำเนิดเสียงความถี่ต่ำโดยเฉพาะ โดยทั่วไปคือ 20-100 Hz

surround sound
ระบบเสียงรอบทิศทาง คนฟังรู้สึกเหมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์จริง




THD (total harmonic distortion)
ความผิดเพี้ยนรวมของอุปกรณ์ที่วัดด้วยวิธีเฉพาะหนึ่งๆ ซึ่งปัจจุบันใช้น้อย

THD+N (total harmonic distortion plus noise)
ความผิดเพี้ยนรวมของอุปกรณ์ที่วัดจากสัญญาณขาออก เทียบกับสัญญาณขาเข้าแบบ sine wave ซึ่งขึ้นอยู่กับความถี่ ระดับสัญญาณ และ ช่วงกว้างความถี่ ที่ใช้ขณะทำการวัด

THX
มาตรฐานที่คิดค้นโดย LucasFilm เพื่อใช้รับรองคุณภาพของระบบ dolby pro-logic

titanium
วัสดุชนิดหนึ่งที่มีความแข็งแรงสูงมาก เมื่อนำมาใช้ทำลำโพงเสียงความถี่สูง จึงให้กำเนิดเสียงได้คมชัด ฉับไว มีความผิดเพี้ยนต่ำ

tonal balance
คุณสมบัติของอุปกรณ์ที่สัญญาณขาออกมีระดับความดังของทุกความถี่เสียงสมดุลเท่ากัน เมื่อป้อนสัญญาณขาเข้าที่มีระดับความดังเท่ากันในทุกความถี่ (pink noise) เข้าไป

toroidal transformer
หม้อแปลงชนิดหนึ่งที่มีเสถียรภาพดีและความสูญเสียสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำ

total harmonic distortion
ดู THD

tweeter
ตัวลำโพงขนาดเล็กที่ออกแบบเพื่อให้กำเนิดเสียงความถี่สูง




ultrasonic
ความถี่เสียงที่สูงเกินกว่าที่คนได้ยิน




vent
ข่องหรือท่อที่เปิดให้อากาศไหลเข้า-ออกตู้ลำโพง เพื่อช่วยชดเชยเสียงความถี่ต่ำ




woofer
ตัวลำโพงที่ออกแบบเพื่อให้กำเนิดเสียงตั้งแต่ความถี่ต่ำถึงความถี่กลาง โดยทั่วไป คือ 20 ถึง 5000 Hz

wow and flutter
การวัดความเปลี่ยนแปลงของความเร็วขณะเล่นเทป ซึ่งมีผลต่อคุณภาพเสียง มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ค่า wow and flutter ยิ่งน้อย ก็ยิ่งเล่นเทปได้ความเร็วเที่ยงตรง

ขอบคุณ http://www.mnsound.com/tip.html
บันทึกการเข้า
Chath
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 110


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2007, 02:29:13 pm »

ยอดเยี่ยมทั้ง 2 ท่านเลยครับ    Lips Sealed
 
บันทึกการเข้า
Drum
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 111


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2007, 07:31:49 pm »

หรือกระแสไฟอาจไม่พอ  อาจต้องหาคาปา หรือแบตมาใส่เพิ่มครับ Sad
บันทึกการเข้า

คนไทย รักระเทศไทย
rittichai.l.
member
*

คะแนน1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 298


« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2007, 08:05:28 am »

ถ้าดับมันไม่ใช่ไม่พอแล้วละท่าน มันตัดไปเลย โหลดอาจเกิน หรือโหลดต่ำเกินตัวมันจะรับได้ ควรแยก ตัวขับน่าจะดีขึ้นได้ส่วนหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!