ทศบารมี ที่ลูกน้องและ CEO ควรมี
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทศบารมี ที่ลูกน้องและ CEO ควรมี  (อ่าน 2464 ครั้ง)
ช้าง ณ.ปากพนัง -LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน112
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2007, 06:39:15 am »

ทศบารมี ที่ลูกน้องและ CEO ควรมี 
       
   เมื่อเราสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็จะก้าวเข้าสู่หนทางของการประกอบอาชีพ บ้างก็อาจจะไปรับการอบรมเพิ่มเติม ในเรื่องบุคลิกภาพบ้าง การใช้เทคโนโลยี่ บ้างหรือ เพิ่มทักษะด้านอื่น ๆ ให้ครบตามที่องค์กรนั้น ๆ ประกาศไว้ หรือคาดว่าต้องการ จากสถาบันต่าง ๆ ที่รวบรวมเอานำกูรู ปรมาจารย์ด้านนั้น ๆ มาทำการสอน และถ้าบุคคลใดมีคุณสมบัติเหนือข้อกำหนดเงื่อนไขขององค์กร  ก็ย่อมเลือกองค์กรที่จะเข้าไปทำงานได้ แต่ถ้าคุณสมบัติยังไม่ถึงก็ต้องไล่เปิดเว็บไซต์หางานกันอุดตลุด
 อย่างไรก็ดี มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ บุคคลส่วนมากเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว   มิได้ตระหนักมาก่อนเลยว่าสำคัญเพียงใด  สำคัญจนถ้าขาดคุณสมบัติข้อนี้แล้ว ย่อมไม่สามารถนำความก้าวหน้ามาสู่ชีวิตได้ หรือถ้าวันใดวันหนึ่งบุคคลนั้นก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้านาย หรือ  CEO  ได้ (ทั้งภาครัฐและเอกชน) จะด้วยบุญเก่าที่สั่งสมมา  หรือด้วยเหตุบังเอิญประการใดก็ตาม งานการที่ทำก็ต้องล้มเหลว คุณสมบัติที่สำคัญข้อนั้นก็คือ " ทศบารมี" นั่นเอง
 
โดยมากคน เราจะนึกถึง  ศีล ธรรม และกรรม ก็ต่อเมื่ออกหัก ผิดพลาดจากหน้าที่การงาน  เป็นทุกข์ และกว่าจะเข้าวัดเพื่อศึกษาธรรมเอาก็เกือบ วัยกลางคนเสียแล้ว หลงเดินมาบนเส้นทางสาย
"สะเปะสะปะ" มารู้ตัวอีกทีก็ถูกปลดกลางอากาศ หรือถูกย้ายไปนั่งในแผนกที่ไม่มีงานเสียแล้ว ซ้ำร้าย บางคนยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าตนเองทำอะไรผิด ดังนั้นการเข้าถึงพุทธศาสนา หรือศาสนาใดก็ตามที่ต่างก็มีคุณสมบัติแห่งปัญญาและกรรมเป็นพื้นฐานอยู่ด้วยนั้น  ย่อมเป็นการถูกต้องและดีตั้งแต่เริ่มต้นในก้าวแรกของการเริ่มทำงาน
 
 " ทศบารมี"  ที่ทั้งลูกน้อง และ ซีอีโอ ควรมี  ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ( หินยาน) ได้กล่าวถึง "บารมี ๑๐ ประการ" ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ดังนี้คือ

๑.ทานบารมี (การให้ทาน ) ทรงมีอัธยาศัยไม่ตระหนี่เหนียวแน่น มีพระทัยเผื่อแผ่เฉลี่ยความสุขแก่ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์
๒. สัจจบารมี (การพูดคำสัตย์)  ทรงทำอะไรทำจริง มิได้ทรงลุอำนาจแก่ความไม่จริง
๓. เนกขัมมบารมี (การออกบวช)  ทรงรู้เท่าทันความเป็นจริงของกาม ไม่ทรงหมกมุ่น แม้ทรงเป็นรัชทายาท ควรได้รับราชสมบัติ   ยังพรากจิตออกได้ เพื่อทรงแสวงหาคุณอันยิ่งขึ้นไป           
๔. เมตตาบารมี (การมีเมตตา) มีพระหฤทัยเผื่อแผ่ หวังให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทุกทั่วหน้า มิได้เลือกที่รักมักที่ชัง
๕.วิริยบารมี (การบำเพ็ญความเพียร) ทรงมีความเพียรบากบั่นในปฏิปทา เครื่องดำเนินธุรกิจทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอาการท้อแท้อ่อนแอ
๖.สีลบารมี (การรักษาศีล) ทรงมีพระจรรยาสุภาพเรียบร้อย มีหิริโอตัปปะ ละอายและเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ไม่ทรงเบียดเบียนผู้อื่น
๗.ปัญญาบารมี (การสั่งสมปัญญา) ทรงมีพระปัญญาหลักแหลม รู้เท่าทันความเป็นจริงของเหตุและผล
๘.ขันติบารมี (การมีขันติ อดทน) ทรงมีความอดทนต่อการตรากตรำทุกสิ่งทุกอย่างแม้อารมณ์ที่มากระทบจะดีหรือชั่วมิได้หวาดหวั่น       ย่อมประคองวิริยะไม่ท้อถอย
๙.อธิษฐานบารมี (ความตั้งใจอย่างแน่วแน่) ทรงมีพระทัยตั้งมั่นในปฏิปทาของพระองค์ มิได้หวาดหวั่นต่อเหตุการณ์อะไรทั้งสิ้น
๑๐. อุเบกขาบารมี (ความวางเฉย)  ทรงมีพระหทัยเป็นกลาง ไม่ลำเอียงเพราะถือความรักความโกรธ
 บารมี ๑๐ ประการนี้อบรมพระสันดานต่างกัน ทานทำให้เผื่อแผ่ ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อยอ่อนโยนสุภาพ เนกขัมมะทำให้หาบมัวเมา  ในกามคุณ ปัญญาไม่ให้หลงงมงาย วิริยะไม่ให้ท้อแท้อ่อนแอ ขันติไม่ให้ท้อถอย สัจจะเป็นคนจริง อธิษฐานทำให้ใจหนักแน่น เมตตาทำให้พระหฤทัย
กว้างขวาง อุเบกขาทำให้ยุติธรรมเที่ยงตรง
 
 คุณสมบัตินี้เอง (หรือ"ทศพิธราชธรรม") พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งมั่นในการปกครองแผ่นดินและพสกนิกรของพระองค์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ ควรเจริญรอยตามเบื้อพระยุคลบาท ก่อนก้าวเข้าสู่อาชีพควรศึกษา มีความเข้าใจสังเกตุปฏิบัติ ในคุณธรรมข้อนี้ อย่าได้เห็นศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธโอวาทเป็นเพียงสิ่งที่ต้องพึ่งในยามมีทุกข์ ขอให้ทำความรู้จักกับศาสนา เข้าวัด เสียตั้งแต่ วัยเยาว์ หรือเนิ่น ๆ   ถึงแม้ว่าในเมืองหลวง จะอึกทึกแต่ก็ยังพอมีวัดที่เงียบสงบตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ปราศจากความวุ่นวายให้เข้าไปทำสมาธิ สงบจิตใจ ทบทวนสติ อย่างเช่น วัดปทุมวนาราม  วัดเบญจมบพิตร วัดมหาธาตุ เป็นต้น หรือถ้าท่านเห็นว่ามีวัดใด ที่กลุ่มวัยรุ่น หรือกลุ่มคนทำงาน สามารถแวะไปได้ในช่วงพัก ช่วงว่าง เสร็จจากช้อปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลงแล้วละก็ ช่วยบอกต่อไปยังเพื่อนพ้อง รวมทั้งข้าพเจ้าด้วยก็จะเป็นกุศลกรรม 
 
ข้าราชการ  ซีอีโอ และนักการเมืองในรัฐบาลนี้ ก็เช่นกันได้ทำสัญญาประชาคมไว้แล้วว่าจะปราบคอรับชั่นให้สิ้นไปจากแผ่นดิน ยังไม่สายเกินไปที่จะใช้ทศบารมีในการบริหารดูแลประเทศ เพราะเราไม่อยากเห็นเหตุการณ์ใด ๆ ซ้ำรอยอย่างวันที่ ๒๘ เมษา ๔๗ ขึ้นอีกในดินแดนของไทย 
 
หนังสืออ้างอิง
๑.พระพุทธศาสนา : ศาสนาแห่งปัญญา โดย ธรรมรักขิต   ,บริษัท รวมสาส์น (1977)จำกัด
 Buddhism : The Religion of Wisdom  by Dhammarakhit
๒.อกขาตาโร ตถาคตา ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ : ธรรมะบางตอน โดย หลวงปู่คำดี ปภาโส ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
 
 
 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: