เปิดตำนานซีพียู Pentium ของอินเทล
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 12:16:44 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดตำนานซีพียู Pentium ของอินเทล  (อ่าน 7443 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2007, 02:51:12 pm »

หลังจากอินเทลได้ทำการเปิดตัวซีพียูตระกูล Core 2 ไปได้พักใหญ่ๆ หลายคนก็คงจะคิดว่านี่เป็นการสิ้นสุดของซีพียูที่ชื่อว่า “Pentium” ซึ่งถือว่าเป็นชื่อของซีพียูที่อินเทลใช้งานมานานมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้อินเทลได้ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเล็กน้อย เพื่อเป็นการลดช่องว่างในการตลาดของตนและปิดช่องทางของซีพียูในตลาดล่างจากคู่แข่ง อินเทลจึงได้นำชื่อของ Pentium มาปัดฝุ่นที่จับอยู่บางๆ อีกครั้ง โดยนำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง Core Microarchitecture มาใช้กับ Pentium เพื่อเติมเต็มให้กับตลาดซีพียูของตน

เนื่องจากชื่อของซีพียูอย่างเพนเทียมนั้นมันถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1993 นับถึงตอนนี้ก็ปาเข้าไป 14 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ยาวนานมากๆ ดังนั้นก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับซีพียูเพียนเทียม Dual-Core ตัวล่าสุด เราจะนำทุกท่านย้อนเวลากลับไปในยุค 90 เพื่อดูว่าจุดเริ่มต้นที่ยาวนานของซีพียูเพนเทียมนั้นมันมีความเป็นมาอย่างไร แต่ว่าเราขอไม่กล่าวถึงซีพียูเพนเทียมในตระกูล Xeon และ Itanium เพราะเป็นซีพียูในระดับของเซิร์ฟเวอร์

1993 : Intel Pentium Processor - อินเทลเปิดตัวซีพียูเพนเทียมเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1993 ซีพียูเพนเทียมรุ่นแรกมีความเร็ว 60MHz หรือเท่ากับ 100MIPS ซีพียูรุ่นนี้มีทรานซิสเตอร์ในชิปจำนวน 3.21 ตัว และทำงานกับแอดเดรสบัสแบบ 32 บิต (เหมือนกับ 486) นอกจากนั้นมันยังมีบัสภายนอกแบบ 64 บิต ซึ่งทำให้มันมีความเร็วสูงกว่า 486 ประมาณ 2 เท่า อีกด้วย

1995 : Intel Pentium Pro Processor – เพนเทียมโปรเป็นซีพียูแบบ RISC ซึ่งมี 486 ฮาร์ดแวร์อิมูเลเตอร์ในตัวที่ทำงานที่ความเร็ว 200MHz ลงไป อินเทลมีการใช้เทคนิคหลายอย่างในซีพียูรุ่นนี้เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าซีพียูรุ่นก่อน
หน้านี้ ความเร็วที่สูงขึ้นเกิดจากการแบ่งการประมวลผลออกเป็นสเตจต่างๆ และทำให้แต่ละรอบสัญญาณนาฬิกาทำงานได้เร็วขึ้น โดยแต่ ละรอบสัญญาณนาฬิกาจะถอดรหัสคำสั่งได้ 3 คำสั่ง ในขณะที่เพนเทียมทำได้แค่ 2 คำสั่ง เท่านั้น นอกจากนั้นการถอดรหัสและการประมวลผลคำสั่งยังทำงานต่อไปได้โดยไม่หยุด ซึ่งหมายความว่าคำสั่งยังประมวลผลต่อแม้ว่าไปป์ไลน์อันหนึ่งหยุดไป (เมื่อคำสั่งต้องรอข้อมูลจากเมมโมรี ซึ่งถ้าเป็นเพนเทียมแล้วต้องหยุดการทำงานเอาไว้ก่อน) ในบางครั้งคำสั่งต่างๆ สามารถประมวลผลอย่างไม่เป็นระเบียบได้ โดย ไม่ต้องเรียงลำดับเหมือนที่เขียนเอาไว้ในโปรแกรม แต่ทำงานเมื่อมีข้อมูลพร้อมแล้ว แต่คำสั่งต่างๆ ใช่ว่าจะไว้ระเบียบมากนัก แค่ทำให้สิ่งต่างๆ ดำเนิน ไปอย่างราบรื่นเท่านั้น การปรับปรุงต่างๆ เหล่านี้ ให้กับเพนเทียมโปร ส่งผลทำให้มันเหมาะที่จะใช้กับพีซีระดับไฮเอนด์และเน็ตเวิร์คเซิร์ฟเวอร์ แต่ในตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปทั่วไปก็มีไม่น้อยที่นำซีพียูเพนเทียมโปรมาใช้

1997 : Intel Pentium MMX - อินเทลพัฒนาซีพียูเพนเทียมออกมาหลายรูปแบบ ซีพียูที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมีชื่อว่าเพนเทียม MMX ซึ่งเปิดตัวในปี 1997 อินเทลต้องการปรับปรุงซีพียูเพนเทียมรุ่นแรกจนได้เป็นซีพียูรุ่นนี้ออกมาโดยตั้งเป้าเจาะตลาด
มัลติมีเดียและการใช้งานระดับแผนกที่ต้องการประสิทธิภาพสูง จุดเด่นอย่างหนึ่งซึ่งใช้เป็นชื่อของซีพียูด้วยก็คือชุดคำสั่ง MMX ซึ่งถือเป็นส่วนขยายของชุดคำสั่งปกติชุดคำสั่งใหม่ 57 คำสั่งนี้ช่วยทำให้ซีพียูทำงานบางอย่างได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น โดยงานบางอย่างอาจใช้แค่คำสั่งเดียวแทนที่จะต้องใช้หลายๆ คำสั่ง เหมือนปกติผลที่ตามมาก็คือซีพียูเพนเทียม MMX ช่วย ทำให้ซอฟต์แวร์มาตรฐานทำงานได้เร็วขึ้น 10-20% ส่วนซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งสำหรับชุดคำสั่ง MMX โดยตรงก็จะมีประสิทธิภาพสูงกว่านี้อีกแอพพลิเคชันมัลติมีเดีย และเกมหลายชนิดใช้ปมเด่นของ MMX เพื่อช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น มีเฟรมเรตสูงขึ้นและอื่นๆ อีกมาก

1997 : Intel Pentium II Processor - อินเทลสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้เกิด ขึ้นกับตลาดซีพียูโดยการเปิดตัวเพนเทียมทู ในตอนนั้นเพนเทียม MMX และเพนเทียมโปรกำลังไปได้สวยในตลาด และอินเทลต้องการนำเอาปมเด่นของซีพียูทั้งสองชนิดมาไว้ในซีพียูเพียงรุ่นเดียว ดังนั้นเพนเทียมทูจึงเหมือนกับมีแม่เป็นเพนเทียม MMX และมีพ่อเป็นเพนเทียมโปร แต่ในชีวิตจริงนั้นเพนเทียมทูไม่จำเป็นต้องได้ข้อดีของพ่อแม่มาทั้งหมด

เพนเทียมทูรุ่นแรกมีชื่อรหัสว่า “Klamath” มันทำงานกับบัส 66MHz โดยมีความเร็ว 233MHz ถึง 300MHz ในปี 1998 อินเทลได้ทำการปรับปรุงโพรเซสเซอร์รุ่นนี้เล็กน้อย และเปิดตัวซีพียูเพนเทียมทูเวอร์ชัน “Deschutes” ออกมา โดยซีพียูรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีการออกแบบ 0.25 ไมครอน และ ทำงานกับบัส 100 MHz ส่วนแคช L2 ยังคงแยกออกจากโครงสร้างจริงของตัวซีพียูและยังคงมีความเร็วแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น อินเทลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จนกระทั่งถึงซีพียูรุ่น Celeron A และเพนเทียมทรี (ที่ใช้สถาปัตยกรรม Deschutes) มีความเร็วตั้งแต่ 333MHz กับ 450MHz

1999 : Intel Pentium III Processor - อินเทลเปิดตัวซีพียู เพนเทียมทรีที่ใช้สถาปัตยกรรม “Katmai” ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1999 โดยมีความเร็ว 450 MHz บนบัส 100 MHz ซีพียู Katmai มีการใช้ชุดคำสั่ง SSE ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วก็คือส่วนขยายของ MMX ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของแอพพลิเคชัน 3D โดยตรงชุดคำสั่ง SSE ใหม่มี ชื่อเรียออีกอย่างหนึ่งว่า MMX2 ประกอบด้วยคำสั่งใหม่จำนวน 70 คำสั่ง ซึ่งสามารถประมวลผลคำสั่งได้ 4 คำสั่งพร้อมๆ กัน

2000 : Intel Pentium 4 Processor – ในช่วงเวลาของเพนเทียมทรีนั้นอินเทลถูกรบกวนอย่างหนักจากคู่แข่งโดยเฉพาะในเรื่องของ
ประสิทธิภาพ ดังนั้นในปี 2000 อินเทลจึงเริ่มแนะนำ เพนเทียมโฟร์ให้เป็นที่รู้จักของตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งซีพียูเพนเทียมโฟร์นั้นถือว่าเป็นการพลิกโฉมหน้าของการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วโลกอีกครั้ง โดยซีพียูเพนเทียมโฟร์นั้นใช้สถาปัตยกรรมใหม่ที่เรียกว่า NetBurst ซึ่งประกอบ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ 4 ชนิด นั่นคือ Hyper Pipelined Technology, Rapid Execution Engine, Execution Trace Cache และบัส ระบบความเร็ว 400MHz

จริงๆ แล้วในยุคของเพนเทียมโฟรนั้น เราสามารถที่จะแบ่งออกเป็นสองยุคก็ได้นะครับคือยุคก่อน Processor Number และยุคของ Processor Number ยุคก่อนจะเป็นการบอกรุ่นของซีพียูด้วยตัวเลข Clock Speed ส่วนยุคหลังจะเป็นการบอกรุ่นของซีพียูด้วยตัวเลขของซีรี่ส์ เช่น Pentium 4 5xx, Pentium 4 6xx เป็นต้น ซึ่งการนำตัวเลขโมเดลมาใช้ก็เริ่มอย่างเป็นทางการในราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ 2004 (จะว่าไปเฉพาะตัว Pentium 4 อย่างเดียวนี่ก็เรื่องยาวเหมือนกัน)

2003 : Intel Pentium M Processor – ในปี 2003 อินเทลได้ทำการเปิดตลาดซีพียูใหม่อย่างเป็นเรื่องเป็นราวมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือตลาดของซีพียูบนคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กนั่นเอง และก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดโน้ตบุ๊กเติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้ ซีพียูเพนเทียมเอ็มนั้น ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาจากเพนเทียมทรีที่มีชื่อรหัสว่า Tualatin โดยเจ้า Tualatin นั้นได้ใช้ฐานการออกแบบมาจากเพนเทียมโปรด้วยซ้ำไป จุดเด่นของเพนเทียมเอ็มนั้นก็อยู่ที่ประสิทธิภาพสูงและการใช้พลังงานที่ต่ำ และซีพียูในตระกูลเพนเทียมเอ็มนี้เอง ที่เป็นตันแบบของการพัฒนาซีพียูรุ่นต่อๆ มาที่มีชื่อสถาปัตยกรรมว่า Core Microarchitecture ส่วนเรื่องของเพนเทียมเอ็มกับเรื่องของซีพียูบนโน้ตบุ๊กนั้นก็เป็นเรื่องยาวเหมือนกัน เอาไว้โอกาสเหมาะๆ จะมาเล่าให้ฟัง

2005 : Intel Pentium D – เพนเทียมดี เองก็ถูกแนะนำตัวครั้งแรกในงาน IDF 2005 โดยเพนเทียมดีนั้นโดยพื้นฐานถูกสร้างมาจากเพนเทียมโพร์จำนวนสองตัวมาบรรจุไว้ในซีพียู
แพคเกจเดียวกัน แต่ว่าตัวของเพนเทียมดีเองก็มีความหลากหลายในเรื่องของสถาปัตยกรรมอยู่เหมือนกัน เพนเทียมดีนั้นจะแบ่งออกเป็นสองซีรี่ใหญ่ๆ ได้แก่ 9xx และ 8xx ซีพียูเพนเทียมดีนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดตลาดซีพียูแบบ Dual-Core ของอินเทลเลยทีเดียว

2005 : Intel Pentium Extreme Edition – เพนเทียม เอ็กซ์ตรีมเอดิชันนั้น ถูกแนะนำเป็นครั้งแรกในงาน IDF 2005 เช่นกัน ซีพียูในตระกูลนี้สร้างมาจากพื้นฐานของเพนเทียมดีนั่นเอง แต่ว่าจะมีหน่วยความจำแคชที่สูงกว่ามาก ซึ่งมีการผลิตออกมาเพียงสามรุ่นเท่านั้น ได้แก่ 840 ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีขนาด 90 นาโมเมตร ส่วน 955 และ 965 จะสร้างด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 นาโนเมตร และมีหน่วยความจำ L2 ขนาด 2MB จำนวนสองชุด ซีพียูในตระกูลนี้ทำออกมาเพื่อตอบสนองกลุ่มที่ต้องการซีพียูประสิทธิภาพสูงจริงๆ เท่านั้น เพราะราคาแพงมากๆ

มาถึงตรงนี้แล้วสายการผลิตของซีพียู “Pentium” ก็น่าจะจบลงตรงนี้ เพราะหลังจากเพนเทียมดีแล้วมันก็เป็นการเข้าสู่ยุคของ Core 2 ซึ่งเป็นซีพียูที่แรงที่สุดเท่าที่อินเทลเคยมีมา แต่ว่าด้วยของเรื่องการตลาดที่สำคัญไม่แพ้เรื่องของเทคโนโลยี อินเทลจึงได้ทำการต่ออายุของ “Pentium” อีกครั้ง

จุดเริ่มต้นของ Intel Pentium Dual-Core Processor

Intel Pentium Dual-Core” นี่ถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าล่าสุดของซีพียูจากอินเทลก็ว่าได้ เพราะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2007 ที่ผ่านมานานนี้เอง ซึ่งแต่เดิมนั้นมีข่าวว่าอินเทลจะใช้ชื่อว่า “Pentium E” ซึ่งถือเป็นการรันตัวอักษรต่อจากเพนเทียมดีไปในตัว แต่ว่าด้วยกระแสของซีพียูแบบ Dual-Core และต้องการใช้ประโยชน์จากการพูดถึงซีพียูแบบ Dual-Core ซึ่งทุกวันนี้มีการพูดถึงกันบ่อยมาก มันก็เลยเป็นจังหวะที่เหมาะสมและเป็นเรื่องที่ดีกว่าที่จะเรียกซีพียูรุ่นใหม่ว่า
“Intel Pentium Dual-Core”

Pentium Dual-Core ใช้สถาปัตยกรรม Core Microarchitecture

ถึงแม้จะใช้ชื่อว่าเพนเทียมที่เป็นชื่อของซีพียูรุ่นเก่าแต่เทคโนโลยีที่อยู่ภายในเพนเทียม Dual-Core นั้นไม่ได้เก่าไปด้วย เพราะอินเทลได้นำเทคโนโลยีและคุณสมบัติหลักๆ จากซีพียูตัวแรงอย่าง Core 2 มาใส่ไว้ในเพนเทียม Dual-Core เอาไว้อย่างครบครัน ที่จะขาดไปก็คงเป็นเรื่อง Virtualization Technology ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องโต เพราะขนาดซีพียู E4300 และ E4400 ที่จัดอยู่ในตระกูล Core 2 Duo ก็ยังไม่มีคุณสมบัตินี้เหมือนกัน .

อินเทลได้แบ่งเพนเทียม Dual-Core ออกเป็นสองตลาดคือตลาดเดสก์ท็อปและตลาดโน้ตบุ๊ก โดยซีพียูทั้งสองตลาดจะมีอยู่ด้วยกันดังนี้คือ

E2160 และ E2140 จะเป็นซีพียูสำหรับตลาดเดสก์ท็อป ส่วน T2130, T2080
และ T2060 จะเป็นซีพียูสำหรับตลาดโน้ตบุ๊ก คราวนี้เวลาจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องโน้ตบุ๊ก ถ้าคุณเห็นว่าใช้ซีพียูพวกนี้อยู่ก็สบายใจได้เลยว่าซีพียูที่คุณได้นั้นเป็นของใหม่ที่ทันสมัย ถึงแม้ว่ามันจะใช้ชื่อว่า Pentium ก็ตาม แต่ก็ต้องดูให้แน่ใจนะว่าเป็น “Pentium Dual-Core”


Intel Core 2 Duo E4300 (1.8GHz/FSB 800/L2 2MB)

Intel Pentium Dual-Core E2160 (1.5GHz/FSB 800/L2 1MB)

ด้านหลังของซีพียูทั้งสองรุ่นหาความแตกต่างไม่ได้เลย

การทดสอบ

พอทราบถึงที่ไปที่มาของซีพียูเพนเทียม Dual-Core กันมาพอสมควรแล้ว คราวนี้เราลองมาดูประสิทธิภาพในการทำงานของซีพียูเพนเทียม Dual-Core กันบ้าง และซีพียูที่เราจะนำมาทดสอบกันในวันนี้จะเป็นรุ่น E2160 ซึ่งคุณสมบัติของซีพียูตัวนี้นั้นก็เทียบได้กับซีพียู Core 2 Duo E4300 เลยทีเดียว จุดแตกต่างจริงๆ ก็มีแค่หน่วยความจำแคช L2 เท่านั้น มันต้องเกิดคำถามแน่นๆ แล้วใครดีกว่ากัน ซึ่งในทางทฤษฏีแล้ว E4300 ก็ดูจะได้เปรียบกว่าด้วยการมี L2 ขนาด 2MB ส่วน E2160 มีแคช L2 เพียง 1MB เท่านั้น ส่วนราคาในท้องตลาด จากวันที่ปิดต้นฉบับนี้ในร้านเดียวกันเห็น E4300 ขายอยู่ที่ 4,390 บาท ส่วน E2160 ขายอยู่ที่ 3,590 บาท ซึ่งราคาก็ต่างกันเพียง 800 บาทเท่านั้น งานนี้ก็เลยต้องทำการพิสูจน์ประสิทธิภาพของซีพียูทั้งสองตัวนี้กันหน่อยแล้ว โดยทั้งคู่จะถูกนำไปติดตั้งบนเมนบอร์ด Intel Desktop Board รุ่น G33 และทำการทดสอบบนวินโดวส์วิสต้า อัลติเมท (32 บิต)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ

ผลการทดสอบ
ตารางผลการทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ

ตารางผลการทดสอบในส่วนของซีพียูและการใช้หน่วยความจำ

ตารางผลการทดสอบประสิทธิภาพทางด้านเกม

วิเคราะห์ผลการทดสอบ

ถ้าดูในตารางการทดสอบแล้วในภาพรวมจะเห็นได้ว่า E4300 มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่า E2160 อยู่เล็กน้อยเท่านั้นเอง ลองดูคะแนนในส่วนของ PCMark05 ก็ได้ครับ นี่ถือว่าเป็นคะแนนภาพรวมของระบบทั้งหมดซึ่งทุกอย่างเหมือนกันแตกต่างกันตรงซีพียูที่ใช
้เท่านั้น จะเห็นได้ว่าคะแนนในการทดสอบส่วนต่างๆ นั้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างน้อยไม่ว่าใครจะชนะก็ตาม จะมีคะแนนการทดสอบเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ E4300 จะมีชัยเหนือกว่า E2160 ในระดับ 10% ขึ้นไป ซึ่งคะแนนที่ได้มานั้นก็เป็นคะแนนของการทดสอบตัวซีพียูแท้ๆ มากกว่าที่จะเป็นคะแนนรวมของระบบ

แล้วจะเลือกใครดี

ในความเห็นของเรามันก็เป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะตัดสินว่าจะเลือกใช้ซีพียูตัวไหนดี ถ้าเราใช้เกณฑ์ราคาเป็นหลักแน่นอนว่าตัวเลือกก็ต้องเป็น E2160 แต่ถ้าดูประสิทธิภาพก็คงจะต้องเลือก E4300 แต่ถ้าดูในเรื่องประสิทธิภาพต่อราคางานนี้ก็ต้องยกให้ E2160 ไปครับ

เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วก็ทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่าทำไมอินเทลจึงให้ E2160 ไปอยู่ในซีพียูสายการผลิตของเพนเทียมแทนที่จะมาอยู่ในสายการผลิตของ Core 2

สำหรับการตัดสินในครั้งนี้เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงานโดยทั่วไปเท่านั้น แต่สำหรับแฟนแนวฮาร์ดคอร์ที่สนใจเรื่องการโอเวอร์คล๊อกคงจะมีคำถามต่อว่าแล้วระหว่าง
สองตัวนี้ใครโอเวอร์คล๊อกได้ดีกว่ากัน สำหรับคำตอบของคำถามนี้ก็ต้องอดใจรอไว้สักนิดครับ เรากำลังดำเนินการอยู่…


ขอขอบคุณบทความจาก www.quickpc.com
ขอขอบคุณ www.http://www.nob.co.th


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!