คดี ๑๑๒ ควรจบแบบไหน ?
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 10:39:01 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คดี ๑๑๒ ควรจบแบบไหน ?  (อ่าน 483 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 22, 2024, 10:17:55 am »

เป็นความคิดที่ดี

"โบว์-ณัฏฐา มหัทธนา" นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว 
พิธีกรรายการข่าว มีข้อเสนอที่น่าสนใจ

โพสต์ข้อความผ่านสื่อโซเชียล

"...ถาม: ทำไมคดี ๑๑๒
จึงควรใช้ช่องทางการ
ขอพระราชทานอภัยโทษ
มากกว่านิรโทษกรรม?

ตอบ: เพราะเป็นคดีที่มีการหมิ่นเกียรติ
ตัวบุคคลที่เป็นประมุขของรัฐอยู่
ปกติเวลาเราล่วงเกินใครก็ควรมีการ  'ขออภัย'
กันมากกว่าจะใช้วิธี 'ลบโทษ' เอาเลย

เป็นโอกาสให้ผู้กระทำได้แสดงความสำนึกผิด
ผู้คนที่รู้สึกเดือดร้อนจากการกระทำเหล่านั้น
เขาจะได้คลายความโกรธเคืองลงไปด้วย
ต้องยอมรับว่าหลายคนกระทำรุนแรงมาก
และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดจนถึงวันนี้

เสนอลบโทษให้เฉยๆ คงไม่มีใครสบายใจ
นอกจากคนที่เห็นดีเห็นงามกับการกระทำเหล่านั้นตลอดมา..."

หลักการนี้มิใช้ได้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์

กับชาวบ้านธรรมดา ก็ควรนำมาใช้เช่นกัน
เพราะเป็นสารตั้งต้นนำไปสู่การปรองดอง
สมานฉันท์อย่างแท้จริง

เพราะคนที่รู้สึกผิด และแสดงความขอโทษ
คือคนที่หมดสิ้นซึ่งความอาฆาตมาดร้าย
เลิกผูกพยาบาท เลิกตั้งตนเป็นศัตรู

ที่สำคัญรู้ซึ้งแล้วว่าข้อมูลข่าวสารที่ตนได้รับนั้น ผิดพลาด บิดเบือน

ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

และสำคัญที่สุด วิธีนี้จะไม่สร้างความขัดแย้งเพิ่ม

ต่างกับการนิรโทษกรรมอย่างสิ้นเชิง

เพราะการนิรโทษกรรมไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแห่งการสำนึกผิด
กลับมุ่งเพียงแก้ไขปัญหาการเมืองให้คนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

การนิรโทษกรรม ในกฎหมายอาญา คือ
การลบล้างการกระทำความผิดอาญา
ที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลัง
การกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด

ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด

ฉะนั้นการนิรโทษกรรมในแง่กฎหมายแล้ว
เท่ากับผู้นั้นไม่เคยทำความผิดมาก่อน

บริสุทธิ์ผุดผ่อง

แต่สำนึกหรือไม่เป็นอีกเรื่อง

การนิรโทษกรรมจึงมิได้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เพราะการล้างผิดโดยมิได้สำนึกผิด 
ผู้กระทำความผิดย่อมพร้อมที่จะกลับมาทำความผิดได้ตลอดเวลา

เช่นกรณีการนิรโทษกรรม ม.๑๑๒
ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่า
คนอย่าง เพนกวิน รุ้ง อานนท์ ฯลฯ
จะไม่กลับมาทำความผิดเดิมซ้ำ
เพราะเป้าหมายของคนกลุ่มนี้มีความชัดเจนมาแต่ไหนแต่ไร

เว้นเสียแต่ว่าสำนึกผิดแล้วว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นไม่ถูกต้อง

ฉะนั้นเมื่อเปรียบกับการขอพระราชทานอภัยโทษ
จึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

"อภัยโทษ" มีหลักการที่ค่อนข้างชัดเจน
เป็นราชประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล

ดังความที่ปรากฏในพระไตรปิฎกในหลายตอน อาทิ
อรรถกถาปัพพตูปัตถรชาดก
ซึ่งเป็นตอนที่พระเจ้าโกสลได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
เพื่อขอคำแนะนำว่าจะทำอย่างไร
กับอำมาตย์ของพระองค์ที่กระทำความผิด

พระพุทธเจ้าตรัสเล่าให้พระเจ้าโกสลทราบว่า
อดีตกษัตริย์ในอินเดีย คือ พระเจ้าพรหมทัตซึ่งครองราชสมบัติกรุงพาราณสี
ได้พระราชทานอภัยโทษแก่อำมาตย์ที่เป็นชู้กับหญิงของพระองค์มาแล้ว
ซึ่งทำให้พระเจ้าโกสลตัดสินพระทัยในการ
พระราชทานอภัยโทษแก่อำมาตย์ของพระองค์เช่นกัน

อังคุลิมาลสูตร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในยุคพุทธกาล
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลกษัตริย์แคว้นโกศล
ได้นำกองกำลังทหารม้าจำนวน ๕๐๐ ออกตามจับโจรองคุลิมาล
ที่เที่ยวเข่นฆ่าประชาชน แล้วเอานิ้วมือ
ผู้เคราะห์ร้ายมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวมใส่
แต่กลับพบว่าองคุลิมาลได้ออกบวชในพุทธศาสนาแล้ว

พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
หากโจรร้ายสำนึกความผิดและกลับใจมา
เป็นผู้ถือศีลแล้วจะดำเนินการอย่างไรกับโจรร้ายนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้ตรัสตอบพระพุทธเจ้าว่า
จะพระราชทานอภัยโทษแก่องคุลิมาล

อุดมคติในทางพุทธศาสนา
พระราชาคู่กับทศพิธราชธรรม
ที่พระราชาทรงประพฤติเป็นหลักธรรม
ประจำพระองค์ในการปกครองบ้านเมือง

เป็นการปกครองโดยธรรมอันจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่ประชาชน
โดยอภัยโทษ เป็นอภัยทาน จัดว่าเป็น ทาน อย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นทศพิธราชธรรมข้อแรกของพระราชา

ต่อมา ภายหลังแนวความคิดเกี่ยวกับธรรมราชา
ได้แพร่จากอินเดียเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ
ในยุคราชอาณาจักรสุโขทัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘

ยุครัตนโกสินทร์ แนวคิดธรรมราชาดูเหมือนจะมีบทบาทที่สำคัญมากกว่า
ที่เคยเป็นมาในยุคราชอาณาจักรอยุธยา
พระมหากษัตริย์มีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงราษฎรเป็นอย่างมาก

อาทิ รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่านักโทษที่ก่ออาชญากรรมต่างๆ
ปล้นทรัพย์ สูบฝิ่น หรือดื่มสุรา เป็นผู้เหยียบย่าง
บนทางที่นำไปสู่นรกในภพหน้า

พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา
จึงให้มีการเทศนาสั่งสอนหลักธรรมในพุทธศาสนา 
ซึ่งหากนักโทษสามารถปรับปรุงแก้ไขตนเองได้
ก็จะได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้วรับไว้เป็นขุนนางในราชสำนัก

การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ที่จะทรงพระกรุณาตามที่จะทรงเห็นสมควร

ประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่าง อังกฤษและไทย
มีแนวคิดพื้นฐานเดียวกันคือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่ง
ความยุติธรรม (The king is the foundation of justice)

พระมหากษัตริย์ก็ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุด
ในการอภัยโทษชนิดที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี
“พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ
ถวายฎีกา พ.ศ. ๒๔๕๗”

เรียกว่า การพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนผ่อนโทษ

รัชกาลที่ ๖ นี้เองที่ทรงประกาศเลิกปลดปล่อยนักโทษในโอกาสพิธีบรมราชาภิเษก

และยังได้ตรา พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ  พ.ศ. ๒๔๕๙ ขึ้นมา
ใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับใช้พิจารณาอภัยโทษ
ให้เป็นที่ชัดเจนแน่นอนลงไป เป็นที่รับรู้และถือปฏิบัติ
ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนในการถือปฏิบัติ

แต่ก็ถือว่าเป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์
ที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยพระองค์เองอยู่

ปัจจุบัน เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การขอรับพระราชทานอภัยโทษ
เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจได้
ต่อเมื่อมีผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมขึ้นไปเท่านั้น 

ซึ่งต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการด้วย
คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ปัจจุบันมีผู้ก่อความผิดคดี ม.๑๑๒ จำนวนมาก
หากทุกคนสำนึกในความผิดจริง
ก็สมควรที่จะใช้วิธีขอ
พระราชทานอภัยโทษ

ผลที่ได้จะลดความขัดแย้งในสังคมได้มาก

แต่หากยืนกรานจะใช้วิธี
ออกกฎหมายนิรโทษกรร ม.๑๑๒
ผลที่ได้คือจุดเริ่มต้นความขัดแย้งรอบใหม่

มนุษย์ผู้เจริญแล้วต่างรู้ดีว่าต้องเลือกวิธีไหน.

โค๊ด:
https://www.thaipost.net/columnist-people/608099/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!