https://www.pohchae.com/2023/07/10/78-fake-news/เตือน! แค่ข่าวลือ เตรียมตั้งจังหวัดกระแสสินธุ์เป็นจังหวัดที่ 78มีอำเภอปากพนัง,สิงหนคร,สทิงพระ,กระแสสินธ์ุ,ระโนด,หัวไทร,เชียรใหญ่ และชะอวด
#เตือน #ข่าวลือ #จังหวัดกระแสสินธุ์ #จังหวัดที่78 #อำเภอปากพนัง #สิงหนคร #สทิงพระ #กระแสสินธ์ุ
------------------
เตือน! แค่ข่าวลือ เตรียมตั้งจังหวัดกระแสสินธุ์เป็นจังหวัดที่ 78มีอำเภอปากพนัง,สิงหนคร,สทิงพระ,กระแสสินธ์ุ,ระโนด,หัวไทร,เชียรใหญ่ และชะอวด
ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่แหลมทองแห่งเมืองสองเล ซึ่งตลอดระยะเวลามากกว่า 60 ปีที่พื้นที่ทางภาคใต้ ไม่ได้มีการเพิ่มจังหวัดใหม่ ในขณะที่ภูมิภาคอื่นมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด ทำให้พื้นที่บางอำเภอในภาคใต้ ความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่กลับถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ประชากรในพื้นที่ต้องอพยพถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความเป็นจริงพื้นที่ดังกล่าวเคยมีความรุ่งเรืองมาก่อนในอดีต และมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรือง และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยต่อไป จึงมีแผนพัฒนาพื้นที่บางอำเภอในภาคใต้ ดังนี้.-
1. รวบรวมพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณของทะเลสาบสงขลาและทะเลอ่าวไทย จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธ์ุ อำเภอระโนด อำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ และ อำเภอชะอวด (เหตุผลที่ต้องมีอำเภอชะอวดเพราะต้องการทางรถไฟ เพื่อพัฒนาเป็นสถานีชุมทางรถไฟของจังหวัด) จาก 8 อำเภอ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันประมาณ 3,188 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในพื้นที่ ประมาณ 509,147 คน (ขนาดใกล้เคียงกับ จังหวัดพัทลุง พื้นที่ 3,425 ตร.กม. ประชากร 524,857 คน) การรวม 8 อำเภอเพื่อจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ เป็นจังหวัดที่ 15 ของภาคใต้ จังหวัดที่ 78 ของประเทศไทย เป็นจังหวัดแรกที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 10 และได้ขอพระบรมราชานุญาต ขอชื่อพระราชทานจากพระองค์ท่าน..
2. ทำการเวนคืนที่ดินเพื่อตัดถนนขนาด 12 เลนในอนาคต แต่เริ่มสร้างก่อน 4 เลน เชื่อมระหว่างอำเภอควนขนุน จากสะพานลอยฟ้า ทะเลน้อยพุ่งตรงผ่านทุ่งนาอำเภอระโนดไปทางทิศตะวันออก เพื่อไปเชื่อมยังสายเดิมเลียบทะเลอ่าวไทย ตรงบริเวณวัดปากระวะ หรือใกล้เคียง ซึ่งเป็นจุดระหว่างกลางระหว่างอำเภอระโนดกับอำเภอหัวไทร
3. ทำการเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างถนน 12 เลนในอนาคต โดยสร้างก่อน 4 เลน เชื่อมระหว่างอำเภอระโนด ถึง อำเภอเชียรใหญ่ เพื่อเชื่อมกับสายเก่า สงขลา นครศรีธรรมราช บริเวณตัวอำเภอเชียรใหญ่ โดยผ่านทุ่งนา อำเภอระโนด อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ และ ทำเส้นทางแยกเพื่อเช่ือมต่อไปยังชุมชน อำเภอชะอวด โดยตัดผ่านทุ่งนา อำเภอชะอวด เพื่อเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟ ที่จะพัฒนาเป็นสถานีชุมทางรถไฟของจังหวัด
4. จัดตั้งมหาวิทยาลัยประมงแห่งชาติ ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยประมงหลักทั้งทางน้ำจืดและน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่มีพื้นที่จำนวนมากติดทั้งทะเลน้ำจืดและทะเลน้ำเค็ม จึงต้องการพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีความชำนาญเฉพาะทาง ในด้านการประมงทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางประมง เพื่อรองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำแห่งชาติ เพื่อการส่งออกไปยังจังหวัดอื่น ๆ และต่างประเทศ
5. ขุดลอกทะเลสาบสงขลา และคลองสำคัญในพื้นที่ เพื่อสานต่อโครงการพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้มีการขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่พร้อมสร้างประตูระบายน้ำไว้ที่ อำเภอหัวไทร ปากพนัง และเพื่อใช้ทะเลสาบสงขลาเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในขณะเดียวกันผลประโยชน์ที่ได้จากการขุดลอกทะเลสาบคือ ดินและทรายน้ำจืดจำนวนมหาศาล (ดินจากท้องทะเลสาบเป็นดินปนทราย มีความหนาแน่นสูง เหมาะในการใช้เพื่อถมที่ได้เป็นอย่างดี) ซึ่งสามารถเอาดินที่ขุดขึ้นมาใช้เพื่อถมพื้นที่ก่อสร้างสนามบิน ศาลากลางจังหวัด และหน่วยงานราชการอื่น ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้เป็นอย่างมาก
6. ปรับปรุงสถานีรถไฟ อำเภอชะอวด เป็นสถานีชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ประจำจังหวัด เพื่อการขนส่งสินค้า และรองรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต
7. วางผังเมืองใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นเมืองยุคใหม่จริง ๆ เนื่องจากพื้นที่เดิมส่วนใหญ่เป็นไร่นา ง่ายที่จะแบ่งโซนอย่างชัดเจน ซึ่งมีการจัดพื้นที่ในส่วนงานราชการ งานสาธารณสุข งานชลประทาน พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การขนส่ง และส่วนที่อยู่อาศัยใหม่ สำหรับพื้นที่ดั้งเดิมให้อนุรักษ์ไว้เป็นที่ท่องเที่ยวเพื่อชมความเป็นอยู่แบบบ้านเมืองยุดเดิม ๆ ที่ส่วนใหญ่ใช้การคมนาคมทางน้ำ
8. ในอนาคตสร้างสนามบินภายในประเทศบริเวณตำบลตะเครียะ หรือใกล้เคียงบริเวณริมทะเลสาบสงขลา เพื่อความสะดวกในการบินตามมาตรฐานสนามบินทั่วโลกที่มักสร้างริมทะเล สนามบินภายในประเทศแห่งนี้ใช้เพื่อรองรับผู้โดยสารของคนในพื้นที่จังหวัดที่จัดตั้งใหม่ จังหวัดพัทลุง และพื้นที่ใกล้เคียง เพราะจุดก่อสร้างสนามบินนี้อยู่ระหว่างกลางของสนามบินหาดใหญ่และนครศรีธรรมราช
หลักการและเหตุผล : ในการแบ่งพื้นที่ของ 8 อำเภอ เพื่อจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ เป็นจังหวัดที่ 15 ของภาคใต้
1. พื้นที่ดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่น ๆ คือ พื้นที่ดังกล่าวติดทะเลทั้งสองด้าน คือติดทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ และติดทะเลน้พเค็มฝั่งอ่าวไทยที่มีชายหาดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จากหลาย ๆรัฐบาลที่ผ่านมา อาจให้ความสำคัญกับพื้นที่ดังกล่าวน้อยทั้ง ๆ ที่จากภูมิประเทศที่แตกต่าง น่าจะใช้ความแตกต่างในชัยภูมิ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจได้
2. พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรรมง่ายในการเวนคืน ง่ายต่อการวางผังเมือง ง่ายในการพัฒนา และสามารถพัฒนาให้เป็นจังหวัด อย่างด้านการวางผังเมือง และโครงสร้างสาธารณูปโภคที่ดี ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดินในทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
3. พื้นที่ดังกล่าวอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัด ห่างไกลจากความเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองพัฒนาไปอย่างมาก แต่พื้นที่ดังกล่าวพัฒนาน้อยลง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้องอพยพไปทำมาหากินที่อื่น เหลือแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ทั้งที่บางอำเภอในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อก่อนเคยเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งทำรายได้ให้กับจังหวัด แต่ปัจจุบันจนภาวะเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวกลับย่ำแย่ลง ปีแล้วปีเล่า ไม่เห็นหนทางที่จะกลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิมอีกเลย
4. พื้นที่ดังกล่าวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีทะเลสาบน้ำจืด และทะเลน้ำเค็มขนาบทั้งสองด้าน จึงเหมาะที่จะพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยว สามารถจัดกิจกรรมหรือกีฬาทางน้ำได้หลายอย่าง มีเกาะแก่งที่สวยงามในทะเลสาบ มีชายหาดทรายขาวที่สวยงามและยาวกว่า 100 กิโลเมตรที่สามารถพัฒนาได้ ปัจจุบันไม่มีคนมาท่องเที่ยว เพราะการเดินทางที่ไกลมากร่วม 200 กิโลเมตร ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงจากสนามบินจากตัวจังหวัด
5. พื้นที่ดังกล่าวราคาที่ดินยังต่ำมากเหมาะที่จะพัฒนา และใช้เงินในการเวนคืนต่ำคุ้มค่ากับการลงทุนของรัฐ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มของที่ดินให้สูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว ทำให้เกิดแรงกระตุ้นการลงทุน เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นการดึงดูดให้ประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง หรือที่อื่นย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัดใหม่นี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายของประชากร และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอีกอีกมาย.