กรณีวุฒิสภามีมติ ไม่เห็นชอบ ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
หลังจากกรรมการสรรหาที่มี
ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน
ให้การรับรองส่งมาให้ ส.ว.ลงมติ ตกเป็นประเด็นวิจารณ์หนาหู
ถึงเหตุผลที่ฟังแล้วต้องถอนหายใจเฮือกใหญ่ดังๆ
ว่ากันว่า เหตุผลที่ ศ.ดร.อารยะ ไม่ได้ไปต่อ
เป็นเพราะมีคนส่งเรื่องร้องเรียนมายัง กมธ.ตรวจสอบประวัติ
โดยอ้างว่า ศ.ดร.อารยะ มีพฤติการณ์และแนวคิดทางการเมือง
ตรงข้ามฝ่ายอนุรักษนิยม!
ซึ่งขยายความได้ว่า เคยเป็นผู้เสนอแนวคิดต่อกรรมการสรรหา
เรื่องการนำมิติทางเศรษฐศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้กับ
การสืบสวนสอบสวนของ ป.ป.ช. เพื่อให้ได้ข้อมูลความจริงที่รอบด้านขึ้น
และได้ยกตัวอย่างคัดค้านกรณีนายทหารที่ไม่ได้แจ้งบ้าน
ที่ยังสร้างไม่เสร็จในบัญชีหนี้สิน ทรัพย์สิน
รวมถึงการวิจารณ์คดีอื้อฉาวอย่างเรื่อง นาฬิกายืมเพื่อน ไว้ด้วย
สำหรับ ศ.ดร.อารยะ เป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และยังเป็น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์
จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และ เป็น กีรตยาจารย์แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จบการศึกษา ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2524)
ปริญญาโท Energy Management and Policy, University of Pennsylvania (1986) สหรัฐฯ
ปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร (พ.ศ. 2527) และ
ปริญญาเอก Regional Science, University of Pennsylvania (1990) สหรัฐฯ
งานนี้ สาธุชนทั้งคอการเมืองและแวดวงวิชาการต่าง อึ้ง เป็นทิวแถว
เพราะดูจากโปรไฟล์ของ ศ.ดร.อารยะ นั้นต้องบอกว่าแทบ ไม่มีที่ติ
แถมกว่าจะผ่านการคัดเลือกจากกรรมการสรรหาฯ
พิจารณาลงมติถึง 3 ครั้ง
แต่แล้วต้องมาจอดป้ายที่วุฒิสภา
อย่างคาดไม่ถึงกับเหตุผลที่ ไม่ใช่คนในแนวทางฝ่ายอนุรักษนิยม
...แบบนี้ก็มีด้วย!!Cr: https://mgronline.com/politics/detail/9650000073183