สรุปผลเลือกผู้ว่าฯกรุงเทพ คนที่ 17
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 05:22:52 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปผลเลือกผู้ว่าฯกรุงเทพ คนที่ 17  (อ่าน 1056 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2022, 06:58:28 am »



"ชัชชาติ" ได้ 1.3 ล้านเสียง
"ดร.เอ้"รั้งอันดับ2 ด้วยคะแนน 2.5แสนทิ้งห่าง"วิโรจน์" 785 คะแนน
ตามด้วย "สกลธี" และ"อัศวิน" ตามลำดับ
ส่วนผลเลือก ส.ก. เพื่อไทย ได้ 19 ที่นั่ง
พรรคก้าวไกล ได้ 14 ที่นั่ง
และพรรคประชาธิปปัตย์ ได้ 9 ที่นั่ง
-----------------------------------------------
วันนี้(22พ.ค.65) สรุปผลคะแนนการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อย่างไม่เป็นทางการ)
ครบ 100% จากการนับคะแนนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง 6,817 หน่วย
มีประชาชนมาใช้สิทธิ 2,673,696 คน
จากผู้มีสิทธิทั้งหมด 4,402,948คน
คิดเป็นร้อยละ 60.73 โดยมีผลเลือกตั้งดังนี้

1. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ ได้รับคะแนนไปทั้งหมด 1,386,769 คะแนน
2. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ 254,723 คะแนน
3. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการ กทม. พรรคก้าวไกล 253,938 คะแนน
4. นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ 230,534 คะแนน
5. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครอิสระ 214,805 คะแนน
6. รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครในนามอิสระ 79,009 คะแนน
7. นาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี ผู้สมัครพรรคไทยสร้างไทย 73,826 คะแนน


ส่วนของผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือ ส.ก. (อย่างไม่เป็นทางการ) เมื่อเวลา 02.10 น.

พรรคเพื่อไทย ได้ 19 ที่นั่ง
พรรคก้าวไกล ได้ 14 ที่นั่ง
พรรคประชาธิปปัตย์ ได้ 9 ที่นั่ง
กลุ่มรักษ์กรุงเทพ ได้ 2 ที่นั่ง
พรรคพลังประชารัฐ ได้ 2 ที่นั่ง
พรรคไทยสร้างไทย ได้ 2 ที่นั่ง
กลุ่มอิสระได้ 2 ที่นั่ง

------------------------------------
สำหรับประวัติโดยย่อของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชื่อเล่นชื่อทริป
เกิดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2509 (56 ปี) เป็นชาวกรุงเทพฯ
บุตรของ พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
กับนางจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (กุลละวณิชย์) มีพี่สาว คือ
 รศ.ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่วนพี่ชายฝาแฝด คือ รศ.ดร.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
ชื่อเล่นชื่อทัวร์ เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
และอุปนายกแพทยสภา คนที่ 2 วาระ พ.ศ. 2564-2566
เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุกรรมโรคปอด
ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก

นายชัชชาติ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษาจาก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกียรตินิยมอันดับ 1 ต่อมาได้รับทุนอานันทมหิดล ในระดับปริญญาโท
สาขาวิศวกรรมโครงสร้างจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
และระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา

เริ่มต้นชีวิตทำงาน เป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน
เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปี 2538
จากนั้นเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี 2548-2555 รวมทั้งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เช่น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.),
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด นอกจากนี้
ยังเป็นกรรมการบริษัท เช่น แลนด์แอนด์เฮ้าส์, โฮมโปร ฯลฯ

เข้าสู่แวดวงการเมือง เป็นที่ปรึกษากระทรวงคมนาคม
สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (สมัยที่ 2) และรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช
กระทั่งปี 2555 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็น
รมช.คมนาคม ก่อนจะเป็น รมว.คมนาคม มีส่วนผลักดัน
พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านคมนาคมขนส่ง อาทิ ก่อสร้างรถไฟทางคู่ 11 สาย
รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, หนองคาย, ปาดังเบซาร์, อู่ตะเภา
แต่ถูกตั้งครหาเรื่องความโปร่งใส
และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ

กระทั่งพ้นจากตำแหน่งในปี 2557
หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง
นายชัชชาติผันตัวมาเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชน
ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (Q House)
ก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2562
เพื่อไปทำงานเป็นทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย
แต่ภายหลังลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
และเปิดตัวเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่ลานกิจกรรม
ชุมชนโรงหมู เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2562

ชีวิตครอบครัว นายชัชชาติ สมรสกับ
นางปิยดา สิทธิพันธุ์ (สกลุเดิม: อัศวฤทธิภูมิ)
พนักงานการบินไทย มีบุตรชายหนึ่งคน คือ
นายแสนปิติ สิทธิพันธุ์ ผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด
ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียม เมื่อปี 2545

นายชัชชาติได้รับฉายาจากชาวเน็ตว่า
"รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี"
จากภาพที่เจ้าตัวสวมเสื้อยืดแขนกุด กางเกงขาสั้น
เดินเท้าเปล่าถือถุงแกงภายในวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
สมัยที่ยังเป็น รมว.คมนาคม ระหว่างลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
เพื่อดูงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เกิดกระแสไวรัลภาพตัดต่อจากชาวเน็ตอย่างสนุกสนาน
ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าตัวไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ

ต้องคอยดูว่านับจากนี้ ชัชชาติ
จะยังคงแข็งแกร่งเป็นอมตะ
ในฐานะ "ผู้ว่าฯ กทม. ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" อีกหรือไม่?




โค๊ด:
https://mgronline.com/politics/detail/9650000048641


บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2022, 07:37:23 am »



โค๊ด:
https://www.chadchart.com/policy/

สำหรับนโยบายของนายชัชชาติ มีทั้งหมด 214 ข้อ ได้แก่

1. กรุงเทพฯ ต้องสว่าง

2. กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์)

3. เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูกราคาเดียว

4. พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย (BKK Risk Map)

5. ทบทวน BRT เพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการ

6. ท่าเรือเข้าสะดวก ออกสบาย เชื่อมต่อปลอดภัย

7. พิจารณาเดินเรือ เพิ่มตัวเลือกเชื่อมต่อการเดินทาง

8. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด

9. หน่วยงาน กทม.เข้าใจ สนับสนุนความเท่าเทียม และยอมรับความหลากหลายทางเพศ

10. จัดทีม 'นักสืบฝุ่น' ศึกษาต้นตอ PM 2.5

11. ตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน

12. ดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ที่ปล่อยมลพิษ

13. สนับสนุนให้เกิด ecosystem รถพลังงานไฟฟ้า

14. สร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบาย

15. นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย

16. ป้ายรถเมล์มีข้อมูลและสว่างปลอดภัยทุกป้าย

17. จัดตั้ง Command Center บริหารจราจรร่วมกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

18. ให้การศึกษา พัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลก

19. บริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (ITMS) เพื่อบริหารจัดการจราจรทั้งโครงข่ายและกวดขันวินัยจราจร

20. พัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตกับ กทม.

21. เทศกิจผู้ช่วยจราจร

22. ลดรถ ลดติด ด้วยจอดแล้วจร

23. เสริมศักยภาพสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หาความเป็นไปได้เพิ่มสะพานใหม่

24. รถหยุด รถติด ลดหยุด ลดติด

25. ประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในโครงการของ กทม.

26. กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม.

27. ทุกถนน ซอย มีทางเดิน-ปั่นสะดวก เชื่อมขนส่งสบาย ลดการใช้รถ

28. เลียบคลองเดินได้ ปั่นปลอดภัย ทางเลียบคลองคุณภาพ

29. อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ตัวช่วยด้านเทคโนโลยีสำหรับคนกรุงเทพฯ

30. ออกแบบเรื่องราวให้เมือง ผ่าน digital experience economy

31. สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน

32. ขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด

33. ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า

34. ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณ Low Emission Zone

35. นำร่อง covered walkway หลังคาทางเดินกันเปียกกันร้อนในจุดเชื่อมต่อ

36. ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ

37. ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ

38. ส่งเสริมให้ผู้ค้าแผงลอยมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

39. สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ค้าแผงลอย ภาคประชาชน และเอกชนในพื้นที่ ช่วยดูแลพื้นที่การค้า

40. ขึ้นทะเบียนผู้ค้าแผงลอย พร้อมติดตามการดำเนินการ

41. เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย

42. หาพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานราชการที่สามารถจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือศูนย์อาหาร (hawker center)

43. ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมิน ผอ.เขต และผู้ว่าฯ กทม.

44. สร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม.และประชาชนผ่านสภาคนเมืองประจำเขต

45. พัฒนาแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย

46. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดงบประมาณ กทม. (participatory budgeting)

47. สภาเมืองคนรุ่นใหม่

48. พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด ด้วยเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิด

49. ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง

50. พยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM 2.5

51. เปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม. (Open Bangkok)

52. พัฒนาแบบจำลองเสมือนกรุงเทพฯ (Digital Twin) เพื่อใช้วางแผนและแก้ปัญหาเมือง

53. เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทั้งของ กทม.และกรุงเทพธนาคม

54. วิเคราะห์ข้อมูลเมือง ต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหา

55. เปรียบเทียบต้นทุนการจัดซื้อจัดจ้างภายใน กทม.

56. ลดเสี่ยงโกงผ่านความร่วมมือภาคีเครือข่ายประชาชน

57. รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.ผ่านแพลตฟอร์มทราฟฟีฟองดูว์

58. ย้ายระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนขึ้นสู่ระบบออนไลน์

59. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนาเมือง

60. วางแผนแนวคิดเมืองใหม่ที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ชานเมือง

61. ปรับปรุงข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองและการควบคุมอาคารให้ทันสมัย

62. ส่งเสริมแนวคิดการจัดรูปที่ดินในบริเวณที่เหมาะสม

63. เรียนฟรี ชุดฟรี ไม่มีเก็บเพิ่ม

64. โรงเรียนเป็นแหล่งโภชนาการที่มีคุณภาพให้กับเยาวชนทั้งมื้อเช้าและมื้อกลางวัน

65. After School Program เรียน เล่น หลังเลิกเรียน

66. เปิดโรงเรียนวันหยุดเป็นพื้นที่กิจกรรม พื้นที่การเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน

67. ยกระดับห้องแล็บคอมพิวเตอร์ทุกโรงเรียนให้ทันสมัยและเพียงพอ

68. พัฒนาฟรี Wi-Fi ทุกโรงเรียน รองรับการสอนผ่านสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ และการสืบค้นข้อมูล

69. ร่วมกับเอกชนในการจัดหาแท็บเล็ตให้นักเรียนใช้ โดยเฉพาะในช่วงการ study from home

70. คืนครูให้นักเรียน ลดภาระงานเอกสารด้วยเทคโนโลยี

71. เพิ่มสวัสดิการครูให้เหมาะสม

72. เพิ่มครูผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ช่วยครู สำหรับวิชาเฉพาะทาง เช่น ภาษา เทคโนโลยี

73. ปรับหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับการสอน ลดภาระการทำเอกสาร

74. Digital Talent ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยีให้กับคุณครู

75. ขอดูภาพจากกล้อง CCTV ออนไลน์ได้สะดวกรวดเร็ว

76. ยกระดับคุณภาพกล้องวงจรปิด ป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก


77. กำหนดค่ามาตรฐานความสว่างป้ายโฆษณา

78. ใช้ข้อมูลอาชญากรรมกำหนดพิกัดอันตราย เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย

79. พัฒนาบัญชีอุปกรณ์ในการเผชิญเหตุสาธารณภัยฉุกเฉินระดับย่าน

80. เพิ่มประปาหัวแดง โดยเฉพาะเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น

81. จัดหายานพาหนะเพื่อดับเพลิงในที่คับแคบ

82. พัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานสาธารณภัย

83. พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลแบบก่อสร้างและแปลนอาคารสนับสนุนการเผชิญเหตุให้มีประสิทธิภาพ

84. ดำเนินการเชิงรุกในการตรวจสอบอาคารเก่าและอาคารสาธารณะให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย

85. ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเชิงรุก

86. ผลักดันการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัย

87. ซ้อมการเผชิญเหตุให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่

88. ใช้ CCTV กวดขันวินัยจราจร

89. ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามทั้งกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย

90. ปลูกฝังจิตสำนึก ส่งเสริมการสร้างระเบียบ กวดขันวินัยจราจรอย่างเข้มงวด

91. ลดความเร็ว ลดความเสี่ยง ในย่านชุมชนและถนนสายรอง

92. พนักงาน กทม.ตรวจสอบความพร้อมใช้สาธารณูปโภคเมืองเชิงรุก

93. กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

94. รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน สิ่งแวดล้อม

95. พัฒนาโรงเรียน 3 ภาษา สอนผ่านหลักสูตรไทย ต่างประเทศและเทคโนโลยีเพื่อการทำงาน

96. สร้างเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชน โครงการพี่สอนน้องนอกเวลาเรียน

97. โรงเรียนประสิทธิภาพสูงด้วย open data

98. พัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยแนวคิด 'โรงเรียนแห่งการเรียนรู้' (Learning School)

99. พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็กใกล้ชุมชนและแหล่งงาน

100. ทางเท้าเดิมโล่ง สะอาด เป็นระเบียบ

101. ส่งเสริมหลักสูตร คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น สำหรับเด็กช่วง 0-8 ขวบ

102. จัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต

103. พัฒนาห้องสมุดและห้องการเรียนรู้เคลื่อนที่

104. สายสื่อสารลงดินไม่ซ้ำซ้อน สะท้อนต้นทุน ไม่กระทบประชาชน

105. จุดจอดจักรยานคุณภาพ ปลอดภัย ทุกจุดเชื่อมต่อขนส่ง

106. แจ้งปัญหาวินฯ ผ่านแพลตฟอร์มฟองดูว์

107. โปร่งใส ไม่ส่วย

108. สวน 15 นาที ทั่วกรุง

109. สนับสนุนการแปลงที่ของประชาชนและเอกชนให้เป็นพื้นที่สีเขียว

110. เพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวนและพื้นที่สาธารณะ

111. จัดทำงบประมาณแบบเริ่มจากศูนย์ (zero-based budgeting)

112. พิจารณาให้นำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกายในสวน กทม.ได้

113. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อประโยชน์คนกรุงเทพฯ

114. พัฒนา 1,034 ลานกีฬา กับประชาชนและเอกชนในพื้นที่

115. ดูแลห้องสมุดชุมชน บ้านหนังสือ ให้มีความทันสมัยน่าใช้งาน

116. 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ

117. ยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

118. กรุงเทพฯ มั่นใจ ปลอดภัยโควิด

119. ห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) อ่านอีบุ๊กได้จากทุกที่

120. เพิ่มฟังก์ชันให้ห้องสมุดเป็น Co-working Space

121. จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กทม. (กรอ.กทม.)

122. ฝึกอาชีพพัฒนาทักษะยุคใหม่ตอบโจทย์ตลาดงาน

123. ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในกรุงเทพฯ

124. ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต

125. จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ

126. เปลี่ยนศาลาว่าการและลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์

127. แพลตฟอร์มรวบรวมพื้นที่สร้างสรรค์กรุงเทพฯ

128. วิชาศิลปะนอกห้องเรียน ส่งเสริมความคิด ความสร้างสรรค์ ผ่านแนวร่วมศิลปินทั่วกรุง

129. ขยายโอกาส ขยายช่องทาง ให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok)

130. พื้นที่สาธารณะอเนกประสงค์ทั่วกรุง

131. งานศิลป์จากหอศิลป์กรุงเทพฯ สู่พื้นที่สาธารณะทั่วกรุง

132. ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ (Active Aging)

133. คลังปัญญาผู้สูงอายุ

134. สายด่วน 1555 รองรับการใช้งานภาษามือ

135. ขยายขีดความสามารถของโรงเรียนและศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. ให้สามารถดูแลและฝึกทักษะคนพิการได้

136. จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต

137. ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตลอดช่วงชีวิต

138. จัดระเบียบสัตว์จร แก้ปัญหาผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบ

139. เปิดบ้านอุ่นใจ ที่ปลอดภัยของคนไร้บ้าน

140. รักษาสิทธิขั้นพื้นฐานให้คนไร้บ้าน ผ่านการตรวจสอบสิทธิและสวัสดิการ

141. จัดระบบความช่วยเหลือคนไร้บ้านให้มีประสิทธิภาพ

142. ช่วยหางาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง

143. จัดทำฐานข้อมูลห้องเช่าราคาถูก (housing stock)

144. จัดชุดปฏิบัติการสำรวจตรวจตราคนไร้บ้านและขอทานในเมือง

145. สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร

146. สภาพแวดล้อมเมืองดี จุดทิ้งขยะถูกสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง

147. มุ่งเน้นแยกขยะต้นทางและขยะเปียกจากองค์กรแบบมุ่งเป้า

148. พัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม

149. รถขยะไซส์เล็ก เข้าใจเมือง เข้าถึงบ้าน

150. ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง

151. สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวคิดบ้านมั่นคง

152. ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร

153. ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ

154. หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine

155. Mobile Medical Unit รถสุขภาพเชิงรุก ตรวจถึงชุมชน

156. เร่งรัดผลักดันการก่อสร้าง และศึกษาการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ให้ครอบคลุม

157. คาร์บอนคุมได้ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero)

158. สะพานลอยปลอดภัย มั่งคงแข็งแรง

159. ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch

160. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย โดยสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย

161. ส่งขยะคืนสู่ระบบ

162. เพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บและขนขยะ

163. ห้องพักชั่วคราวนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ (housing incubator)

164. กำหนดหน้าที่ และเป้าหมายของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและระดับจังหวัด

165. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต

166. ลดจุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังน้ำท่วมทันที

167. แก้ปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต

168. ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กม.

169. กวดขันจับ/ปรับ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง

170. ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (onsite treatment)

171. มุ่งเป้าติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง

172. เพิ่มการขุดลอกคลองรองรับฝนทันฤดู

173. ถอดบทเรียนโควิด-19 ไม่ผิดพลาดซ้ำสอง

174. ส่งเสริมกลไกภาคประชาชนสุขภาพดี ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯ

175. การรักษาและส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูล

176. เพิ่มจำนวน Excellent Center และยกระดับศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง

177. เพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่รับน้ำให้กรุงเทพฯ

178. ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ และคลองสายหลัก

179. ทบทวนแผนการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

180. BBKK Trail เส้นทางวิ่งดี ออกกำลังกายดี = เดินได้ดี

181. พัฒนาโอกาสและศักยภาพในตลาด กทม.

182. ใบอนุญาตตามประเภทกิจกรรม Function-based License

183. เปิดข้อมูลการเดินทางในกรุงเทพฯ ให้เป็นสาธารณะ

184. น้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ฟรี ทั่วกรุง

185. สร้างลิฟต์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สองฝั่งถนนครบทุกสถานี

186. กำกับดูแลและเร่งคืนผิวจราจรการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด เพื่อการจราจรที่คล่องตัว

187. ปรับเงื่อนไขทุนเอราวัณ เพิ่มโอกาสสร้างครู กทม.

188. ส่งเสริมการออมและเข้าถึงแหล่งเงินทุนตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชุมชน

189. พิจารณาเพิ่มศูนย์สร้างสุขทุกวัย เพิ่มกิจกรรมให้คนกรุงเทพฯ

190. เซ็นเซอร์สูบน้ำ ไม่ต้องรอขอกุญแจ

191. ทบทวนแผนการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ ความคุ้มค่าการลงทุน และประสิทธิภาพการแก้ปัญหาน้ำท่วม

192. ทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียรวม และ เชื่อมต่อท่อรวบรวมน้ำเสียที่มีอยู่เดิม

193. แจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้าแม่นยำ

194. ห้องน้ำสาธารณะที่ดีในพื้นที่สาธารณะ

195. ตัดถนนย่อยตามผังเมือง เพิ่มความคล่องตัวของรถและโอกาสในการมีรถเมล์สายรอง

196. พัฒนาป้ายท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ขนาดเหมาะสม ข้อมูลถูกต้อง

197. นำร่องผ้าอนามัยฟรี

198. นำร่องสร้างห้องปั๊มนม-ให้นมในสถานที่ของ กทม.

199. วิชาชีพเลือกเสรีสำหรับนักเรียน

200. หลักสูตรการเรียนรวม คือการศึกษาสำหรับทุกคน

201. กทม.สร้างแนวทางรับดูแลโครงสร้างพื้นฐาน หมู่บ้านและคอนโดฯ เก่า

202. สนับสนุนศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศในกรุงเทพฯ

203. ผู้ว่าฯ เที่ยงคืน สนับสนุนการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจกลางคืน

204. แจกอาหาร ก้าวผ่านวิกฤต เปิดครัวกลางที่โรงเรียนหรือชุมชนผ่านความร่วมมือกับภาคเอกชน

205. เพิ่มเงินสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนและปรับการให้เป็นรายปี

206. ตลาด กทม.ออนไลน์

207. สร้างย่านจักรยาน เดินทางได้ทั่วด้วยการปั่น (Bicycle Corridor)

208. เด็ก กทม.เล่นน้ำได้ ว่ายน้ำเป็น

209. ลดฝุ่น ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในการปรับปรุงเครื่องยนต์เก่า

210. ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างของ กทม.

211. ปูพรมทำฐานข้อมูลชุมชน เพื่อจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานดูแลประชาชน

212. สนับสนุนรถรับส่งคนพิการ

213. ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ในหน่วยงานของ กทม.

214. บัตรคนพิการ จุดเดียวจบ ทุก รพ.สังกัด กทม.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!