https://www.pohchae.com/2022/01/02/nipah-virusเตือน! นิปาห์ไวรัส โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน ไม่มียา,ไม่มีวัคซีนป้องกัน
#นิปาห์ไวรัส #โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน #วัคซีนป้องกัน
----------------
ทั่วโลกกำลังต่อสู้กับการระบาดของ โควิด-19 กลับพบอุบัติการณ์ความน่ากลัวไม่แพ้กันหรืออาจจะมากกว่าอย่าง ไวรัสนิปาห์ ซึ่งล่าสุด พบในประเทศ อินเดีย เป็นสาเหตุให้เด็กชายวัย 12 ปี ในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดียเสียชีวิต นับเป็น โรคติดต่อร้ายแรง ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตถึง 70% นอกจากนี้ ปัจจุบันไม่มีวัคซีน และยาในการรักษา..
ข้อมูลจากฝ่ายไวรัสระบบประสาทและระบบไหลเวียนโลหิต สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เชื้อก่อโรค เชื้อนิปาห์ไวรัส (Nipah virus) จัดอยู่ใน Family paramyxoviridae , Genus Henipavirus มีลักษณะคล้าย กับเฮนดราไวรัส (Hendra virus) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ (Encephalitis nipah virus) ซึ่งเป็น โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน โดยมีสุกรเป็นแหล่งเพาะโรค และมีค้างคาวเป็นแหล่งรังโรค
..โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน ที่เกิดจากการสัมผัสมูลสัตว์ และสารคัดหลั่งของพาหะนำโรค ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ หรือสุกร ม้า แมว แพะ แกะ ที่รับเชื้อมาจากค้างคาวผลไม้อีกต่อหนึ่งสามารถติดเชื้อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น เลือด หรือน้ำลาย..
การติดต่อและการระบาด
นิปาห์ไวรัส ก่อให้เกิดโรคได้ทั้งในคนและในสัตว์ โดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ ของสัตว์ที่เป็นโรค พบการระบาดครั้งแรกในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2541-2542 ยังไม่มีรายงานการระบาดในประเทศไทย
ระยะฟักตัว
โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 สัปดาห์
อาการของโรคในผู้ป่วย
อาการในผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นอาการของโรคไข้สมองอักเสบ อาการเริ่มด้วยไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ บางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย ตามด้วยอาการซึม สับสน ชัก โคม่า และเสียชีวิต ซึ่งอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในคนประมาณร้อยละ 40
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อนิปาห์ไวรัสในคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาตามอาการ การใช้ยาต้านไวรัส Ribavirin ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อนิปาห์ไวรัส สามารถลดความรุนแรงของโรคได้
การควบคุมและป้องกันโรค
ให้ใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้หลักสุขาภิบาลทั่วไป โดยเน้นที่การล้างมือทุกครั้งด้วยสบู่ เมื่อสัมผัสกับสัตว์ เนื้อสัตว์ ชากสัตว์ และห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ดิบๆ สุกๆ ชำระล้างเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีนไอโอดีน เดทตอล ฯ
ถ้าพบสัตว์ป่วยด้วยกลุ่มอาการไข้สมองอักเสบให้ทำลายสัตว์ป่วย หรือสัตว์ร่วมฝูง แล้วทำลายซากโดยการเผาทำลายหรือฝัง ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์จากจุดเกิดโรคในรัศมี 2 กิโลเมตร ...ฯ
ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่ > https://www.pohchae.com/2022/01/02/nipah-virus/