ทำไม “สี จิ้น ผิง” และ “ยูนูส” แก้ความยากจนได้ผล
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 09:49:03 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม “สี จิ้น ผิง” และ “ยูนูส” แก้ความยากจนได้ผล  (อ่าน 1543 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2019, 10:40:26 am »

อย่างที่รู้ๆ กันว่า รัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่มักจะแก้ปัญหาความยากจน
ด้วยการแจกเงินให้กับคนจนเท่าๆ กัน แต่รัฐบาลจีนไม่เป็นเช่นนั้น



จากประชากร 1,400 ล้านคน รัฐบาลจีนจะวิเคราะห์เจาะลึกปัญหาเป็นรายครอบครัว
จากนั้นจะวางแผนช่วยเหลือให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
และจะส่งเจ้าหน้าที่ทีมีประสบการณ์ เข้าไปตรวจสอบและพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว
และเก็บข้อมูลของสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับสุขภาพ รายได้
รวมถึงปัญหาความลำบากที่คนเหล่านั้นประสบอยู่โดย
ในปี 2013-2015 เจ้าหน้าที่รัฐกว่า 2 ล้านคนเข้าโครงการนี้
พวกเขาเก็บข้อมูลเหล่าคนจนไว้กว่า 89 ล้านแฟ้ม

นี่เท่ากับว่าจะมีโครงการช่วยเหลือคนจนกว่า 89 ล้านโครงการ
ทำไมถึงต้องลงแรงมากขนาดนี้ เนื่องจากแต่ละบุคคลแต่ละครอบครัว
มีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป

บางคนมีทุนน้อย
บางคนขาดทักษะการทำงาน
บางคนต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ที่แก่ชรา
เพราะแม้แต่การสัญจรในหมู่บ้านก็ไม่สะดวก
ดังนั้นการที่จะทำให้โครงการบรรลุผลสูงสุด
รัฐบาลจึงได้จัดสรรกองทุนออกเป็นหลายๆประเภท
เพื่อแก้ปัญหาที่แตกต่างของแต่ละหมู่บ้าน

 “สี จิ้น ผิง”ประธานาธิบดีของจีนกล่าวว่า

“ต้องดำเนินการจากความเป็นจริงปรับให้เข้ากับสภาพในพื้นที่นั้นๆ
จะปลูกอะไรจะเลี้ยงอะไรต้องเช้าใจให้ถ่องแท้
จะเพิ่มรายได้ทางไหนต้องหาทางที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้ประชาชนร่ำรวยให้ได้
บางหมู่บ้านสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว
บางหมู่บ้านต้องสร้างถนนและสะพานเพื่อเพิ่มยอดขายให้ผลผลิต
ผู้ส่งอายุที่ไม่สามารถทำงานได้ก็รับเบี้ยยังชีพจากรัฐบาล
ผู้ที่ขาดทักษะทางวิชาชีพก็จะได้รับการอบรมเสริมสร้างวิชาชีพ”


นี่คือวิธีการที่จีนช่วยบรรเทาความยากจนด้วยการสร้างแผนปฏิบัติการ
ตามสถานการณ์ของและหมู่บ้านที่แตกต่างกัน
นี่คือความแม่นยำของนโยบายนี้ ภายใต้ความช่วยเหลือของนโยบายรัฐบาลนี้
รัฐบาลจีนช่วยเหลือให้ประชาชนพ้นความยากจน 10 ล้านคนต่อปี
และตั้งเป้าหมายว่าจะขจัดความยากจนให้หมดในปี 2020

ขณะที่บังคลาเทศที่เคยถูกตราหน้าว่าเป็น ”ตะกร้ารับบริจาคนานาชาติ” มานาน
แต่วันนี้กำลังถูกจับตามองว่าเป็น”เสือเศรษฐกิจแห่งเบงกอล”
ฉะนั้นจะไม่พูดถึง ”มูฮัมหมัด ยูนูส”
ผู้ก่อตั้ง ”ธนาคารคนจน” หรือ ”กามีนแบงก์” ก็ไม่ได้
เนื่องจากโครงการสินเชื่อรายย่อยหรือ”ไมโครเครดิต”
ของกามีนแบงก์เป็นการให้เครื่องมือแก่สตรีในชนบทจำนวนมาก
ในการทำธุรกรรมย่อยทางเศรษฐกิจซึ่งให้กู้วงเงินน้อย
โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน

วิธีการก็ง่าย โดยให้ความสำคัญกับครัวเรือนที่ยากจนที่สุด
คือครอบครัวที่มีที่ดินทำกินน้อยกว่า 1 ไร่
สมาชิกครอบครัวที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะถูกชักชวนให้มารวมกันเป็นกลุ่ม
จะมีการประชุมสัปดาห์ละครั้งในหมู่บ้าน
กับพนักงานของกามีนแบงก์เพื่อจ่ายคืนเงินกู้
สมาชิกต้องตรวจสอบการใช้เงินกันเองให้มั่นใจว่า
แต่ละคนสามารถชำระเงินกู้ได้ ซึ่งถูกกำหนดให้คืนใน 1 ปี
โดยชำระเป็นตัวเงินตายตัวในแต่ละสัปดาห์
สมาชิกที่ชำระเงินกู้ตรงเวลามีสิทธิ์ได้รับเงินกู้ก้อนใหญ่ขึ้น

การปล่อยกู้ของ กามีนใช้หลักทรัพย์ทางสังคมค้ำประกัน
ถือกันว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลมากในการปลดปล่อยพลังความสามารถ
ในการผลิตของคนในชนบทที่ติด “กับดักรายได้ต่ำและทักษะต่ำ”
ยูนุส”มุ่งเน้นส่งเสริมการทำวิสาหกิจ เช่น ลูกค้า นำเงินไปลงทุนเลี้ยงไก่
หรือเปิดร้านกาแฟ ร้านขายของชำ ในหมู่บ้าน เป็นต้น

ต่อมาเริ่มปล่อยกู้เป็นรายบุคคล เพราะเห็นว่า
ครัวเรือนที่ยากจนมีความต้องการเงินกู้ ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
ซื้อของใช้ในครัวเรือน ค่าเล่าเรียนลูก ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
การกู้เงินของคนยากจนก็เพื่อเอาไปใช้จัดการปัญหาชีวิตให้ดีขึ้น นั่นเอง

จะเห็นว่าทั้งสองท่าน แก้ความยากจนโดยการเจาะลึกปัญหา
เป็นรายบุคคลเป็นกลุ่มย่อยแล้วเข้าชาร์จให้ตรงจุด
ไม่ใช่แก้ด้วยประชานิยมแบบเหวี่ยงแหเหมือนบางประเทศ


ความสำเร็จทั้งในแบบของ
สีจิ้นผิงหรือของ ยูนูส ถือว่าเป็นโมเดล
ในการแก้ปัญหาความยากจนที่ได้ผลอย่างแท้จริง

Cr:
โค๊ด:
https://businesstoday.co/columnist/27/10/2019/%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%88%e0%b8%99/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!