เสาไฟโซลาร์เซลล์ชายแดนใต้พันล้าน..อุปกรณ์เริ่มเสื่อม ควรช่วยกันวิเคราะห์สาเหตุ..
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 11:24:40 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสาไฟโซลาร์เซลล์ชายแดนใต้พันล้าน..อุปกรณ์เริ่มเสื่อม ควรช่วยกันวิเคราะห์สาเหตุ..  (อ่าน 1627 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 03, 2018, 02:22:46 pm »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!  www.pohchae.com      เสาไฟโซลาร์เซลล์ชายแดนใต้พันล้าน..เริ่มอุปกรณ์เสื่อม ควรช่วยกันวิเคราะห์ดูสาเหตุ.. ประสิทธิภาพของโคมไฟส่องสว่างแบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งติดตั้งอยู่ตามถนนและทางแยกต่างๆ ในพื้นที่ ในขณะนี้ปรากฏว่าโคมไฟลักษณะนี้ส่วนใหญ่มีปัญหาติดๆ ดับๆ บางส่วนก็ดับไปเลย ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมืดสนิท โครงการนี้เป็นของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2559 มีทั้งสิ้น 6 โครงการด้วยกัน คือ.. 1.โครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งชุดโคมส่องสว่างถนนแบบโซล่าเซลล์ในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน จำนวน 2,000 ชุด งบประมาณ 126 ล้านบาท 2.โครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าพร้อมโคมส่องสว่างโซล่าเซลล์ในศาสนสถานและสถานที่ฝังศพ เผาศพ จำนวน 3,484 ชุด งบประมาณ 219,492,000 บาท 3.โครงการสนับสนุนการติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่างระบบโซล่าเซลล์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,500 ชุด งบประมาณ 94,500,000 บาท 4.โครงการติดตั้งโคมไฟถนนแอลอีดี ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3,365 ชุด งบประมาณ 212 ล้านบาท 5.โครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมหลอดประหยัดพลังงานชนิดแอลอีดี เพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4,500 ชุด งบประมาณ 270 ล้านบาท 6.โครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างแบบโซล่าเซลล์ จำนวน 1,555 ชุด งบประมาณ 89,924,500 บาท รวมงบประมาณทั้งจัดซื้อและติดตั้งทั้งสิ้น 1,011,916,500 บาท ...โดยเป็นการติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์ 14,849 ชุด ราคาโดยเฉลี่ยชุดละ 63,000 บาท วัตถุประสงค์ของโครงการณ์ เน้นไปที่การสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยติดตั้งโคมไฟส่องสว่างในจุดที่ล่อแหลม สองข้างทางมีแสงสว่างไม่เพียงพอ หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น กล้องวงจรปิดก็ไม่สามารถบันทึกภาพได้ เพราะแสงสว่างน้อย จุดที่ติดตั้งเป็นถนนสายที่มีสถิติเหตุรุนแรง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมาแล้ว ยังช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ทั้งการลาดตระเวน และเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆด้วย [embed]https://www.youtube.com/watch?time_continue=313&v=qztLDm3RLPM[/embed] จากเอกสารประเมินผลงานของ ศอ.บต. ระบุว่า หลังจากติดตั้งโคมไฟส่องสว่างแบบโซลาร์เซลล์ ปรากฏว่าหลังจากติดตั้ง 2 ปี ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ติดตั้งเสาไฟเลย ประชาชนกล้าเดินทางสัญจรไปมามากขึ้น จึงถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในปัจจุบันพบว่าเสาไฟโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่มีปัญหาไฟไม่สว่าง และมีบางส่วนที่เสาเอียง ซึ่งคงต้องทำการซ่อมแซมกันต่อไป สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากตัวแทนผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่บอกว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เพราะช่วยให้จุดเสี่ยง หรือจุดล่อแหลมต่อการก่อเหตุรุนแรงมีแสงสว่างมากขึ้น นอกจากนั้น หากไฟฟ้าดับ ไม่ว่าจะด้วยฝีมือของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง หรือระบบไฟขัดข้อง แต่โคมไฟโซลาร์เซลล์ก็ยังทำงานได้ ทว่าปัญหาใหญ่ที่พบก็คือ โคมไฟโซลาร์เซลล์ใช้งานได้จริงแค่ 3 เดือนแรก ...จากนั้นก็เริ่มเสีย และหลังจาก 3 เดือน ใช้งานได้ไม่ถึงร้อยละ 30 ประกอบกับพื้นที่ชายแดนใต้มีฝนตกชุก มีแดดน้อย โครงการนี้จึงอาจไม่เหมาะสมกับพื้นที่ จะต้องวิเคราะห์หาจุดบกพร่องกันต่อไป.. ปัญหาสำคัญที่พบ นอกจากไฟไม่สว่างแล้ว ยังมีเรื่องของการซ่อมแซม เพราะโครงการนี้เป็นของ ศอ.บต.ที่ไม่ได้มอบให้ท้องถิ่นดำเนินการ ท้องถิ่นจึงไม่มีอำนาจซ่อมแซมแทนได้ ประกอบกับไม่มีงบประมาณสนับสนุน และไม่มีองค์ความรู้ในการดำเนินการ นอกจากนั้นชาวบ้านยังไม่รู้ว่าเป็นโครงการของ ศอ.บต. ทำให้เมื่อไฟดับ ก็จะมาร้องเรียนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ้างก็กล่าวหาว่าท้องถิ่นทุจริต ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างเลยแม้แต่น้อย   ล่าสุด พบว่าในปีงบประมาณ 2560 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศอ.บต. ได้ตั้งงบประมาณสำหรับซ่อมแซมเสาไฟโซลาร์เซลล์แล้ว วงเงิน 4,248,000 บาท โดยเบื้องต้นจะมีการซ่อมแซม 531 ต้น วงเงินราคาต้นละ 8,200 บาท.   ..ก็ขอเอาใจช่วยให้โครงการณ์นี้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป..ผู้รับเหมาก็ควรคัดเลือกวัสดุคุณภาพมาใช้งาน เพราะหากมีแต่ผลดี ..ในโอกาสต่อไปทางรัฐบาลก็คงสานโครงการณ์นี้ต่อไปเรื่อยๆทั้งประเทศ ในวงเงินมหาศาลนับแสนล้านบาท ...ผู้รับเหมาก็จะมีงานต่อเนื่องไปโดยตลอด ..สมดังสุภาษิต ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ..สวัสดีครับ. ขอบคุณ http://www.now26.tv/view/103648


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!