มีโรงไฟฟ้าไว้ทำไม?
โดย กมล กมลตระกูล
กลุ่มทุนพลังงาน กลุ่มทุนอุตสาหกรรม และข้าราชการร่วมมือและแสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้น
โดยถูกทุนและบรรษัทข้ามชาติหลอกและครอบงำให้แปรภาคใต้อันอุดมสมบูรณ์
มีชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน เป็นทั้งแหล่งประมง แหล่งท่องเที่ยว เป็นครัวของโลก
ให้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออก ซึ่งประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์น้อยมากเช่น
อุตสาหกรรมเปโตรเคมี การแปรรูปแร่ธาตุโลหะหนัก ฯลฯ อุตสาหกรรมสกปรก
เหล่านี้สร้างมลภาวะ และมลพิษทั้งในทะเล บนบก และในอากาศ
ซึ่งบรรษัทเหล่านี้ไม่ต้องการให้เกิดในประเทศของตน
บรรษัทเหล่านี้ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมากมารองรับ
ภาคประชาชนหาได้มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากมายเลย
ที่อ้างว่าไฟฟ้าจะขาดแคลนหรือไม่พอใช้นั้นหมายถึงภาคอุตสาหกรรมของบรรษัทข้ามชาติไม่พอใช้ต่างหาก
เมื่อเกิดโรงไฟฟ้า สิ่งที่จะตามมา คือ นิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึก
ภาคใต้บ้านเฮา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
จะถูกแปรเป็นดินแดนแห่งมลพิษที่ทำลายสุขภาพของประชาชน
ที่รับสารพิษจากในแม่น้ำลำคลอง ทะเลและในอากาศ จะเจ็บป่วยเป็นมะเร็ง
เป็นโรคเอ๋อกันทั้งประเทศไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างไม่มีวันฟื้นกลับคืนมาได้อีก
ส่วนกลุ่มทุนพลังงานและข้าราชการที่ได้รับประโยชน์
ก็จะไปรุกที่ป่าสงวน หรืออุทยานแห่งชาติสร้างคฤหาสน์
แล้ว ปลูกหรือหาอาอาหารปลอดสารพิษกินกันในครอบครัว
การดึงดันดื้อรั้นของกลุ่มผลประโยชน์พลังงานโดยความร่วมมือของภาครัฐ
ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ฝืนความต้องการของประชาชน
ซึ่งไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะการขนส่งขนย้ายจะทำให้เศษถ่านหินลงไปปนเปื้อน
แหล่งทรัพยากรทางอาหารทั้งในทะเลและบนบก
และเมื่อเปิดดำเนินการก็จะปล่อยฝุ่นละอองพิษออกมาทำลายสุขภาพประชาชน
ทำลายอาชีพและวิถีชีวิตของชุมชนและการท่องเที่ยว
ซึ่งนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาลทุกปี
จังหวัดกระบี่ควรอนุรักษ์เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
และถาวร รวมทั้งการเป็นครัวของคนในชาติ
มีโรงไฟฟ้าไว้ทำไม?
กมล กมลตระกูล
คนภาคใต้เข้าใจดีว่า
หากเกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นในจังหวัดกระบี่
หรือ ที่ อื่นๆ
ในภาคใต้หายนะของชุมชน และประชาชนจะตามมาเมื่อเกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินสิ่งที่จะตามมา คือ
นิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกซึ่งจะทำลายอาชีพดั้งเดิม
ของประชากรส่วนใหญ่ คือการประมง และการเกษตร และการท่องเที่ยว
ซึ่งทำให้คนใต้ร่ำรวยกว่าคนภาคอื่นๆ
กลุ่มทุนพลังงาน กลุ่มทุนอุตสาหกรรม และข้าราชการร่วมมือ
และแสวงหาผลประโยชน์ระยะสั้น
โดยถูกทุนและบรรษัทข้ามชาติหลอกและครอบงำ
ให้แปรภาคใต้อันอุดมสมบูรณ์ มีชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน เป็นทั้งแหล่งประมง แหล่งท่องเที่ยว เป็นครัวของโลก
ให้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออก
ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์น้อยมากเช่น
อุตสาหกรรมเปโตรเคมี การแปรรูปแร่ธาตุโลหะหนัก ฯลฯ
อุตสาหกรรมสกปรก เหล่านี้สร้างมลภาวะ และมลพิษทั้งในทะเล บนบก และในอากาศ
ซึ่งบรรษัทเหล่านี้ไม่ต้องการให้เกิดในประเทศของตน
บรรษัทเหล่านี้ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมากมารองรับ
ภาคประชาชนหาได้มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากมายเลย
ที่อ้างว่าไฟฟ้าจะขาดแคลนหรือไม่พอใช้นั้น
หมายถึงภาคอุตสาหกรรมของบรรษัทข้ามชาติไม่พอใช้ต่างหาก
ภาคใต้บ้านเฮา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
จะถูกแปรเป็นดินแดนแห่งมลพิษที่ทำลายสุขภาพ
ของประชาชนที่รับสารพิษจากในแม่น้ำลำคลอง ทะเลและในอากาศ
จะเจ็บป่วยเป็นมะเร็ง เป็นโรคเอ๋อกันทั้งประเทศไปชั่วลูกชั่วหลาน
อย่างไม่มีวันฟื้นกลับคืนมาได้อีก
ส่วนกลุ่มทุนพลังงานและข้าราชการที่ได้รับประโยชน์ก็จะไปรุกที่ป่าสงวน
หรืออุทยานแห่งชาติสร้างคฤหาสน์ แล้ว ปลูกหรือหาอาอาหารปลอดสารพิษกินกันในครอบครัว
แนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
และทุกคนในสังคมได้ประโยชน์และไม่ถูกทอดทิ้ง คือ
ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง. Sustainable Development Economics ของในหลวง
แต่มักนำมาใช้และพูดกันในระดับ Microeconomics แล้วปล่อยให้พวกกลุ่มทุนผูกขาด
และทุนข้ามชาติทำอะไรได้ตามใจ เช่น การผูกขาด
ด้านกลไกการตลาด(Distribution Channels)
การผูกขาดด้าน Supply chains -ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์
การผูกขาดด้านพลังงาน การผูกขาดด้านการผลิตสุรา และเบียร์. ฯลฯ
ซึ่งผูกขาดทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง
กรณีการดึงดันสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่
และคิดแม้กระทั่งจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เพื่อป้อนนิคมอุตสาหกรรมเป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนา
ที่สวนทางกับพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 9
การส่งเสริมการลงทุนต้องอยู่ภายใต้กรอบของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง
ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชน และก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลและข้าราชการมักนำทฤษฎีของในหลวงมาอ้างก็ทำให้ผู้นั้นดูดีในสังคม
แต่แก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย ปัญหาการพัฒนาจึงเรื้อรัง สั่งสม หมักหมมไว้ทุกด้าน
เช่นเขาหัวโล้น การุกป่า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของน้ำหลากท่วม
มิใช่พายุฝนซึ่งมาทุกปีเป็นศตวรรษแล้ว ความยากจนของเกษตรกร ความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ
ทางออกคือต้องน้อมนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้
ในระดับมหภาค ( Macroeconomics) แบบประเทศภูฏาน
จึงจะแก้ปัญหาของประเทศได้ คือ
ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ต้องมีพฤติกรรมและนโยบายพอเพียงด้วย