ปลูกกล้วยน้ำว้า
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 09:43:17 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกกล้วยน้ำว้า  (อ่าน 1002 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 01:27:59 pm »





กล้วยน้ำว้า
 
  
สถานการณ์ทั่วไป
กล้วย น้ำว้าเป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถใช้ทุกส่วนของต้น ผลสามารถใช้รับประทานผลสุกและประกอบอาหารได้มากชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์สามารถส่งขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้ประเทศได้มากขึ้น
 
 
 
 
ลักษณะทั่วไปของพืช
กล้วย น้ำว้าเป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 2-5 เมตร ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะไม่สมควรต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำทำให้กล้วยแทงปลี(การออกดอก) ช้า ควรมีความชื้นสัมพัทธ์อย่างน้อย 60% ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-220 มม./เดือน ส่วนดินที่เหมาะสมควรเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ การระบายน้ำดี และหมุนเวียนอากาศดี มีความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.5-7 แต่ที่ดีควรอยู่ในระดับ 6 ซึ่งจะพบทั่วๆไป ในพื้นที่แถบเอเชีย แต่ถ้าพื้นที่นั้นมีอากาศร้อนยาวนาน แต่มีการชลประทานที่ดี คือ มีน้ำสม่ำเสมอจะสามารถปลูกกล้วยได้ดี และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ กล้วยน้ำว้าจะใช้ระยะเวลาการปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลใช้ระยะเวลาประมาณ1 ปี จำนวน 10 หวี/เครือ ตั้งแต่ปลูกจนถึงแทงปลีใช้ระยะเวลา 250-260 วัน แทงปลีถึงระยะเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
 
 
 
 
การปลูก
วิธีการปลูก

1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 ซม.
3. ผสมดินปุ๋ยคอกเล็กน้อย วางหน่อกล้วยลงในหลุม
4. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
5. กดดินบริเวณโคนหน่อกล้วยให้แน่น
6. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก
7. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง
8. รดน้ำให้ชุ่ม

ระยะปลูก
2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร

จำนวนต้น / ไร่
จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น / ไร่ , 250 ต้น/ไร่
 
 
 
 
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
- ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15- 15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน

การให้น้ำ
- ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่าน จะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จะทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต

การปฏิบัติอื่นๆ
- การตัดแต่งหน่อ หลังจากปลูกประมาณ 3 - 4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบๆ โคน ให้ตัดไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี จากนั้นก็ให้ไว้สัก 1 - 2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และ ที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม
- การตัดแต่งใบ ควรทำการตัดแต่งช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7 - 12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล
- ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่นโตฟอส
- หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส
- แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือ ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือ ไดเมทโทเอท
 
 
 
 
การจัดการก่อนเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว
การ เก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกลๆ อาจตัดกล้วยเมื่อ ความแก่ประมาณ 75 % การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลี ในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร ก็ให้นำไปยังโรงเรือนคัดบรรจุต่อไป
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
- นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง
- ทำความสะอาดลูกผล หรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมด
- ชำแหละเครือกล้วยออกเป็นหวีๆ อย่างระมัดระวัง อย่าให้รอยตัดช้ำ
- คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก
- จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเบนดาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง
- บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่ง โดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ


http://www.108kaset.com/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!