เชื้อเห็ดฟางเป็นหัวใจสำคัญของการเพาะเห็ด เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อเห็ดให้มากที่สุด ดังคำกล่าวว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเชื้อเห็ดฟางว่ามีกี่ชนิด มีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร
มาเข้าเรื่องกันเลย
ส่วนประกอบของเชื้อเห็ดฟาง จะมี ขี้ฝ้าย(เศษที่เหลือจากการปั่นฝ้าย) เปลือกถั่วเหลือง ขี้ม้าสด เปลือกเมล็ดบัว รำ ปูนขาว ยิปซั่ม และส่วนประกอปอื่นๆ
การเลือกเชื้อที่ดีจะต้องรู้คุณสมบัติของเชื้อเห็ดเสียก่อน
เชื้อเห็ดฟางแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
-หัวเชื้อ (เป็นเชื้อที่ดีที่สุด มีการปนเปื้อนตํ่า เหมอะที่จะนำไปใช้)
-เชื้อต่อ (เริ่มมีการปนเปื้อน เวลานำไปใช้ต้องระวัง )
หัวเชื้อเป็นอย่างไรและเชื้อต่อคืออะไร
ก่อนอื่นต้องอธิบายขั้นตอนการทำเชื้อเห็ดฟาง ซึ่งจะเป็นที่มาของคำตอบทั้งหมด
-การทำเชื้อเห็ดฟาง
1 ทำอาหารวุ้นที่จะใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดฟาง (ใส่ขวดแบน)
2 ตัดเนื้อเยื่อบริเวณก้านดอกมาเลี้ยงบนอาหารวุ้น
3 รอให้เนื้อเยื่อเดินบนอาหารวุ้นจนเต็มขวด(ใช้เวลาประมาณ 7วัน )
4 เมื่อเดินเต็มแล้วจะตันอาหารวุ้นให้ได้ขนาด 1x1 เซ็นติเมตร 1 ขวดจะได้ประมาณ20-25 ชิ้น นำไปใส่ในขวดอาหารวุ้นขวดใหม่
รอจนเต็ม ทำแบบเดิมอีกประมาณ 4-5 ครั้ง
5 เมื่อได้ปริมาณมากพอแล้ว ก็จะตัดวุ้นขนาด1x1เซ็นติเมตรใส่ลงในถุงเชื้อเห็ด(ถุงกลมมีจุกคอขวด)รออีก12-15วันเชื้อก็จะเดินเต็มถุง
เกษตรกรถึงสามารถนำไปใช้ได้
เชื้อช่วงนี้เรียกว่า หัวเชื้อ- วิธีดูว่าเป็นหัวเชื้อหรือเปล่า ให้ดึงจุกสำลีออกจะเห็นแผ่นวุ้นวางอยู่ถึงจะเป็นหัวเชื้อของแท้( บางครั้งแผ่นวุ้นจะติดไปกับสำลีให้ดูที่จุกด้วย)
6 เมื่อหัวเชื้อที่เป็นวุ้นเดินบนขี้ฝ้ายที่ใช้ทำเชื้อจนเต็มแล้ว นำเอาฝ้ายไปต่อในถุงเชื้อถุงใหม่
เรียกเชื้อนี้ว่า เชื้อต่อ (เชื้อเห็ด 1ถุงจะต่อได้ประมาณ 60 ถุง เวลาเชื้อขายดีผลิตไม่ทันจะใช้วิธีนี้ เชื้อต่อจะไม่เห็นแผ่นวุ้น)
-ท่านคงรู้และเข้าใจความแตกต่างของเชื้อทั้ง 2 แล้วจงข้อมูลเหล่านี้ไปช่วยในการตัดสินใจ เพื่อท่านจะได้เป็นอีกคนหนึ่งที่ประสพความสำเร็จในอาชีพเพาะเห็ดฟาง ขอให้โชคดีครับ